Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49144
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorขำคม พรประสิทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-06-29T08:42:36Z-
dc.date.available2016-06-29T08:42:36Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.otherศก 15 015814-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49144-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องกลองก้นยาวระเบียบวิธีการบรรเลงและการประสมวง ผลการวิจัยพบว่ากลองก้นยาวถือเป็นกลองที่มีความสำคัญที่สุดของชาวไทยเชื้อสายไทใหญ่ มีการเรียกชื่อกลอง ๒ ชื่อได้แก่กลองก้นยาวและกลองปูเจ่ ผลของการสืบค้นพบว่ากลองชนิดนี้ควรเรียกชื่อว่า “กลองก้นยาว” สำหรับชื่อ “ปูเจ่” พบที่จังหวัดเชียงใหม่ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเป็นชื่อที่ไม่ถูกต้องและมีที่มาอย่างไร ลักษณะทางกายภาพของกลองก้นยาวพบว่ามีความสูงตั้งแต่ ๑.๒ เมตรไปจนถึง ๓ เมตร วิธีการประสมวงประกอบด้วยกลองก้นยาว ๑ ใบ “มอง” หรือโหม่งมากกว่า ๓ ใบ โดยเสียงจะต้องห่างกัน ๔ – ๕ เสียง ระเบียบวิธีการบรรเลงวงกลองก้นยาวนิยมใช้โหม่งตีตั้งจังหวะก่อนเป็นส่วนใหญ่ กลองก้นยาวเป็นกลองที่ตีในงานบุญประเพณี ปอยส่างลอง ออกพรรษา ตีประกอบการแสดงฟ้อนนก ฟ้อนโต ฟ้อนมือ ฟ้อนดาบและตีในขบวนแห่ เสียงของกลองประกอบด้วยเสียง “กะ” “ปี้” “ยุบ” “เป้ง” หรือเสียง “เป้” หรือเสียง “เปิ้ง” หรือเสียง “เทิ่ง” หรือเสียง “เปิง” หรือเสียง “เป้ง” หรือเสียง “เพิ่ง” เสียง “ป๊ะ” “ตุ๊บ” หรือเสียง “ปุ๊บ” เสียง “ถึ่ง” หรือเสียง “ทึง” หรือ เสียง “อึ่ง” หรือเสียง “โฮง” กลองก้นยาวกับการฟ้อนนกกิ่งกะหล่ามีการแบ่งกระสวนทำนองขึ้นต้นให้มีความห่างในระยะเท่าๆกันมีการทอนกระสวนทำนองกลองเป็นชุดเรียกว่า “กลองปี่ยุบ” หรือ “เป้ยุบ” กลองก้นยาวประกอบการฟ้อนโตพบว่าทุกพื้นที่มีการตีกระสวนทำนองแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง มีการใช้เสียง “ตุ๊บ” ช่วงโตส่ายหัวและใช้เสียง “เปิ้ง” ช่วงม้วนตัวและขยับร่างกายตามจังหวะเป็นส่วนใหญ่ การตีกลองก้นยาวสำหรับการฟ้อนโตมีการใช้ “ลูกส้น” หรือการทุบกลองเข้ามาประกอบด้วย การตีกลองก้นยาวกับการฟ้อนดาบและฟ้อนมือ การขึ้นต้นจะมีกระสวนทำนองกลองแบบตั้งหลัก มีการตีลูกส้นหรือการทุบกลองในลักษณะ “การลักจังหวะ” มีการตีลูกส้นแบบ “ตรงจังหวะ” มีการเล่นหน้ากลองที่เรียกว่า “การยักหน้ากลอง” หรือการตีเสียง “ดิ๋ว ดิ้ว” กระสวนทำนองกลองก้น-ยาวตีประกอบการแห่ใช้กระสวนทำนองไม่ซับซ้อนในลักษณะลงตัวมีจำนวนห้องโน้ตเท่า ๆ กัน บรรเลงซํ้ากัน มีการทอนกระสวนทำนอง มีลักษณะการตีในรูปแบบ “การลักจังหวะ” ไปตลอดชุดทำนองและมีการตีสำนวนปิดท้ายชุดทำนอง อัตราความเร็วประกอบการฟ้อนนกกิ่งกะหล่าจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะตีแนวช้าแต่ถ้าฟ้อนโตจะตีแนวเร็ว ตรงข้ามกับชาวไทใหญ่แท้ ๆ ที่ตีประกอบฟ้อนนกแนวเร็วและตีประกอบฟ้อนโตแนวช้า สำหรับเชียงใหม่ในทุก ๆ การแสดงจะใช้แนวเร็วทั้งหมด แนวโน้มการคงอยู่ของกลองก้นยาวแม้ว่าจะมีแนวโน้มมีผู้ตีน้อยลงเนื่องด้วยความเจริญทางเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทกับวิถีชีวิตชุมชน ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวัฒนธรรม ช่วยกันทำการอนุรักษ์และพยายามสืบทอดต่อเยาวชนอย่างต่อเนื่อง พบได้จากการออกเก็บข้อมูลภาคสนามมีนักเรียนจำนวนมากเข้าร่วมกิจกรรมและมีความสามารถตีกลองก้นยาวและแสดงฟ้อนนก ฟ้อนโต ฟ้อนดาบและร่วมขบวนแห่ในงานประเพณีของชุมชนได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe research examinies a kind of drums called Klong Kon Yao, which is the most essential drum of the Tai people in northern Thailand. Two names are designated to this