Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49092
Title: การเปิดรับสื่อมวลชนและความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์ ต่อบทบาทในการพัฒนาสังคมของหนังสือพิมพ์ไทย
Other Titles: Mass media exposure and opinion of Journalism students on the social Development role of Thai Newspapers
Authors: สันติ์นที ประยูรรัตน์
Advisors: กนก วงษ์ตระหง่าน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สื่อมวลชน
Mass media
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อมวลชนและความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์ต่อบทบาทในการพัฒนาสังคมของหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน โดยพิจารณาเปรียบเทียบตามตัวแปร เกี่ยวกับสถานภาพส่วนบุคคล พร้อมทั้งทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อมวลชนกับความคิดเห็นต่อบทบาทในการพัฒนาสังคมของหนังสือพิมพ์ไทยจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 และ 4 มี 5 สถาบันคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และวิทยาลัยครูสวนดุสิต จำนวน 191 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มนักศึกษาวารสารศาสตร์ที่มี ปั้นปีการศึกษา ภูมิลำเนาเดิม และอาชีพของผู้ปกครองที่แตกต่างกัน มีการเปิดรับสื่อมวลชนมั่วไป (รวมทุกสื่อ) แตกต่างกัน และกลุ่มนักศึกษาที่มีสถาบันการศึกษา ภูมิลำเนาเดิม และลักษณะเขตที่อยู่เดิมแตกต่างกัน มีการเปิดรับสื่อหนังสือพิมพ์แตกต่างกัน สำหรับความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์ที่มีต่อบทบาทหนังสือพิมพ์ในการพัฒนาสังคมด้านต่าง ๆ นั้น แตกต่างกันไปตามกลุ่มสถาบันการศึกษาที่สังกัด เฉพาะใน 8 ประเด็นคือ บทบาทการสร้างค่านิยมที่ถูกต้องในสังคม บทบาทการรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม บทบาทการเป็นตลาดเสรีแห่งความคิดเห็นของสาธารณชน บทบาทการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย บทบาทการส่งเสริมเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีของสังคม บทบาทการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน บทบาทการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและจริยธรรมแก่ผู้อ่าน และบทบาทการเผยแพร่โฆษณาสินค้า ส่วนตัวแปรอื่น ๆ คือ ชั้นปีการศึกษา เพศ ภูมิลำเนาเดิม ลักษณะเขตที่อยู่เดิม และอาชีพของผู้ปกครอง ไม่มีผลให้นักศึกษามีความแตกต่างกันในเรื่องความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้การวิจัยยังพบว่า นักศึกษาทุกกลุ่มสถาบันการศึกษามองบทบาทหนังสือพิมพ์ในการเผยแพร่โฆษณาสินค้าอยู่ในระดับมากที่สุด และบทบาทการสร้างเสริมคุณธรรมและจริยธรรมแก่ผู้อ่านน้อยที่สุด และต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่าหนังสือพิมพ์มีบทบาทในการพัฒนาสังคมโดยทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับการเปิดรับสื่อมวลชนทั่วไป (ทุกสื่อรวมกัน) และการเปิดรับสื่อหนังสือพิมพ์ของนักศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับความคิดเห็นต่อบทบาทในการพัฒนาสังคมของหนังสือพิมพ์
Other Abstract: The main objective of this research was to study journalism students’ mass media exposure and their opinions on Thai newspaper’s social development roles. It aimed to determine the relationship between mass media exposure and opinion scores. 191 Respondents were purposively selected from third and fourth year journalism students of Thammasart, Chulalongkorn, Bangkok, Dhurakijbandit Universities and Dusit Teacher’s college. The results of the study indicated that journalism students’ overall mass media exposure (newspaper, magazine, radio, television and cable TV exponse) differed according to year of student’s residing areas, universities and birthplaces were main factors affecting the frequency of newspaper reading. Student’s opinions on newspapers’ roles in eight out of 24 aspects were statistically significant according to their universities. These roles were as follows : - promoting a better social value; - up keeping the merit of culture ; - performing a free market of public opinions ; - moralizing juvenile attitudes and behaviors ; - conserving and promoting Thai arts and traditions; - promoting better-health for the public ; - elevating living quality and social morality, and - advertising goods However, years of study, sexes, birthplaces, residing areas, and parent’s occupations did not evidently make student’s opinions differ. Moreover, most journalism students viewed that newspaper put more emphasis on advertising role and least emphasis on promoting social quality and morality. In general, students agreed that the social development role of Thai newspapers was moderate. Finally, the study showed that students’ mass media exposure and their opinions on social development role of Thai newspapers did not correlate statistically.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49092
ISBN: 9745817813
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanatee_pra_front.pdf7.34 MBAdobe PDFView/Open
Sanatee_pra_ch1.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open
Sanatee_pra_ch2.pdf6.24 MBAdobe PDFView/Open
Sanatee_pra_ch3.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open
Sanatee_pra_ch4.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open
Sanatee_pra_ch5.pdf9.41 MBAdobe PDFView/Open
Sanatee_pra_back.pdf11.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.