Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48794
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำฝน-น้ำท่า ในลุ่มน้ำป่าสักโดยวิธีแบบจำลองถัง
Other Titles: Investigation of rainfall-runoff relationship in Pasak River basin by tank model
Authors: วีระชัย ชูพิศาลยโรจน์
Advisors: สุรวุฒิ ประดิษฐานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: "ไม่มีข้อมูล"
Subjects: น้ำฝน -- ไทย (ภาคกลาง)
น้ำฝน -- การวัด
แบบจำลองถัง
กลุ่มน้ำป่าสัก
ลุ่มน้ำ -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
น้ำท่า -- ไทย
แม่น้ำป่าสัก
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แบบจำลองถัง (Tank Model) เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการทำแบบจำลองของลุ่มน้ำ เพื่อใช้ในการประเมินปริมาณการไหลของน้ำท่าจำข้อมูลน้ำฝน เนื่องจากแบบจำลองถังนี้จะต้องมีค่าคงที่หลายตัว และเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดค่าคงที่ดังกล่าว จึงทำการศึกษาแบบจำลองถังของสถานีวัดน้ำท่าจำนวน 7 สถานีภายในลุ่มน้ำป่าสัก โดยมีจุดประสงค์ 3 ประการคือ ก) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำฝนและน้ำท่าโดยวิธีแบบจำลองถัง โดยมีขอบข่ายสำหรับสถานีวัดน้ำท่าที่มีพื้นที่รับน้ำไม่เกิน 1,000 ตารางกิโลเมตร ข) เพื่อหาวิธีกำหนดชุดของค่าคงที่ที่เหมาะสมจำลองถัง ขอบข่ายสำหรับใช้ในบริเวณที่ไม่มีสถานีวัดน้ำท่า พื้นที่รับน้ำไม่เกิน 1,000 ตารางกิโลเมตร ค) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ในการขยายการใช้ค่าคงที่จากกลุ่มน้ำย่อยไปใช้ลุ่มน้ำรวม จากการศึกษาแบบจำลองถังของพื้นที่รับน้ำขนาดเล็กไม่เกิน 1,000 ตารางกิโลเมตรจำนวน 6 สถานี และลุ่มน้ำขนาดใหญ่ของลุ่มน้ำป่าสักรวมอีก 1 สถานี สามารถสรุปผลที่ได้ดังนี้ ก) ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำฝนกับน้ำท่า จากการศึกษาแบบจำลองถังของสถานีวัดน้ำท่าที่มีพื้นที่รับน้ำไม่เกิน 1,000 ตารางกิโลเมตรจำนวน 6 สถานี ผลปรากฏว่าแบบจำลองถังสามารถนำมาใช้ประมาณปริมาณน้ำท่าจากสถิติน้ำฝนได้ผลดี ค่าปริมาณน้ำท่าที่คำนวณได้ใกล้เคียงกันกับปริมาณน้ำท่าจากข้อมูลการจัด และมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ความเชื่อมั่น 99.9% ค่าคงที่ของแบบจำลองถังสำหรับสถานีต่างๆ ได้แสดงไว้ในตารางที่ 5-1 ข) วิธีกำหนดค่าคงที่ที่เหมาะสมของแบบจำลองถังสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีสถานีวัดน้ำ และมีพื้นที่รับน้ำไม่เกิน 1,000 ตารางกิโลเมตรนั้น ได้ทำการศึกษาค่าคงที่ชนิดต่างๆ จำนวน 14 ชนิดจากสถานีวัดน้ำท่าที่มีพื้นที่รับน้ำขนาดเล็กไม่เกิน 1,000 ตารางกิโรงเมตรจำนวน 6 สถานี โดยจะนำมาเปรียบเทียบกับลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่รับน้ำของสถานีวัดน้ำนั้นๆ จำนวน 5 ชนิด คือ ขนาดของพื้นที่รับน้ำ, ความยาวลำน้ำ, ความลาดของลำน้ำ, ชนิดของดิน, และรูปร่างของพื้นที่รับน้ำ แล้วหาความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้ง 2 ชนิด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดค่าคงที่ของแบบจำลองถังจากสภาพภูมิประเทศต่อไป ผลจากการศึกษาปรากฏว่าค่าคงที่จำนวน 7 ชนิดจากทั้งสิ้น 14 ชนิดจะมีความสัมพันธ์กันกับลักษณะภูมิประเทศอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญที่ความเชื่อมัน 80% ค่าคงที่เหล่านี้จะสามารถประเมินได้จากลักษณะภูมิประเทศของลุ่มน้ำตามความสัมพันธ์ที่ได้แสดงไว้ในตารางที่ 6-2 ส่วนค่าคงที่อื่นๆ อีก 7 ชนิดยังไม่อาจจะบอกได้ว่า ความสัมพันธ์กันกับลักษณะของภูมิประเทศอย่างไรบ้าง ค) การขยายการใช้ค่าคงที่จากลุ่มน้ำย่อยไปยังลุ่มน้ำรวม เนื่องจากค่าคงที่ของแบบจำลองถังของแต่ละสถานีมีความแตกต่างกันมาก จนไม่อาจนำมาใช้ทดแทนกันได้การที่จะนำเอาค่าคงที่จากลุ่มน้ำย่อยไปใช้กับลุ่มน้ำรวมจึงไม่น่าจะเป็นไปได้ วิธีที่ดีในการหาค่าคงที่ของแบบจำลองถังสำหรับลุ่มน้ำป่าสักรวม จึงควรได้จากการทดลองทำแบบจำลองถังของตัวเอง
Other Abstract: Tank model technique has been widely employed for estimating the runoff from rainfall data. The model comprises of a number of parameters. To serve as a rough guide, concerned data obtained from 7 stream ganging stations in the Pasak River Basin were investigated. The main objectives of the study are: 1. To establish the relationship between rainfall and runoff within the watershed area of less than 1,000 sq.km. 2. To derive on appropriate approach for generating each parameter for estimating the flow of an unganged stream whose catchment area of not more than 1,000 sg.km. 3. To determine the possibility that parameters generated from the sub-basin could lead to be used with the entire basin. With the records from 6 stations having watershed area less than 1,000 sq.km.each ant the other one with larger than 1,000 sq.km. catchment area, results of the investigation can be summarized as follows. 1. For small watershed areas, the relations between rainfall and runoff established with the help of tank model technique gave satisfactory results. However variation in value of parameters from each station seemend rather large and these parameters were presented in table 5-1 2. The estimations of parameters for the tank model in case of ungauged streams ware studied in connection with 14 parameters generated from 6 stations with small catchments. Comparisons were made with five basin characteristics, namely size of watershed, length of stream, slope of stream, soil type and shape of watershed. The relations between parameters and basin characteristics can be used to estimate acceptable initial value of parameters for the model. The study indicates that only 7 parameters out of 14 ones had correlations with any basin characteristics at the 80% level of confident. These parameters can be estimated from basin characteristics, by the relationships given in table 7-3. The relations between another 7 parameters and the basin characteristics are of questionable value. 3. In applying of using sub-basin parameters to estimate entire basin parameter for the computation of the rainfall-runoff relationship it can be concluded that the parameters of each station showed considerable variation and should not be used for entire basin parameter estimations
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48794
ISBN: 9745675466
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Werachai_ch_front.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Werachai_ch_ch1.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Werachai_ch_ch2.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Werachai_ch_ch3.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Werachai_ch_ch4.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Werachai_ch_ch5.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open
Werachai_ch_ch6.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Werachai_ch_ch7.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open
Werachai_ch_ch8.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Werachai_ch_back.pdf11.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.