Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49090
Title: การเปลี่ยนเชิงชีวภาพของลิกโนเซลลูโลสเป็นเอทธานอล ด้วยวิธีการย่อยสลายและการหมักแบบต่อเนื่องโดย Acrophialophora sp. และ Candida brassicae
Other Titles: Bioconversion of lignocellulosics to ethanol by simultaneous hydrolysis and fermentation techniques using acrophialophora sp. and Candida brassicae
Authors: สันทนา เสถียรไพศาล
Advisors: หรรษา ปุณณะพยัคฆ์
มุกดา คูหิรัญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Hunsa.P@Chula.ac.th
Mukda.K@Chula.ac.th
Subjects: การย่อยสลายทางชีวภาพ
การหมัก
Biodegradation
Fermentation
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กระบวนการย่อยสลายและการหมักแบบต่อเนื่องใช้ในการผลิตเอธานอลจากวัสดุลิกโนเซลลูโลสโดยการรวมปฏิกิริยาย่อยสลายและการหมักไว้เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องในถังหมักเดียวกัน โดยเซลลูโลสจะถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์เซลลูเลสได้เป็นน้ำตาลกลูโคสจากนั้นยีสต์จะเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสได้เป็นเอธานอลอย่างรวดเร็ว เมื่อศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอธานอลด้วยวิธีการย่อยสลายและการหมักแบบต่อเนื่องโดยใช้เอนไซม์เซลลูเลสจากเชื้อรา Acrophialophpra sp. และยีสต์ Candida brassicae โดยใช้เส้นใยป่านศรนาราณย์เป็นวัสดุหมัก พบว่า การใช้ปริมาณเอนไซม์ 25 เท่า โดยคำนวณจากจำนวนของน้ำหนักแห้งวัสดุหมัก ความเข้มข้นยีสต์เริ่มต้น 3 x 1010 เซลล์/มล. pH 5.0 อุณหภูมิ 45°ซ สามารถให้ผลผลิตเอธานอลสูงสุด 0.9125 เปอร์เซ็นต์ (0.3042 กรัม/กรัมสับสเตรท (g/g)) และการเติม casein peptone ความเข้มข้น 0.075 เปอร์เซ็นต์ เป็นอาหารเสริม สามารถให้ผลผลิตเอธานอลได้ 1.267 เปอร์เซ็นต์ (0.422 g/g) และ 0.9301 เปอร์เซ็นต์ (0.310 (g/g) ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่าวัสดุหนักที่ไม่มีการเติมอาหารเสริม 1.76 เท่า และ 1.29 เท่า ตามลำดับ การศึกษาแนวทางในการผลิตเอธานอลโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ร่วมกันระหว่างเชื้อรา Acrophialophpra sp. และยีสต์ Candida brassicae พบว่าใช้เชื้อราที่มีอายุ 6 วัน ความเข้มข้นยีสต์เริ่มต้น 3 x 1010 เซลล์/มล. ที่อุณหภูมิ 45°ซ สามารถให้ผลผลิตเอธานอลได้ 0.7822 เปอร์เซ็นต์ (0.2607 (g/g)
Other Abstract: The simultaneous hydrolysis and fermentation (SHF) process has been used for the production of ethanol from lignocellulosic using one bioreactor with continuous reactions starting from the saccharification of cellulose to glucose followed by a rapid conversion of glucose by yeast to ethanol. Optimum conditions of the SHF process using Acrophialphora sp. Cellulose, Candida brassicae and Agave sisalana fiber were investigated. The condition of having 25 folds enzyme, 3 x 1010 cells/ml yeast incolum PH 5.0 at 45°C gave the maximum ethanol yields of 0.9125% (0.3042 g/g substrate) Addition of 0.05% casein peptone or 0.075% soy peptone as supplements were beneficial giving ethanol yields of 1.267% (0.422 g/g or 1.76 folds increased) from casein peptone and 0.9301% (0.310 g/g or 1.29 folds increased) from soy peptone respectively. Study of the co-cutured fermentation process using Acrophialphora sp. and Candida brassicae. Revealed that the use of 6 day-old fungal culture, 3 x 1010 yeast cells/ml, at 45°C gave ethanol yield of 0.7822% Z0.2607 g/g).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49090
ISBN: 9746343874
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Santana_sa_front.pdf4.2 MBAdobe PDFView/Open
Santana_sa_ch1.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open
Santana_sa_ch2.pdf7.43 MBAdobe PDFView/Open
Santana_sa_ch3.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open
Santana_sa_ch4.pdf15.19 MBAdobe PDFView/Open
Santana_sa_ch5.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open
Santana_sa_ch6.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Santana_sa_back.pdf12.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.