Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48862
Title: ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่ออุทกวิทยาของอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์
Other Titles: Impact of climate changes on Srinakarin reservoir's hydrology
Authors: ศิลปชัย ถิรวิทยาคม
Advisors: แสงสันต์ พานิช
สมบูรณ์ ลุวีระ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีต่ออุทกวิทยาของอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ใช้แบบจำลอง GISS ในการศึกษาสภาพภูมิอากาศในอนาคต และแบบจำลอง HEC-3 สำหรับศึกษาการทำงานของอ่างเก็บน้ำ การศึกษาได้แบ่งกรณีศึกษาออกเป็น 2 กรณีศึกษาตามลักษณะการดำเนินงานของอ่างเก็บน้ำ คือกรณีที่อ่างเก็บน้ำไม่สามารถใช้น้ำในชั้น Buffer Zone สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ และกรณีที่อ่างเก็บน้ำสามารถใช้น้ำในชั้น Buffer Zone ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ และทำการศึกษาเปรียบเทียบทั้งกรณีสภาพภูมิอากาศปัจจุบันและกรณีสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตโดยใช้ระยะเวลาในแบบจำลองทั้งสิ้น 19 ปี ซึ่งผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. อุณหภูมิของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตที่ได้จากแบบจำลอง GISS มีค่าสูงกว่าอุณหภูมิของสภาพภูมิอากาศปัจจุบันอยู่ประมาณ 2℃ ถึง 6℃ 2. อัตราการระเหยของน้ำจากถาดวัดการระเหย ที่สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตมีค่ามากกว่าอัตราการะรเหยที่สภาพภูมิอากาศปัจจุบันอยู่ประมาณ 8.41% ถึง 19.87% 3. ปริมาณน้ำฝน และปริมาณน้ำท่าที่ไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ที่สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต มีค่าน้อยกว่าปริมาณน้ำฝนที่สภาพภูมิอากาศปัจจุบันอยู่ 10 เดือนใน 1 ปี 4. การผันน้ำเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ในกรณีที่สามารถใช้น้ำในชั้น Buffer Zone มาผลิตกระแสไฟฟ้าได้จะเกิดการขาดแคลนขึ้นในช่วงปีท้ายๆ ของการศึกษา 5. ค่าระดับน้ำ และความสูงของน้ำที่สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตทั้ง 2 กรณีศึกษาจะมีค่าระดับต่ำกว่าระดับที่สภาพภูมิอากาศปัจจุบัน โดยเฉพาะกรณีที่สามารถใช้น้ำในชั้น Buffer Zone มาผลิตกระแสไฟฟ้าได้มีค่าระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำอยู่ระดับที่ 1 หรือ 86.00 ม. รทก. อยู่ 32 เดือน ในช่วงปีท้ายๆ ของการศึกษา 6. การผลิตกระแสไฟฟ้าที่สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตทั้ง 2 กรณีจะขาดแคลนกระแสไฟฟ้ามากกว่าที่สภาพภูมิอากาศปัจจุบัน โดยเฉพาะกรณีที่สามารถใช้ในชั้น Buffer Zone มาผลิตกระแสไฟฟ้าน้ำ อ่างเก็บน้ำไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 52 เดือน โดยเฉพาะช่วงปีท้ายๆ ของช่วงเวลาศึกษา 7. ผลกระทบทางด้านสังคม และเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นผลกระทบที่เกิดแก่การท่องเที่ยวเป็นหลัก เพราะชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ทำการศึกษาประกอบอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นอาชีพหลัก สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ลดลงจะทำให้ราคาค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วยแพงขึ้น ซึ่งมีผลต่อทั้งประเทศ
Other Abstract: In this study, GISS climate change model and HEC-3 reservoir hydrology model were used to study future climate scenarios and reservoir simulation. Studies had been separated into two case, water in reservoir buffer zone can and can not be used for electricity generation. Comparative studies had been done at present climate and in care of climate change in the future with runs for 19 years. Results were concluded as follow: 1. By GISS model, temperature due to climate change will increase from present around 2 ℃ to 6 ℃ 2. Evaporation rate will exceed present rate at 8.42% to 19.82% 3. Rainfall and runoff in the future will decrease 10 months in 1 years. 4. Diversion for other purposes except electrical generation will not meet the requirement at the end period in case that water in buffer zone can be used for electrical generation. 5. Water level and water elevation in the future will be lower than the present. In case of water in buffer zone can be used for electrical generation, water level will be at dead storage level or 86.00 M-MSL for 32 month at the end period of study. 6. Energy shortage will be occurred in both case. Especially, whenever water in buffer zone can be used for electrical generation, Energy can not be produced for 52 months towards the end period. 7. Since main income of the population in this area is related to tourist services. Decrease of energy may increase its cost which will be the main impact on socio-economic issues.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสุขาภิบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48862
ISBN: 9745829439
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sillrapachai_ti_front.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Sillrapachai_ti_ch1.pdf401.29 kBAdobe PDFView/Open
Sillrapachai_ti_ch2.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Sillrapachai_ti_ch3.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open
Sillrapachai_ti_ch4.pdf7.18 MBAdobe PDFView/Open
Sillrapachai_ti_ch5.pdf252.02 kBAdobe PDFView/Open
Sillrapachai_ti_ch6.pdf177.44 kBAdobe PDFView/Open
Sillrapachai_ti_back.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.