Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49072
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผ่องพรรณ ลวนานนท์-
dc.contributor.advisorเกษมศักดิ์ ภูมิศรีแก้ว-
dc.contributor.authorสรัญญา รุจิเรขเรืองรอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-12T10:53:14Z-
dc.date.available2016-06-12T10:53:14Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746322923-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49072-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าบรรณารักษ์บริการตอบคำถามของห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบใด และเพื่อศึกษาว่าบรรณารักษ์บริการตอบคำถามต้องการกิจกรรมฝึกอบรมแบบใดมากที่สุด ประชากรเป็นบรรณารักษ์บริการตอบคำถามทั้งหมดจำนวน 143 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่หลักในการให้บริการตอบคำถามในหอสมุดกลาง ห้องสมุดวิทยาเขตที่ทำหน้าที่เป็นหอสมุดกลาง และสำนักหอสมุดสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชนรวม 53 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามเพื่อสำรวจรูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีของ HONEY และ MUMFORD แบบสอบถามเพื่อสำรวจความต้องการกิจกรรมฝึกอบรม และแบบสอบถามเพื่อสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ และหาค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า บรรณารักษ์บริการตอบคำถามส่วนใหญ่ มีรูปแบบการเรียนรู้แบบนักกิจกรรมมากที่สุด รองลงมาคือแบบนักไตร่ตรอง และนักทฤษฎี มีจำนวนเท่ากัน และแบบนักปฏิบัติ ตามลำดับและกิจกรรมฝึกอบรมที่บรรณารักษ์บริการตอบคำถามต้องการมากที่สุด คือกิจกรรมฝึกอบรมที่ผู้เรียนจะได้ทดลองนำสิ่งที่เรียนไปแก้ปัญหางานที่ปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ และกิจกรรมฝึกอบรมที่ต้องการน้อยที่สุด คือ กิจกรรมฝึกอบรมที่ผู้เรียนจะได้วิเคราะห์แนวคิดโดยใช้หลักตรรกศาสตร์และสร้างสรรค์ทฤษฎีใหม่อย่างเต็มความสามารถ นอกจากนี้ยังพบว่า อายุ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา สถาบันที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ภูมิลำเนา ระยะเวลาประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งบรรณารักษ์บริการตอบคำถาม งานที่ชอบปฏิบัติมากที่สุด งานอื่น ๆ ที่ต้องปฏิบัตินอกเหนือจากงานบริการ หัวข้อฝึกอบรมที่น่าสนใจเข้ารับการซึกอบรมมากที่สุด ไม่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่พบว่า ระยะเวลาการทำงานในวิชาชีพบรรณารักษ์มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research are to study which types of learning style most of the academic reference librarians are and to find out which training activity most of them need. The population were 143 academic reference librarians from both government and private sectors under the Ministry of University Affairs. The research instruments comprised of Honey and Mumford learning style questionnaire, questionnaire about training activities they need most as well as questionnaire on personal data and status. The data were analysed by frequency, percentage and chi-square test. The findings show that most of the academic reference librarians are activists, follow by reflectors and theorists with equal quantity and pragmatists respectively. Most of them need training activity which the trainees will have chance to experiment what they had learned to solve problems in real situation. The training activity which is least demand is to analyze the concept by using logic and creating new theory. The results also show that the relationships between learning styles and other variables such as age group, highest degree obtained, university where undergraduate, domicile, length of experience in librarian position, most preferable work and other work assigned have no statistical significant differences. On the other hand, librarians’ learning style has statistical significant with the length of professional experience.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาen_US
dc.subjectบรรณารักษ์ -- การฝึกอบรมen_US
dc.subjectบริการตอบคำถามen_US
dc.titleรูปแบบการเรียนรู้ของบรรณารักษ์บริการตอบคำถาม ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับความต้องการกิจกรรมฝึกอบรมen_US
dc.title.alternativeLearning styles of academic reference librarians and needs for training activitiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบรรณารักษศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorphong@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarunya_ru_front.pdf10.08 MBAdobe PDFView/Open
Sarunya_ru_ch1.pdf8.77 MBAdobe PDFView/Open
Sarunya_ru_ch2.pdf4.84 MBAdobe PDFView/Open
Sarunya_ru_ch3.pdf7.85 MBAdobe PDFView/Open
Sarunya_ru_ch4.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
Sarunya_ru_ch5.pdf6.89 MBAdobe PDFView/Open
Sarunya_ru_back.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.