Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49064
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญชัย โสวรรณวณิชกุล-
dc.contributor.authorสรศักดิ์ สุภาพ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-12T10:17:58Z-
dc.date.available2016-06-12T10:17:58Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745819514-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49064-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en_US
dc.description.abstractการตรวจสอบเครื่องวัดทางไฟฟ้า เป็นการเปรียบเทียบค่าของการวัดระหว่างเครื่องวัดทางไฟฟ้าที่ต้องการตรวจสอบกับเครื่องมาตรฐานอ้างอิงในการวัด เครื่องวัดทางไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง เมื่อใช้งานไปช่วงระยะเวลาหนึ่งย่อมจะเกิดความผิดพลาดจากการวัดขึ้น จึงต้องทำการตรวจสอบและปรับเทียบให้เครื่องวัดทางไฟฟ้าเหล่านั้น มีความถูกต้องในการวัดอยู่ในมาตรฐานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ ในการวิจัยนี้ ได้ทำการพัฒนาโปรแกรมสำหรับตรวจสอบเครื่องวัดทางไฟฟ้า บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ประเภทไอบีเอ็มพีซี โดยมีเป้าหมายให้โปรแกรมสามารถตรวจสอบเครื่องวัดทางไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ใช้งานง่าย ช่วยลดความผิดพลาด และลดอันตรายในขณะทำการตรวจสอบ การตรวจสอบจะใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในการควบคุมเครื่องวัดทางไฟฟ้าและเครื่องมาตรฐานอ้างอิง โดยผ่าน IEEE-488 bus นอกจากนี้ยังใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลรายละเอียดการตรวจสอบไว้ในแฟ้มข้อมูล ซึ่งจะต้องสร้างขึ้นมาสำหรับการตรวจสอบเครื่องวัดทางไฟฟ้าในแต่ละเครื่องการดำเนินการตรวจสอบจะอ่านข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลรายละเอียดการตรวจสอบเข้ามาเก็บในหน่วยความจำของเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ในรูปแบบรายการโยงและนำข้อมูลในรายการโยงนี้ มาแปลงเป็นคำสั่งให้เครื่องวัดทางไฟฟ้าและเครื่องมาตรฐานอ้างอิงปฏิบัติ จากนั้นนำค่าที่อ่านได้มาทำการเปรียบเทียบกับค่าที่กำหนดไว้ในรายการโยงพิจารณาว่าอยู่ในขอบเขตที่กำหนดหรือไม่ และแสดงผลการตรวจสอบออกมาทางจอภาพ เครื่องพิมพ์ หรือ บันทึกผลการตรวจสอบไว้บนจานบันทึก ในการทดสอบโปรแกรมสำหรับตรวจสอบเครื่องวัดทางไฟฟ้า โดยใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ประเภทบีเอ็มพีซี 386SX ผลปรากฏว่า สามารถตรวจสอบดิจิตอลโวลต์มิเตอร์ (HP3455A) ใช้เวลา 7 นาที เครื่องกำเนิดสัญญาณ (HP8656B) ใช้เวลา 30 นาที และเครื่องนับความถี่ (HP5328A) ใช้เวลา 9 นาที เมื่อเทียบกับการตรวจสอบโดยใช้มือ ต้องใช้เวลา 2 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง และ 2 ชั่วโมง 30 นาที ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeElectrical measuring instrument test is a process of comparing an electrical measuring instrument (EMI) with a reference standard. EMI, which is an electronic device, has measuring error when it is used for a period of times. Therefore the EMI must be tested and calibrated regularly in order to achieve the standard reference accuracy during a specific period of time. In this thesis, a design and development of a program for test an EMI on the microcomputer is presented. The objectives of the test are to reduce the time required for the manual test, to achieve the testing accuracy, to be easy to used, and to minimize the hazards during the operation. The test is done by using a microcomputer to control the EMI and the reference standard via the IEEE-488 bus. Additionally, the microcomputer is used to store the test data into a file for each EMI test. To test an EMI, operations of the EMI and the reference standard are read from a file and stored in the main memory in the form of linked lists. Then test results are compared with the reference standard to determine whether the result tolerance is acceptable. The test results can be stored on a file or can be displayed on screen or printer. The program is implemented and tested on an IBM PC 386SX 20MHz, it tests a digital voltmeter (HP3455A) in 7 minutes, a signal generator (HP8656B) in 30 minutes, a frequency counter (HP35328A) in 9 minutes, whereas the manual test normally takes approximately 2 hours, 6 hours, and 2:30 hours, respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectซอฟต์แวร์ -- การพัฒนาen_US
dc.subjectComputer software -- Developmenten_US
dc.titleการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับตรวจสอบเครื่องวัดทางไฟฟ้าen_US
dc.title.alternativeSofware cevelopment for testing electrical measuring instrumentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมคอมพิวเตอร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorBoonchai.So@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sorasak_su_front.pdf8.53 MBAdobe PDFView/Open
Sorasak_su_ch1.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Sorasak_su_ch2.pdf7.99 MBAdobe PDFView/Open
Sorasak_su_ch3.pdf5.87 MBAdobe PDFView/Open
Sorasak_su_ch4.pdf12.74 MBAdobe PDFView/Open
Sorasak_su_ch5.pdf8.97 MBAdobe PDFView/Open
Sorasak_su_ch6.pdf6.35 MBAdobe PDFView/Open
Sorasak_su_ch7.pdf7.24 MBAdobe PDFView/Open
Sorasak_su_ch8.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open
Sorasak_su_ch9.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
Sorasak_su_back.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.