Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49039
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงการค้ามันสำปะหลังระหว่างไทย และประชาคมยุโรป
Other Titles: Legal Prlblems of Thailand-EC Cassava Trade Agreement
Authors: สมสกุล จันทรสูตร
Advisors: สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า
มันสำปะหลัง
กลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหากฎหมายที่เกิดขึ้นจากการที่ประเทศไทยได้ทำข้อตกลงการค้ามันสำปะหลังกับประชาคมยุโรป ตลอดจนศึกษาวิวัฒนาการของการทำข้อตกลง VER ความเป็นมาของการค้ามันสำปะหลังระหว่างไทยและประชาคมยุโรป สถานะภาพทางกฎหมายของไทยในเวทีการค้าระหว่างประเทศ และศึกษาเรื่องการนำหลักเกณฑ์ของแกตต์มาช่วยในการเจรจาต่อรองการค้ามันสำปะหลังกับประชาคมยุโรป ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวข้อตกลงฯ เป็น VER ที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจาก VER ที่เกิดตามมาตรา 19, 6 และ 28 ของแกตต์ นอกจากนี้ยังเป็นข้อตกลงที่ทำขึ้นก่อนที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีแกตต์ แม้ภายหลังเข้าเป็นภาคีแกตต์แล้วก็ยังคงลักษณะเดิมโดยมิได้มีการนำหลักเกณฑ์ของแกตต์มาใช้ จึงทำให้เกิดปัญหาในการต่อรองเจรจา 2) ข้อตกลงฯ ดังกล่าวมีผลกระทบต่อกฎหมายภายใน กล่าวคือทำให้รัฐบาลไทยต้องออกกฎและระเบียบต่างๆ มาควบคุมและจัดสรรการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำประหลังที่จะส่งไปจำหน่ายยังประชาคมยุโรป 3) ก่อให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจการเมือง ซึ่งส่งผลต่อการเจราจาเนื่องจากการมีข้อตกลง VER ก่อให้เกิด Quota Rents จากการเป็นผู้ควบคุมการส่งออก 4) ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของตัวข้อตกลง เช่น การเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ตามมาตรา 28 พิกัดศุลกากร และนิยามของมันอัดเม็ด เป็นต้น ในฐานะที่ข้อตกลงการค้ามันสำประหลังยังคงมีผลใช้บังคับอยู่และมีแนวฌโน้มว่าจะมีการต่ออายุข้อตกลงต่อไปเรื่อย ๆ ดังนั้น ประเทศไทยควรดำเนินการดังนี้ 1) นำหลักเกณฑ์ตามมาตรา 28 ของแกตต์มาใช้ในการเจรจาแก้ไขและต่ออายุข้อตกลงครั้งต่อไป 2) ควรนำวิธีการประมูลโควต้ามาใช้เพื่อให้การจัดสรรโครต้าเป็นไปอย่างโปร่งใสและเพื่อเป็นการลดปัญหาทางเศรษฐกิจการเมืองของการจัดสรร Quota Rents ลงได้บ้าง 3) จัดให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างประเทศขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อขจัดความขัดแย้งของหน่วยงานต่าง ๆ ลง 4) ควรนำวิธีการเจรจาข้ามภาค cross – sectorial exchange) มาช่วยในการเจรจาแก้ไขความเสียเปรียบในมาตรา 3 (i) และ 3 (iii) (a) และเพิ่มบทบัญญัติในการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง ในข้อตกลงฉบับใหม่ที่อาจมีขึ้น
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study the legal problems in the Cassava Trade Agreement between Thailand and the EC. The development of VER agreement, the history of cassava trade between Thailand and EC., the legal status of Thailand in the international trade forum and the appliance of GATT rules to the cassava trade negotiation with EC. are also studied in this thesis. The findings of this thesis are 1) VER Agreement made between Thailand and EC. is different to an VER under article 19, 6 and 28 of the GATT in that the agreement was made when Thailand was not the member of GATT. However, after Thailand became GATT’s member, the agreement remains unchanged resulting in many legal problems at negotiation table. 2) Thailand has to adjust her internal law i.e. she has to issue rules and regulations to control the export of cassava products to EC. after VER Agreement was signed. 3) Quota Rents arising out of Agreement is the political-economic problem which warsens Thai position. 4) It is proposed that the VER Agreement should address the issues of Thailand as a Principal Supplier under article 28, Tariff and Cassava Pellets nomenclature. When the Cassava Trade Agreement is still valid and has the tendency to extend its validity, Thailand should proceed the following: 1) In future, amend and extend the agreement by applying GATT article 28, 2) Auction the quota of cassava product export to make the quota distribution transparent. Quota auction will, also, reduce the problem of quota rents which is the political-economic question. 3) Set up special office responsible for international trade negotiation in order to manage conflict between different government agencies. 4) Negotiate to improve better VER Agreement by using cross-sectorial exchange negotiation method. 5) Negotiate to adjust other issues such as increasing quota, adjusting disadvantages in article 3 (i) and 3 (iii) (a), and add article of enforcement to the VER Agreement.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49039
ISBN: 9745816337
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsakul_ch_front.pdf9.54 MBAdobe PDFView/Open
Somsakul_ch_ch1.pdf6.07 MBAdobe PDFView/Open
Somsakul_ch_ch2.pdf5.51 MBAdobe PDFView/Open
Somsakul_ch_ch3.pdf12.9 MBAdobe PDFView/Open
Somsakul_ch_ch4.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open
Somsakul_ch_ch5.pdf6.73 MBAdobe PDFView/Open
Somsakul_ch_ch6.pdf8.9 MBAdobe PDFView/Open
Somsakul_ch_back.pdf8.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.