Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49107
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สวัสดิ์ชัย เกรียงไกรเพชร | - |
dc.contributor.author | วิชัย อาชวรังสรรค์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-06-12T14:50:37Z | - |
dc.date.available | 2016-06-12T14:50:37Z | - |
dc.date.issued | 2538 | - |
dc.identifier.isbn | 9746826465 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49107 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและจัดสร้างระบบตรวจสอบข้อมูลสนามสำหรับใช้งานร่วมกับเครื่องมือสำรวจสถานีรวม โดยได้ดำเนินการกำหนดระบบรหัสสนามเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ตรวจสอบข้อมูลสนาม และสามารถแสดงผลข้อมูลจากการรังวัดในรูปแบบกราฟิกทางจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดกระเป๋าหิ้วมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับเครื่องมือสำรวจสถานีรวมแทนการใช้สมุดสนามอิเล็กทรอนิกส์ ผลการวิจัยพบว่าระบบตรวจสอบข้อมูลสนามสำหรับเครื่องมือสำรวจสถานีรวมที่จัดสร้างขึ้นควรมีคุณสมบัติหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1. สามารถส่งถ่ายข้อมูลไปมาระหว่างอุปกรณ์บันทึกข้อมูล และเครื่องมือสำรวจสถานีรวม ผ่านสายสัญญาณ 2. สามารถแปลงรูปแบบข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานของโปรแกรมประมวลผลด้านงานสำรวจและวิศวกรรม ที่มีใช้ภายในหน่วยงาน 3. สามารถคำนวณค่าพิกัดฉากจากข้อมูลรังวัดและจัดเก็บแฟ้มข้อมูล 4. สามารถแสดงผลแบบกราฟิกบนจอภาพคอมพิวเตอร์ ในหลายลักษณะ ได้แก่ แสดงตำแหน่งจุดต่างๆ ที่ทำการรังวัด แสดงค่าระดับของจุดรังวัด แสดงเส้นชั้นความสูงและแสดงภาพในมุมมองเหมือนจริง ในส่วนของการกำหนดระบบรหัสสนาม สรุปได้ว่า การกำหนดรหัสสนามขึ้นมาสำหรับใช้งานนั้น ควรทำการกำหนดโดยคำนึงถึงเหตุผลหลักๆ 2 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. ระบบรหัสสนามที่กำหนดขึ้นนี้ต้องสอดคล้องกับรูปแบบการบันทึกข้อมูลของเครื่องมือสำรวจสถานีรวมที่นำมาใช้งาน 2. การกำหนดระบบรหัสสนามควรทำการกำหนดโดยอ้างอิงกับระบบรหัสสนามที่ใช้อยู่เดิมเป็นมาตรฐาน ทั้งนี้ไม่ควรกำหนดรหัสสนามขึ้นใหม่มากเกินไป จนทำให้เกิดความสับสนในระหว่างการใช้งาน จากการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเครื่องคอมพิวแตอร์ชนิดกระเป๋าหิ้วมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับเครื่องมือสำรวจสถานีรวมแทนการใช้สมุดสนามอิเล็กทรอนิกส์ พบว่ามีความเป็นไปได้ แต่ทั้งนี้ จะต้องคำนึงถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ คือ ปัญหาเนื่องจากระบบจ่ายไฟฟ้าสำรองของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดกระเป๋าหิ้วสามารถสำรองปริมาณไฟฟ้าสำหรับใช้งานได้ในช่วงระยะเวลาที่จำกัด และปัญหาด้านความแข็งแรงทนทานของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดกระเป๋าหิ้วต่อสภาพการใช้ปฏิบัติงาน | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research has the objective to study and to develop a field data verification system to work together with total stations, by setting up the standardization of the field code system and developing computer programs to verify field data, which present graphic display for those obtained field data on monitors. Furthermore, this research examines the feasibility study of employing notebook computers to work with the field data verification equipments, substituting for electronic field books. The results of this research indicate that the appropriated field data verification system for total stations requires four important properties : 1.) The ability to transfer data between data recorders and computers via communication cables. 2.) The ability to convert data into the standard formats of the existing computer aided surveying and engineering softwares in each organization. 3.) The ability to compute grid coordinates, which are obtained from field data, and thus be saved on disks. 4.) The ability to present the results using graphic display in various formats including field data positions, spot heights, contour lines and perspective views. It can be concluded that to set up a field data system for a certain task requires two main aspects : 1.) The field code system have to serve the data recording format of total stations. 2. ) It is necessary to set up a field code system according to the existing standard field code system, but the number of field codes should not be large so that it would be confused easily. From the feasibility study, it is possible to employ notebook computers to work with total stations. However, it is noteworthy to be aware of the problems related to the power supply of notebook computers which enable to supply only for a short period of time. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การรังวัด | en_US |
dc.subject | การสำรวจ -- เครื่องมือและอุปกรณ์ | en_US |
dc.title | ระบบตรวจสอบข้อมูลสนามสำหรับเครื่องมือสำรวจสถานีรวม | - |
dc.title.alternative | Field data verification for total station | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสำรวจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Swatchai.K@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wichai_ar_front.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_ar_ch1.pdf | 823.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_ar_ch2.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_ar_ch3.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_ar_ch4.pdf | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_ar_ch5.pdf | 2.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_ar_ch6.pdf | 859.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_ar_ch7.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_ar_back.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.