Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48735
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิบูลศรี วาสนสมสิทธิ์-
dc.contributor.authorวันชัย เมฆหิรัญศิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T07:05:35Z-
dc.date.available2016-06-10T07:05:35Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745676071-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48735-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบความต้องการการเสริมสมรรถภาพทางการสอนระหว่างครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน ในด้านต่อไปนี้ 1. การวางแผนการสอน 2. การดำเนินการสอน 3. การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 4. ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนเสริมสมรรถภาพทางการสอนสังคมศึกษา ได้แก่ บุคลิกภาพ มนุษยสัมพันธ์ และการแนะแนวการเรียนการสอน 5. วิธีการจัดเสริมสมรรถภาพที่ครูสังคมศึกษาต้องการ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรในการวิจัย คือ ครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา 124 คน จากโรงเรียนรัฐบาล 26 โรงเรียน และครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา 96 คน จากโรงเรียนเอกชน 20 โรงเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามเพื่อสอบถามความต้องการการเสริมสมรรถภาพทางการสอนของครูสังคมศึกษา ประกอบด้วยแบบเลือกตอบ แบบประเมินค่า และแบบปลายเปิด และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความต้องการการเสริมสมรรถภาพทางกาสอนระหว่างครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนโดยวิธีการหาค่าความแตกต่างระหว่างมัชฌิมเลขคณิต โดยใช้ค่าที (t-test) ผลการวิจัย การเปรียบเทียบความต้องการการเสริมสมรรถภาพทางการสอนของครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ปรากฏผลดังนี้ 1. ความต้องการการเสริมสมรรถภาพทางการสอนด้านการวางแผนการสอนของครูสังคมศึกษาทั้งสองกลุ่ม ทั้งโดยส่วนรวม และโดยรายละเอียดแต่ละข้อ ไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2. ความต้องการการเสริมสมรรถภาพทางการสอนด้านการดำเนินการสอนของครูสังคมศึกษาทั้งสองกลุ่มโดยส่วนรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่เมื่อเปรียบเทียบความต้องการของครูทั้งสองกลุ่มในรายละเอียดแต่ละข้อ พบว่าความต้องการของครูสังคมศึกษาทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในข้อต่อไปนี้ คือ ทักษะในการเสริมสร้างลักษณะนิสัยนักเรียนให้ใฝ่รู้และรักการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ทักษะในการประยุกต์วิธีสอนแบบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาและวุฒิภาวะของผู้เรียน และวิธีสอนเสริม เพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง 3. ความต้องการการเสริมสมรรถภาพทางการสอนด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรของครูสังคมศึกษาทั้งสองกลุ่ม ทั้งโดยส่วนรวม และใบรายละเอียดแต่ละข้อ ไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 4. ความต้องการการเสริมสมรรถภาพทางการสอนด้านปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนเสริมสมรรถภาพทางการสอนสังคมศึกษา ได้แก่ บุคลิกภาพ มนุษยสัมพันธ์ และการแนะแนวการเรียนการสอน ของครูสังคมศึกษาทั้งสองกลุ่ม โดยส่วนรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่เมื่อเปรียบเทียบความต้องการในรายละเอียดแต่ละข้อพบว่า ครูสังคมศึกษา ทั้งสองกลุ่มมีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในเรื่องต่อไปนี้ คือ วิธีการสังเกตและกลวิธีศึกษาความแตกต่างเป็นรายบุคคลทางด้านบุคลิกภาพ สติปัญญาความถนัด ความสนใจ และเจตคติของนักเรียน และวิธีการวินิจฉัยปัญหาและให้คำปรึกษาแก่นักเรียนในด้านการเรียนตลอดจนการวางแผนการศึกษาต่อให้สอดคล้องกับความถนัดทางอาชีพ 5. ความต้องการการเสริมสมรรถภาพทางการสอนด้านวิธีการจัดเสริมสมรรถภาพในรายละเอียดแต่ละข้อของครูสังคมศึกษาทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกันทุกข้อที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05en_US
dc.description.abstractalternativePurpose The purpose of this research was to compare the needs for teaching competency improvement between the social studies teachers in government and private secondary schools concerning the following aspects:- 1. instructional planning 2. instructional skills 3. Co-curricular activities management 4. other factors effecting teaching competency such as personality, human relationship, and instructional guidance 5. the methods of improving teaching competency Procedures The samples of this research were 124 social studies teachers from 26 government secondary schools and 96 social studies teachers from 20 private secondary schools selected by simple random sampling technigue. The researcher constructed a set of questionnaire on the social studies teachers needs for teaching competency improvement consisted of check-list, rating scale and open-ended items. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithematic mean, standard deviation, and t-test. Results In comparing the needs for teaching competency improvement between the secondary social studies teachers in government schools and those in private schools, it appeared as follows: 1. The needs for teaching competency improvement concerning instructional planning of both groups of social studies teachers in a whole aspect and in detail by separate items of this aspect were not statistically different at the 0.05 level of significance. 2. The needs for teaching competency improvement concerning instructional skills of both groups of social studies teachers in a whole aspect were not different at the 0.05 level of significance. But in comparing their needs in detail by separate items of this aspect, it was found out that the needs of both groups of social studies teachers were significantly different at the 0.05 level concerning the following items: skill in development of students' study habits, skill in applying various methods of teaching appropriate to the subject content and the students' maturity, and the exeleration teaching technique for high achievement students. 3. The needs for teaching competency improvement concerning co-curricular activities management of both groups of social studies teachers in a whole aspect and in each separate item of this aspect were not statistically different at the 0.05 level of significance. 4. The needs for teaching competency improvement concerning other factors effecting social studies instruction such as personality , human relationship, and instructional guidance of both groups of social studies teachers in a whole aspect were not statistically different at the 0.05 level of significance. But in comparing their needs in detail by separate items of this aspect it was found out that the needs of both groups of social studies teachers were significantly different at the 0.05 level concerning the following items: techniques of observation and study the students differences in personality, intelligence, aptitudes, interest and attitudes, and techniques of analyzing the students' problems and of students counseling concerning education and education planning in accordance with their vocational aptitudes. 5. The needs for teaching competency improvement concerning the methods of improving teaching competency of both groups of social studies teachers in detail by separate items of this aspect were not statistically different at the 0.05 level of significance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectครูสังคมศึกษาen_US
dc.subjectสมรรถนะen_US
dc.subjectสังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectการสอนen_US
dc.titleการเปรียบเทียบความต้องการการเสริมสมรรถภาพทางการสอน ระหว่างครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนen_US
dc.title.alternativeA comparison of needs for teaching competency improvement between the social studies teachers in government and private secondary schoolsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor"ไม่มีข้อมูล"-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchai_me_front.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_me_ch1.pdf926.88 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_me_ch2.pdf4.7 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_me_ch3.pdf770.97 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_me_ch4.pdf12.59 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_me_ch5.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_me_back.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.