Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49217
Title: การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ เจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษและประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง : กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม : รายงานการวิจัย
Other Titles: A study of learning styles, attitude towards english learning, achieviement and learning experiences of high achieving students : a case study of tenth graders of Chulalongkorn University Demonstration school
Authors: พิสันธนีย์ ศรีดุรงฤทธิ์
Email: ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ภาษาอังกฤษ -- กิจกรรมการเรียนการสอน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม)
Issue Date: 2557
Publisher: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจรูปแบบการเรียนรู้, เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษกับผู้สอนที่แตกต่างกัน 2) เปรียบเทียบรูปแบบการเรียนรู้ ,เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ระหว่างนักเรียนที่มีประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบ คือ (1) การเรียนภาษาอังกฤษกับอาจารย์ชาวไทย (2) การเรียนภาษาอังกฤษกับอาจารย์เจ้าของภาษา (3) การเรียนภาษาอังกฤษกับอาจารย์เจ้าของภาษาและย้ายกลับมาเรียนกับอาจารย์ไทย ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 36 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการเรียนรู้ที่นักเรียนส่วนใหญ่นำไปใช้ในการเรียนมากที่สุดสามอันดับแรก คือ รูปแบบการเรียนรู้แบบมีความสามารถในการคาดคะเน วางแผนแบบสร้างสรรค์ และคิดแบบนามธรรม (Intuitive) (M=21.25, SD = 3.78) รองลงมา คือ สามารถตัดสินใจอย่างรวดเร็วเมื่อได้รับข้อมูล (Closure-oriented) (M=20.28,SD = 5.32) อันดับสาม คือ สามารถมองภาพรวม เดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท (Global/Holistic) (M=19.58,SD = 4.21) เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ความอดทนต่อภาวะกำกวม (Ambiguity) (M=39.00,SD=7.78) รองลงมา คือ ความกล้าเสี่ยง (Risk-Taking) (M=37.34,SD=8.08) อันดับสาม คือ การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น (Ego Permeability) (M=35.71,SD=9.87) และผลคะแนน รายวิชาภาษาอังกฤษหลัก ซึ่งพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย คิดเป็น 88.50 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน 2) นักเรียนที่มีประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบ มีรูปแบบการเรียนรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = .297, Sig. = 0.745) เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = .766, Sig. = 0.468) และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหลักไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = .368, Sig. = 0.695)
Other Abstract: The purpose of this study were to 1) survey learning styles , attitude towards English learning and achievement of student , who studied in different learning experiences. 2) compare learning styles , attitude towards English learning and achievement of student , who studied in different learning experiences. The participants were 36 tenth graders of Chulalongkorn University Demonstration School. The research findings were as follows : 1) The top there of mean score in learning styles were Intuitive (M=21.25, SD = 3.78) , Closure-oriented , (M=20.28,SD = 5.32) and Global/Holistic (M=19.58,SD = 4.21) respectively. The top there of mean score in attitude towards English learning were Ambiguity (M=39.00,SD=7.78) ,Risk-Taking) (M=37.34, SD=8.08) and Ego Permeability (M=35.71,SD=9.87) respectively. Mean score of student in English was 88.50. 2) There were no significant differences at .05 level on learning styles (F = .297, Sig. = 0.745) , attitude towards English learning (F = .766, Sig. = 0.468) and English mean score (F = .368, Sig. = 0.695) under different learning experiences.
Discipline Code: 0804
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49217
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1391
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1391
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pisantanee_sr.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.