Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48996
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฎฐดา อารีเปี่ยม-
dc.contributor.authorวิชญ์ภัทร ธรานนท์-
dc.contributor.authorพิชญ์นิภา นวพักตร์พิไล-
dc.contributor.authorอุษา เลิศนวกร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-06-12T00:16:39Z-
dc.date.available2016-06-12T00:16:39Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.otherSepr 2/55 ค1.5-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48996-
dc.description.abstractโลหิตจางเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ภาวะดังกล่าวอาจ ทำให้ต้องชะลอหรือลดขนาดยาเคมีบำบัด ส่งผลต่อกระบวนการวางแผนการรักษาของแพทย์ รวมถึงส่งผลกระทบต่อ คุณภาพชีวิตของผู้ป่ วยมะเร็ง ภาวะโลหิตจางในผู้ป่ วยมะเร็งสามารถรักษาด้วย Recombinant Human Erythropoietin (rEPO) การวิจัยนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการใช้ยา rEPO และประเมินประสิทธิผล ความปลอดภัยของ การใช้ยาในผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะโลหิตจางจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งที่มารับการรักษา ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในช่วงเดือนมกราคม – ธันวาคม 2554 ในช่วงเวลาที่กำหนด มีผู้ป่วยที่ได้รับยา rEPO จำนวน 163 ราย และมีผู้ป่วยที่มีข้อมูลสมบูรณ์ตามเกณฑ์คัด ผู้ป่ วยเข้าในการศึกษา 21 ราย เป็นเพศชาย 10 ราย และหญิง 11 ราย (ร้อยละ 47.62 และ 52.38 ตามลำดับ)โดยผู้ป่ วย มีอายุเฉลี่ย 65 ± 11.16 ปี ผู้ป่ วยทั้ง 21 รายได้รับยา rEPO จำนวน 98 รอบการรักษา แบบแผนการใช้ยามี 2 รูปแบบ ได้แก่ α-rEPO 40,000 U weekly SC ซึ่งแพทย์นิยมสั่งใช้มากที่สุด (ร้อยละ 58.16) และอีกแบบแผนหนึ่ง คือ β-rEPO 30,000 U weekly SC (ร้อยละ 48.84) มีการสั่งตรวจวัดระดับ Ferritin, Total Iron Binding Capacity (TIBC), Serum iron ในผู้ป่วยก่อนการเริ่มให้ยา rEPO จำนวน 5 ราย (ร้อยละ 23.8) เมื่อเปรียบเทียบระดับฮีโมโกลบินก่อนและหลังได้รับ rEPO ด้วยสถิติ Paired T-test พบว่าระดับฮีโมโกลบินหลังได้รับยา rEPO สูงกว่าก่อนได้รับยา 0.57 g/dL (p < 0.01) จากการให้ยา 98 รอบการรักษา มี 30 รอบการรักษา (ร้อยละ 30.61) ที่ค่าฮีโมโกลบินหลังจากรับยาสูงขึ้น ตั้งแต่ 1 g/dL ขึ้นไปและมีจำนวน 22 รอบการรักษา (ร้อยละ 22.45) ที่ระดับฮีโมโกลบินหลังได้รับยาของผู้ป่ วยสูงกว่า 12 g/dL ด้านความปลอดภัย พบว่ามี 16 รอบการรักษา (ร้อยละ 16.33) ที่ความดันโลหิตของผู้ป่ วยเพิ่มสูงขึ้นและไม่พบ การเกิดภาวะ Pure Red Cell Aplasia ผลการศึกษาสรุปได้ว่า rEPO มีประสิทธิผลในการเพิ่มระดับฮีโมโกลบินในผู้ป่ วยมะเร็งที่มีภาวะโลหิตจางจากยา เคมีบำบัด แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่ วยเพียงจำนวน 1 ใน 5 ที่มีค่าฮีโมโกลบินสูงถึงระดับเป้ าหมาย ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัย ต่าง ๆ เช่น อายุของผู้ป่ วย ชนิดของโรคมะเร็งและยาที่ผู้ป่ วยได้รับ เป็นต้นen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเคมีบำบัดen_US
dc.subjectมะเร็งen_US
dc.subjectเลือดจางen_US
dc.subjectผู้ป่วยen_US
dc.titleผลการใช้ยา Recombinant human erythropoietin ในผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะโลหิตจางจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativeEffect of recombinant human erythropoietin in chemotherapy induced anemiaen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.subject.keywordโลหิตจางen_US
dc.subject.keywordยาเคมีบำบัดen_US
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vichapat_Th.pdf501.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.