Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48856
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวลัย พานิช-
dc.contributor.authorศิริสุข นาคะเสนีย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T09:25:59Z-
dc.date.available2016-06-10T09:25:59Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745799564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48856-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเจคติต่อวิชาสังคมศึกษา 3 การรับรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครูกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา 3 ของนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 และสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา 3 โดยใช้คะแนนเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษา 3 และคะแนนการรับรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครูเป็นตัวพยากรณ์ ตัวอย่างประชากร เป็นนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 400 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษา 3 แบบสอบถามการรับรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครู และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.7592, 0.6844 และ 0.8969 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เจตคติต่อวิชาสังคมศึกษา 3 กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา 3 มีความสัมพันธ์กันทางบวกระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.0460 2. การรับรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครู ที่เน้นครูเป็นศูนย์กลางกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา 3 มีความสัมพันธ์กันทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -0.0970 3. เจตคติต่อวิชาสังคมศึกษา 3 กับการรับรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครูมีความสัมพันธ์กันทางบวกระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.1690 4. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในระหว่างเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษา 3 การรับรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครูและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา 3 มีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ ไม่สามารถสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา 3 ได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the relationships among attitudes towards Social Studies Three, students' perception on teacher's teaching behaviors and Social Studies Three learning achievement of the second year vocational certificate students and to construct the multiple regression equation using attitudes towards Social Studies Three scores and students' perception on teacher's teaching behaviors scores in order to predict Social Studies Three learning achievement. The samples were 400 second year vocational certificate students selected by simple random sampling from Rajamanagala Institute of Technology. The Attitudes Towards Social Studies Three Scale, Students' Perception on Teacher's Teaching Behaviors Questionnaire and Social Studies Three Learning Achievement Test were constructed by the researcher. The reliability of these instruments were 0.7592, 0.6844 and 0.8969 respectively. The obtained data were analyzed by means of Pearson's Product Moment Correlation. The findings of the research were as follows : 1. There was low significant positive correlation between attitudes towards Social Studies Three and Social Studies Three learning achievement at the 0.05 level with the correlation coefficient at 0.0460. 2. There was a significant negative correlation between students' perception on teacher's teaching behaviors emphasizing teacher-centered and Social Studies Three learning achievement at the 0.05 level with the correlation coefficient at -0.0970. 3. There was low significant positive correlation between attitudes towards Social Studies Three and students' perception on teacher's teaching behaviors at the 0.05 level with the correlation coefficient at 0.1690. 4. The intercorrelation coefficient among attitudes towards Social Studies Three, students' perception on teacher's teaching behaviors and Social Studies Three learning achievement were too low to be constructed the multiple regression equation for Social Studies Three learning achievement.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen_US
dc.subjectสังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectทัศนคติen_US
dc.subjectพฤติกรรมครูen_US
dc.subjectการสอนen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษา 3 การรับรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครู กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา 3 ของนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลen_US
dc.title.alternativeRelationships among attitudes towards social studies three, students' perception on teacher's teaching behaviors and social studies three learning achievement of the second year vocational certificate students, Rajamangala Institute of Technologyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWalai.P@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirisuk_na_front.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Sirisuk_na_ch1.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Sirisuk_na_ch2.pdf5.09 MBAdobe PDFView/Open
Sirisuk_na_ch3.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Sirisuk_na_ch4.pdf417.01 kBAdobe PDFView/Open
Sirisuk_na_ch5.pdf873.03 kBAdobe PDFView/Open
Sirisuk_na_back.pdf6.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.