Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49058
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพียรศิริ วงศ์วิภานนท์-
dc.contributor.authorสมสมัย มณีใส-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-12T10:06:57Z-
dc.date.available2016-06-12T10:06:57Z-
dc.date.issued2537-
dc.identifier.isbn9745849405-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49058-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้ศึกษาการใช้คำกริยาที่อ้างถึงการรับรู้ด้วยตาของคนตาบอด โดยมีสมมุติฐานว่า มีเงื่อนไข 3 ประการในการใช้คำกริยารับรู้ด้วยตาของคนตาบอด คือ ความเป็นวลีตายตัว ความเป็นคนตาบอดหรือคนมองเห็นของคู่สนทนา และลักษณะทางกายภาพของสิ่งที่อ้างอิง การวิเคราะห์ในข้อมูลที่เก็บจากการสนทนาของนักเรียนโรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพ จำนวน 8 คน ได้ข้อมูลประโยคที่มีการใช้คำกริยารับรู้ด้วยตา 102 ประโยค และประโยคที่มีการใช้คำกริยารับรู้ด้วยการจับต้อง 105 ประโยค ผลจากการทดสอบกับคนมองเห็นได้พบว่า ประโยคที่มีคำกริยารับรู้ด้วยการจับต้องนั้นเป็นการใช้คำกริยารับรู้ด้วยการจับต้องแทนที่คำกริยารับรู้ด้วยตา อันเป็นลักษณะเด่นของคนตาบอด 76 ประโยค เมื่อนำข้อมูลคำกริยารับรู้ด้วยตา 102 ประโยค และข้อมูลการใช้คำกริยารับรู้ด้วยการจับต้องที่แทนที่คำกริยารับรู้ด้วยตา 76 ประโยคมาวิเคราะห์ เพื่อดูเงื่อนไขที่อธิบายการใช้คำกริยาเหล่านี้ของคนตาบอด ได้พบว่าตัวแปรที่สำคัญ คือ การที่ปรากฏการณ์ที่พูดถึงนั้นเป็นปรากฏการณ์เกิดขึ้นแล้ว หรือยังไม่เกิด ในกรณีที่เป็นการพูดถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ได้พบว่าจะมีการใช้คำกริยารับรู้ด้วยตาใน 2 กรณี กรณีแรกเป็นการใช้คำกริยารับรู้ด้วยตาซึ่งมิใช่กริยาหลัก แต่เป็นคำช่วยหน้ากริยา หรือคำหลังกริยา หรือปรากฏในวลีตายตัว กรณีที่ 2 คนตาบอดจะใช้คำกริยารับรู้ด้วยตาเมื่อพูดถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ หรือแม้จะจับต้องได้แต่เขาไม่มีโอกาสได้จับ ส่วนการใช้คำกริยารับรู้ด้วยการจับต้องนั้น คนตาบอดจะใช้เมื่อเขาพูดถึงประสบการณ์ของการที่เขาได้เข้าไปจับต้องสิ่งนั้นด้วยตนเอง ส่วนการพูดถึงประสบการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นนั้น พบในประโยคคำสั่งประโยคคำถาม และประโยคปฏิเสธ พบว่ามีการใช้คำกริยาทั้งสองชนิดแม้ในบริบทเดียวกัน อย่างไรก็ดี มีแนวโน้มว่ามีความถี่ของการใช้คำหริยารับรู้ด้วยการจับต้องมากกว่าคำกริยารับรู้ด้วยตาen_US
dc.description.abstractalternativeThis is a study of the use of verbs representing visual perception of the blind sperkers of Thai. The hypothesis of the study is that the blind will use the verbs of vision in fixed phrases, in sentences which refer to seeing persons or objects which cannot be touched. Data were collected from natural conversation of eight completely blind students of the School for the Blind in Bangkok, which consist of two sets of sentences: 102 sentences with verbs of visual perception and 105 sentences with verbs of tactile perception. A test with seeing speakers of Thai reveals a distinction between the regular use of verbs of tactile perception, 29 sentences, and the sue of these verbs as substitute of verbs of visual perception by the blind, 76 sentences. An analysis of these 76 sentences together with the 102 sentences with verbs of visual perception reveals the following findings. An important factor which explains the use of these two types of verb by the blind is the distinction between realis and irrealis sentences. In the realis sentences, the use of verbs of visual perception by the blind is conditioned by two factors : linguistic and physical. The blind will use verbs of visual perception when it is not the main verb, but rather a pre verb auxiliary, a post-verb or in fixed phrases. They will also use verbs of visual perception when they are talking about seeing persons or about objects which cannot be touched. As for the irrealis sentences, which consist of imperative, interrogative and negative sentences, both types of verbs are used in the same contexts though the frequency to the verbs of tactile perception is higher than that of the verbs of visual perception.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาไทย -- คำกริยาen_US
dc.subjectคนตาบอดen_US
dc.subjectภาษาไทย -- บทสนทนาและวลีen_US
dc.subjectการรับรู้ทางสายตาen_US
dc.titleการใช้คำกริยาที่อ้างถึงการรับรู้ด้วยตาในการสนทนาภาษาไทย ของคนตาบอดen_US
dc.title.alternativeThe Use of verbs representing visual perception in Thai conversation of blind speakersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPeansiri.V@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsamai_ma_front.pdf7.98 MBAdobe PDFView/Open
Somsamai_ma_ch1.pdf12.82 MBAdobe PDFView/Open
Somsamai_ma_ch2.pdf6.51 MBAdobe PDFView/Open
Somsamai_ma_ch3.pdf11.85 MBAdobe PDFView/Open
Somsamai_ma_ch4.pdf7.75 MBAdobe PDFView/Open
Somsamai_ma_ch5.pdf7.93 MBAdobe PDFView/Open
Somsamai_ma_back.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.