Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49197
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนิต ธงทอง-
dc.contributor.authorสิทธิพงษ์ พรหมประสิทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-07-12T08:58:35Z-
dc.date.available2016-07-12T08:58:35Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49197-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractจากนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ของรัฐบาล งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาการเปลี่ยนค่าจ้างแรงงานก่อสร้าง 2) เพื่อประมาณการ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าแรงทางตรง 3) เพื่อศึกษาผลกระทบคุณภาพชีวิตและค่าตอบแทนของแรงงานก่อสร้าง 4) เพื่อศึกษาผลกระทบด้านการดำเนินงานก่อสร้างจากนโยบายปรับขึ้นค่าแรงงานในช่วง พ.ศ.2555 ถึง 2556 ตามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้าง การวิจัยเรื่องนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประเภทสามเส้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่เป็นทางการ และแบบจำลองการปรับค่าแรง ขั้นตอนการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ทำแบบคู่ขนานในช่วงระยะเวลาเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยบุคลากรในงานก่อสร้าง 3 ฝ่ายคือ ผู้รับเหมา ผู้ควบคุมงาน และเจ้าของโครงการ สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามชุดที่ 1 รวมจำนวนทั้งหมด 41คน สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามชุดที่ 2 จำนวน 71 คน และเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่เป็นทางการ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ได้แก่ t-test dependent t-test one sample และสหสัมพันธ์ Phi สังเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกันด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา Content Analysis ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) อัตราค่าจ้างแรงงานก่อสร้าง มีการปรับอัตราค่าแรงสูงขึ้นตามกันทุกตำแหน่ง 2) ผลกระทบด้านต้นทุนพบว่า ต้นทุนค่าแรงมีอัตราที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผลการวิเคราะห์ต้นทุนด้วยแบบจำลองปรับราคาด้วยกรณีศึกษา มีค่าที่ต่ำกว่าความต้องการของผู้รับเหมาก่อสร้าง 3) ในภาพรวมแรงงานมีระดับคุณภาพที่ดีขึ้นเล็กน้อย อันเนื่องมาจากผลของรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันต้องประสบกับค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้นตามอัตราค่าแรง แรงงานเริ่มมีภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน สุขภาพกายและสุขภาพจิตของแรงงานดีขึ้นจากความพึงพอใจกับรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น ผลกระทบการดำเนินงานโครงการก่อสร้าง แบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ (1) ช่วงก่อนเริ่มโครงการ ผู้รับเหมาก่อสร้าง มีความระมัดระวังในเรื่องต้นทุนและค่าใช้จ่าย มีการเผื่อค่าความผันผวนไว้สูงกว่าปกติ (2) ช่วงระหว่างดำเนินโครงการก่อสร้าง เกิดผลกระทบกับกระแสเงินสด จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ลดค่าใช้จ่ายด้วยการงดการทำงานล่วงเวลา ทำให้แรงงานขาดรายได้ (3) ช่วงส่งมอบงาน งานช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ การแก้ไขงานที่บกพร่องมีความล่าช้าไม่ผ่านการตรวจรับงาน และส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาในสัญญาen_US
dc.description.abstractalternativeDue to the adjustment policy of 300 baht minimum wages, the objectives of this research are (1) to study the changes in wage rate in construction (2) to estimate impacts on the direct cost (3) to study impacts on life quality and wage of labors and (4) to study impacts on the management in construction projects according to opinions of staff members related to construction projects. A mixed research method was applied in this research. The questionnaire, informal in-depth interview and simulation model were conducted as research tools. Questionnaires and interviews were mutually implemented to collect the data at the same period. Samples consisted of 3 groups of staff members related to the construction projects: the contractors, the inspectors and owners. 41 staff members were questioned for the first set of questionnaire, 71 staff members were questioned for the second set of questionnaire and 9 experts were also interviewed deeply and informally. Descriptive Statistics was executed with Means and Percentage, to carry out the data analysis. T-Test, Dependent T-Test, One Sample T-Test and also Phi were executed to synthesize the quantitative and qualitative data. The results showed that (1) Wage rate was increased at different proportions on each position of skill labor. (2) Construction costs derived from simulation model were increased but were lower than the expectation of contractors. (3) Labors’ quality of life was increased as a result from the higher income but on the other hand, labors encountered with the increasing of cost of living and the debt. The impacts on the construction management and administration are: (1) at pre-construction phase, contractors strongly concentrated on their cost and expense, (2) during construction, contractors cash flow was carefully managed, and (3) at handing-over phase, low quality of work and delay of the project were the major issues.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1475-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectค่าจ้างกับแรงงานen_US
dc.subjectนโยบายแรงงานen_US
dc.subjectคนงานก่อสร้างen_US
dc.subjectWages and labor productivityen_US
dc.subjectLabor policyen_US
dc.subjectConstruction workersen_US
dc.titleการศึกษาผลกระทบจากนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ต่องานก่อสร้างen_US
dc.title.alternativeA study of an impact from the adjustment policy of 300 baht minimum wages to the construction worken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTanit.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1475-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sitthiphong_pr.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.