drum: (1) Klong Kon Yao and (2) Klong Puje. The reearch findings affirm that this drum should be named Klong Kon Yao whereas the name Puje is used only in Chiangmai area. The reason and the history of the naming Puje is still unable to be determined. The drum is found to be from 1.2 meters to 3 meters in height. The drums are played together in a drum ensemble, which is comprised of one drum and three flat gongs. The interval of each gong is fourth or fifth apart. The klong kon yao ensemble is found to accompany auspicious festivals such as Poi Sang Long festival, Ending of the Lent festival. It is also used to accompany several kinds of dances such as Fon Nok, Fon To, Fon Mue, and Fon Dab. According to fieldwork among drummers in northern Thailand, the onomatopoeic terms for drum soundings include seventeen items: ga, pii, yoop, peng, pay, peung, teung, paeng, peeng, paueng, pa, toop, poop, teung, tuung, aung, and hong. When the drum ensemble accompanies Fon Nok (Bird Dance), the rhythmic pattern at the introduction is designed to be equal in parts, which can be identified as klong pi yoop or pay yoop. When the drum ensemble accompanies Fon To, it is found that each area has its own variation and version of drumming patterns. The toop item is used the dancer shakes his head and the peung item is used when the dancer rolls his body on the floor. The special technique for Klong Kon Yao is called look son when the drummer smashes on the drum head with the bottom side of his right palm. When the drum ensemble accompanies Fon Dab (Sword Dance) and Fon Meu (Hand Dance), the drummer sets up a rhythmic pattern. The look song is used as syncopation and it is sometimes used on downbeat. The other technique include yak na klong and dew dew techniques. When the drum ensemble accompanies the procession, the pattern is short and repetitive. The number of beats in each bar is equally distributed. Syncopation is found in the procession ensemble. The drum ensemble in Mae Hongson province is performed to accompany Fon Nok in slow tempo than the one accompanying Fon To. In contrary, the Tai people in Chiengmai usually perform in fast tempo for all dances. The continuity of klong kon yao ensembles remains to be fading due to the invasion of new technology which has great impact on the Tai’s way of life, although there is an attempt from education institution and government agents to help conserve the drum culture. The fieldwork reveals that the young generation is eager to participate in cultural activities to show off their talents in drumming, accompanying Fon Nok and Fon to, and securing their heritage.en_US
dc.description.sponsorshipกองทุนรัชดาภิเษกสมโภชen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกลองก้นยาวen_US
dc.subjectเครื่องดนตรีไทยen_US
dc.titleกลองก้นยาว : ระเบียบวิธีการบรรเลงและการประสมวง : รายงานวิจัยen_US
dc.title.alternativeKlong Konyao : performance methods and ensemble practicesen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.email.authorKumkom.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Fine Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kumkom_po_res.pdf12.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.