Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49142
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิณดิษฐ์ ละออปักษิณ | |
dc.contributor.author | เกศินี เพ็ชรรุ่ง | |
dc.date.accessioned | 2016-06-27T06:20:12Z | |
dc.date.available | 2016-06-27T06:20:12Z | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49142 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง โดยพิจารณาจากการเปรียบเทียบมโนทัศน์และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงกับนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และเปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จำนวน 80 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test) การวิจัยได้ผลดังนี้ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ประกอบไปด้วยเอกสาร 3 ส่วน คือ 1. คู่มือการใช้ชุดกิจกรรม ที่อธิบายจุดประสงค์ วิธีการใช้ บทบาทของครูและบทบาทของนักเรียนในแต่ละกิจกรรม 2. แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 13 แผน และ 3. กิจกรรม จำนวน 13 กิจกรรม โดยเนื้อหาในแต่ละกิจกรรมจะเกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่หลากหลายและปัญหาในบริบทชีวิตจริง การปฏิบัติกิจกรรมจะเน้นให้นักเรียนได้แสดงความคิดสร้างสรรค์โดยสร้างแบบจำลองเพื่อสร้างมโนทัศน์ หาวิธีการแก้ปัญหา และสร้างปัญหาใหม่ และเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียนและนักเรียนกับครู 2) นักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงมีมโนทัศน์และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were: 1) to develop learning activity package based on realistic mathematics education 2) to study the effects of using learning activity package based on realistic mathematics education by considering the mathematical concept and connection ability of students between groups learning by using the package and by conventional method, and to compare mathematical concept and connection ability of students before and after learning by using the package. The subjects were 80 ninth grade students in academic year 2013 of Banna “Nayokpittayakorn” School. There were 40 students in the experimental group and 40 students in the control group. The data collection instruments were mathematical concept tests and connection ability tests. The experimental materials were learning activity package based on realistic mathematics education and conventional lesson plans. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The results of this study were the following: 1) The learning activity package based on realistic mathematics education: surface area and volume, consists of 3 parts. 1. Handbook, which is the guide-line that has the objectives, user manual, teacher and students roles on each activity. 2. Lesson plans, which have 13 plans. 3. Activities, which have 13 activities. The content in each activity is concerning with various mathematics learning strands and contextual problems. During working on each activity, we emphasized on students to demonstrate their creative thinking by constructing models for getting concepts, finding the method to solve the problems, and designing new problems. We also emphasized on having interaction among students themselves and between students and teacher. 2) The mathematical concepts and connection abilities of students learning by using the package were higher than those of students learning by conventional method at a .05 level of significance, and moreover, students after learning through the package have the mathematical connection ability higher than before at a .05 level of significance. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1435 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน | en_US |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน | en_US |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- แผนการสอน | en_US |
dc.subject | Mathematics -- Study and teaching | en_US |
dc.subject | Mathematics -- Activity programs in education | en_US |
dc.subject | Mathematics -- Lesson planning | en_US |
dc.title | การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ | en_US |
dc.title.alternative | Development of learning activity package based on realistic mathematics education to enhance mathematical concept and connection ability | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การศึกษาคณิตศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | jinnadit.l@chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1435 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kesinee_ph.pdf | 3.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.