Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48991
Title: | ภาวะมลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรมบ่มใบยา ของจังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Air pollution from tobacco curing industry in Chiangmai Province |
Authors: | สราวุธ สมประเสริฐ |
Advisors: | แสงสันต์ พานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | มลพิษทางอากาศ -- ไทย -- เชียงใหม่ อุตสาหกรรมยาสูบ -- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ยาสูบ |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จุดประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ ปริมาณมลพิษทางอากาศจากการใช้เชื้อเพลิงของโรงงานบ่มใบยา ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และ ผลกระทบของสภาพภูมิอากาศ และภูมิประเทศต่อการแพร่กระจายของมลพิษดังกล่าวด้วยการวิเคราะห์จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้เลือก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ศึกษา เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการบ่มใบยาสูบมากที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังมีสภาพพื้นที่ เป็นลักษณะแอ่งที่ราบหุบเขาอีกด้วย สำหรับวิธีการศึกษา เริ่มต้นด้วยการสรุปรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น ทั้งทางด้านอุตุนิยมวิทยา และด้านแหล่งกำเนิดมลพิษ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการป้อนข้อมูลลงในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ISCST จากนั้นจึงทดลองปรับเปลี่ยนค่าตัวแปรต่าง ๆ ในแบบจำลองเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น โดยมีแนวทางในการแก้ไข ดังนี้ กรณีที่ 1 เพิ่มค่าความสูงปล่อง เพื่อให้มีการกระจายตัวของมลพิษได้ดีขึ้น , กรณีที่ 2 ทำโดยการลดค่าอัตราการแพร่กระจายของมลพิษ ด้วยวิธีเปลี่ยนเชื้อเพลิง และปรับปรุงการใช้เชื้อเพลิงให้มีประสิทธิภาพการบ่มดีที่สุด กรณีสุดท้ายคือกระจายปริมาณการบ่มของแต่ละสถานีให้มีปริมาณการบ่มที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อจะให้เกิดปัญหามลพิษน้อยที่สุด ผลการวิจัยสรุปได้ว่า พื้นที่ที่ศึกษาในช่วงที่ทำการศึกษาวิจัยเป็นฤดูหนาวของปี 2536-2537 โดยมีค่าความเร็วลมพัดโดยเฉลี่ยเป็น 0.95 เมตรต่อวินาที และมีทิศทางการพัดจากทิศใต้มากที่สุด โดยจะมีลมสงัดในช่วงเวลา 22.00 นาฬิกาถึง 06.00 นาฬิกา โดยมีค่าเปอร์เซ็นต์ลมสงัดเฉลี่ยเป็น 22% และจากการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลอง ISCST พบว่าค่ามลพิษรายชั่วโมงสูงสุด เกิดขึ้นที่บริเวณบ้านลันปง พิกัด 6000,10000 ในช่วงเวลา 22.00 นาฬิกา ในช่วงเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงเดือนที่มีปริมาณการบ่มมากที่สุด โดยมีค่าเป็น 3039 มคก./ลบม. ส่วนค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของมลพิษ เกิดขึ้นที่พิกัดเดียวกัน (บ้านลันปง) แต่อยู่ในช่วงเดือนธันวาคม โดยมีค่าเป็น 771 มคก./ลบม. สำหรับสาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากในช่วงเดือนธันวาคมจะมีสภาพลมสงัดมากกว่าเดือนพฤศจิกายน คือมากกว่าถึง 30% ทำให้มลพิษไม่เคลื่อนไหวมาก และในการวิจัยยังพบอีกว่า สภาพภูมิประเทศ จะมีผลต่อค่ามลพิษ คือทำให้แหล่งกำเนิดมลพิษที่อยู่บนเชิงเขามีค่ามลพิษสูงกว่า ในกรณีที่แหล่งกำเนิดมลพิษอยู่บนที่ราบกว้าง ประมาณ 7% สำหรับการศึกษาในกรณีของแนวทางการแก้ไขพบว่า การเพิ่มความสูงของปล่องจาก 6 เมตร เป็น 10 เมตร สามารถลดมลพิษ ลงได้ 15% และแนวทางการปรับปรุงโรงบ่มเป็นแบบ เซมิ-บัลค์ จะช่วยลดมลพิษลงได้ 40% |
Other Abstract: | The main purpose of this study was to investigate the air pollution from tobacco curing industry in Chiangmai province. The study was planned to find out the concentration of the pollution and its emission under the condition of mountainous area and cool climate of Chiangmai by using a mathematical model analysis. Phrao District was chosen to be the example area of Chiangmai, due to its largest number of tobacco curing barns and its valley plain. Relavant data on meteorology and pollution sources were gathered and then analyzed with the mathematical model ISCST. The model runs were also worked out to suggest the improvement of the situation in three different ways: increasing stack heights, reducing emission rates with different fuels at their peak heat efficiency, and curing a suitable amount of tobacco at each barn, according to its location. The major results were concluded as follows: The weather condition during the study period winter of 1993-1994 was 0.95 m/s wind velocity, most from the south direction, and the calm condition occurred 22 % from 10:00 PM to 06:00 AM; The ISCST model showed that the highest hourly average concentration was 3039 µg/cu.m at Ban San Pongat 10:00 PM in November when the tobacco curing was at the maximum. Twenty-four hour average concentration was 771 µg/cum. at the same grid point. The reason was that the calm condition occurred 30 % more often in December than in November causing the pollutant to be subjected to more stable atmospheric condition; The SO2 concentration at the hillside were 7 % higher than those at the flat area; For the improvement solutions the increase of stack height from 6 to 10 meters could reduce 15 % and the semi-bulk typed barns could reduce 40 % of the SO2 concentrations. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48991 |
ISBN: | 9746312251 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sarawut_som_front.pdf | 8.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sarawut_som_ch1.pdf | 2.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sarawut_som_ch2.pdf | 3.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sarawut_som_ch3.pdf | 13.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sarawut_som_ch4.pdf | 12.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sarawut_som_ch5.pdf | 2.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sarawut_som_ch6.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sarawut_som_back.pdf | 7.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.