Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49023
Title: | การจำลองอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์สำหรับกรณีของอุทกภัย |
Other Titles: | Simulation of Ubol Ratana Reservoir on floods |
Authors: | สมศักดิ์ เกียรติสุรนันท์ |
Advisors: | ชัยพันธุ์ รักวิจัย จักรี จัตุฑะศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Chaipant.R@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ อุทกภัย, การควบคุม แบบจำลองทางชลศาสตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้เป็นการศึกษา แนวทางการจำลองสภาพการดำเนินอ่างเก็บน้ำเอนกประสงค์อุบลรัตน์ ในกรณีการควบคุมอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำพองและชี และศึกษาการจำลองสภาพกับข้อมูลทางอุทกวิทยา ช่วงระยะเวลาที่เกิดอุทกภัยในปี 2519 2521 และ2523 เพื่อสรุปทบทวนศักยภาพของอ่างเก็บน้ำต่อการควบคุมอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำพอง – ชี ในการศึกษาการจำลองสภาพ แบบจำลองสภาพการดำเนินการอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์และระบบแม่น้ำพอง – ชี ได้ถูกสร้างขึ้นในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบด้วยกัน อันได้แก่ แบบจำลองอ่างเก็บน้ำ แบบจำลองนโยบายดำเนินการ และแบบจำลองระบบแม่น้ำพอง – ชี ซึ่งถูกสร้างตามหลักการของอุทกวิทยาดำเนินการ แบบจำลองสภาพ ได้ถูกใช้ในการจำลองสภาพการดำเนินการอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ทั้งหมด 78 กรณีด้วยกัน โดยการเปลี่ยนแปลงการจัดสรรความจุควบคุมอุทกภัย สำหรับชุดข้อมูลอุทกวิทยาระหว่าง 1 สิงหาคน - 30 พฤศจิกายน ในปี 2519 2521 และ 2523 ผลของการศึกษาการจำลองสภาพ ได้บ่งว่าอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์มีขีดความสามารถค่อนข้างจำกัดในการที่จะป้องกันการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำพอง – ชี โดยเฉพาะในปี 2521 แต่สามารถที่จะลดความรุนแรงของอุทกภัยได้มาก หากมีการจัดสรรขนาดความจุควบคุมอุทกภัยให้มากขึ้นความรุนแรงสำหรับพื้นที่สองฝั่งของแม่น้ำพองจะลดลงได้มาก และลดลงบ้างสำหรับพื้นที่สองฝั่งของแม่น้ำชี |
Other Abstract: | This study concerns the simulation approach towards the operations of Ubolratana Mulipurpose Reservoir for the control of floods in the downstream Pong-Chi river basins. Simulation runs were conducted utilizing hydrologic recorded data during August 1 to November 30 of the year 1976, 1978 and 1980 to review the potential of Ubolratana Reservoir for the control of floods within the Pong-Chi river basins. A simulation model were made in the form of FORTRAN computer program to represent the operation of Ubolratana Reservoir and the Pong-Chi river basin system. Three model components were the reservoir routing model, the operating policy model and the river routing model, which were constructed according to the operational hydrology. The simulation runs of 78 runs total were made to simulate the operation of Ubotratana Reservoir by changing the allocation of flood control storage. The hydrologic recorded data during August 1 to November 30 of the year 1976, 1978 and 1980 were used. The simulated results indicated that the Ubolratana Reservoir had limited capacity to alleviate flooding in the Pong-Chi river basin, especially in the year 1978. However, increasing of allocated flood control storage could reduce the severity of flooding on both banks of the Pong River and of the Chi River to a lesser degree. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49023 |
ISBN: | 9745620769 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somsak_kia_front.pdf | 9.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_kia_ch1.pdf | 5.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_kia_ch2.pdf | 4.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_kia_ch3.pdf | 2.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_kia_ch4.pdf | 11.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_kia_ch5.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_kia_ch6.pdf | 6.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_kia_ch7.pdf | 10.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_kia_ch8.pdf | 2.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_kia_back.pdf | 4.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.