Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49126
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิทยา สุจริตธนารักษ์-
dc.contributor.authorสันติ ทางธนกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-12T23:46:17Z-
dc.date.available2016-06-12T23:46:17Z-
dc.date.issued2531-
dc.identifier.isbn9745692891-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49126-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาที่จะพยายามแสวงหาลักษณะที่คล้ายกันหรือลักษณะในการจัดตั้งรัฐบาลผสม และการสิ้นสุดของรัฐบาลผสมในการเมืองไทย โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ยุคเหตุการณ์ 13 ช่วงรัฐบาล รวมทั้งการพิจารณาถึงข้อแตกต่างที่เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ ซึ่งในการจัดตั้งรัฐบาลผสมในแต่ละช่วงรัฐบาลนั้น เป็นที่แน่นอนว่าจะมีอาจหลีกเลี่ยงรูปแบบของสภาวะการเจรจาต่อรองในระหว่างพรรคการเมืองต่าง ๆ กับพรรคการเมืองเสียงข้างมาก หรือกับผู้นำรัฐบาลที่ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่มักเป็นบุคคลในฝ่ายทหาร หรือมีฐานการสนับสนุนที่มิได้มาจาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัจจัย 3 ประการ ที่จำเป็นต้องเกื้อหนุนและเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน คือ จำนวนคะแนนเสียงที่แต้ละพรรคได้รับจากผลการเลือกตั้ง ข้อจำกัดแห่งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่แต่ละพรรคได้รับ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และระดับของความแตกต่างระหว่างพรรคการเมืองต่าง ๆ ทั้งในด้านของความขัดแย้ง หรือการประนีประนอมระหว่างพรรคการเมืองเสียงข้างมาก กับพรรคการเมืองอื่น ๆ โดยในปัจจุบัน มีระดับของความมากน้อยต่างกันตามสภาพ เหตุการณ์ทางการเมือง นอกจากนี้ ปัจจัยจากผู้นำรัฐบาล และอิทธิพลจากภายนอกโดยเฉพาะคณะทหารมีส่วนอย่างสำคัญต่อการจัดตั้งรัฐบาลผสมในการเมืองไทย และรูปรัฐบาลผสมที่ก่อกำเนิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นรูปรัฐบาลผสมแบบมากพรรคที่มีคะแนนเสียงท่วมท้นที่มีผลต่อความยั้งยืนของรัฐบาลในอนาคต สำหรับในด้านความยั่งยืนของรัฐบาลผสมนั้น จากผลการศึกษาพบว่าเกิดขึ้นจากปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระ 4 ประการ คือ ความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองและสมาชิกพรรคการเมืองที่เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสม อันเป็นความขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบาย และความขัดแย้งในด้านผลประโยชน์ อิทธิพลของกองทัพ ผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคม ที่มีความสำคัญกับความสามารถของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา และบทบาทของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งใน 4 ปัจจัยดังกล่าวปัจจัยประการแรกและประการที่สองเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด โดยเฉพาะปัจจัยประการที่สองมีผลกระทบต่อรัฐบาลในยุคของประชาธิปไตยเต็มรูปแบบเป็นอย่างมากen_US
dc.description.abstractalternativeThe thesis tries to find out common denominators of cealitien governments in Thailand which encompasses 4 periods of 13 coalition governments. It ales points out some differences that come out of each coalition. To firm a coalition, it needs negotiation among political parties, or among nominated prime minister and parties. Basically, forming a coalition will have to deal with 3 factors : (1) number of cotes that each party gets during the election, (2) conditions of benefit each side or party will get especially the quota of ministerial posts. And (3) levels of differences among parties which can be in terms of party conflict or the ability to strike a compromise among parties. The intensity of these three factors varies from period to period depending on political situations. Fesices, one has to consider external factor such as pressure from the military. In general, surviving coalition is typically a government of major parties with overwhelming voices in the parliament. Specifically on the longevity of the coalition, it depends on 4 different factors, namely (1) conflict among parties and members of parties in coalition the bssio of which are conflicts on policy and personal interest, (2) pressure from the armed force, (3) repercussion from political, economic and social phenomena which act directly on the capability of the coalition, and (4) the role of the opposition. Of these four factors. The first and the second are cost significant.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectรัฐบาลen_US
dc.subjectรัฐบาลผสม -- ไทยen_US
dc.subjectความขัดแย้งทางการเมืองen_US
dc.subjectไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2516-en_US
dc.subjectไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2519-en_US
dc.subjectไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2490-2531en_US
dc.titleรัฐบาลผสมในการเมืองไทยen_US
dc.title.alternativeCoalition Governments in Thai Politicsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการปกครองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWithaya.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Santi_ta_front.pdf9.5 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ta_ch1.pdf10.26 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ta_ch2.pdf9.65 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ta_ch3.pdf25.72 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ta_ch4.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ta_back.pdf10.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.