Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49576
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทริกา ชันซื่อ-
dc.contributor.authorขวัญตา ชยาภัม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-08-31T08:04:58Z-
dc.date.available2016-08-31T08:04:58Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49576-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการใช้อัลโลพูรินอล และสารสกัดหญ้าหนวดแมว ต่อค่าโลหิตวิทยาและค่าองค์ประกอบทางเคมีของปัสสาวะ รวมถึงการประเมินขนาดของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะในเต่าดาวอินเดีย โดยแบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่พบนิ่วและได้รับอัลโลพูรินอล (CA) กลุ่มที่พบนิ่วและได้รับสารสกัดหญ้าหนวดแมว (CO) กลุ่มที่ไม่พบนิ่วและได้รับอัลโลพูรินอล (NA) และ กลุ่มที่ไม่พบนิ่วและได้รับสารสกัดหญ้าหนวดแมว (NO) โดยการให้อัลโลพูรินอล ขนาด 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสารสกัดหญ้าหนวดแมว ขนาด 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ด้วยวิธีการป้อนให้กินผ่านทางการสอดท่อป้อนสาร วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 18 วัน ในเต่า 38 ตัว ผลการทดลองพบว่าอัลโลพูรินอลมีผลในการลดระดับกรดยูริกทั้งในพลาสมาและปัสสาวะลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในขณะที่สารสกัดหญ้าหนวดแมวมีผลในการลดระดับโพแทสเซียมในพลาสมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.05) ส่วนผลการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบของนิ่วในเชิงปริมาณ พบว่าส่วนใหญ่เป็นนิ่วที่มีองค์ประกอบเป็นเกลือของกรดยูริกบริสุทธิ์ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของโปรตีนเป็นหลัก ส่วนการถ่ายภาพรังสีมีประโยชน์ในการตรวจคัดกรอง สำหรับการวินิจฉัยในเบื้องต้นเท่านั้น แต่ไม่สามารถใช้ในการประเมินขนาดของนิ่วได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เนื่องจาก มีปัจจัยเรื่ององค์ประกอบ คุณสมบัติของนิ่ว และการสะสมของแร่ธาตุเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น อัลโลพูรินอลและสารสกัดหญ้าหนวดแมว จึงเป็นสารที่มีผลต่อค่าโลหิตวิทยาและองค์ประกอบทางเคมีของปัสสาวะในเต่าดาวอินเดีย โดยสามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการนำไปประยุกต์ใช้ในสำหรับงานวิจัยทางคลินิกสัตวแพทย์ขั้นสูงต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study and compare the effects of allopurinol and Orthosiphon aristatus extract on hematological values and chemical compositions in urine and the changing of the urinary calculi size of Geochelone elegans (Indian star tortoise). The experiments were divided into 4 groups, as followed, calculi/allopurinol (CA), calculi/ O. aristatus extract (CO), no calculi/allopurinol (NA) and no calculi/ O. aristatus extract (NO). Allopurinol (50 mg/kg) and O. aristatus extract (200 mg/kg) were given per os via feeding tube once daily for 18 days to 38 individuals of tortoises. Our results indicated that allopurinol significantly decreased the level of uric acid concentration both in plasma and urine while the O. aristatus extract significantly reduced the level of potassium concentration in plasma p < 0.05). The urolith quantitative analysis was performed and results indicated that the major type of calculi was the pure salt of uric acid which was related to protein metabolism. However, the radiograph technique (film x-ray) could only be used for basic diagnosis but could not determine the size of urinary calculi due to the effects of the calculi properties and the mineralization. In conclusion, allopurinol and O. aristatus extract affected the hematological values and chemical compositions in urine. This study suggested that the information obtained from the basic research could be applied in advanced veterinary clinical research.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1510-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหญ้าหนวดแมวen_US
dc.subjectอัลโลพูรินอลen_US
dc.subjectนิ่วกระเพาะปัสสาวะen_US
dc.subjectOrthosiphon Aristatus (Blume) Miq.en_US
dc.subjectAllopurinolen_US
dc.subjectBladder -- Calculien_US
dc.titleการเปรียบเทียบผลของการใช้อัลโลพูรินอล (ALLOPURINOL) และสารสกัดหญ้าหนวดแมว [ORTHOSIPHON ARISTATUS (BLUME) MIQ.] ต่อค่าโลหิตวิทยาและค่าองค์ประกอบทางเคมีของปัสสาวะในเต่าดาวอินเดีย (GEOCHELONE ELEGANS)en_US
dc.title.alternativeComparison of the effects of Allopurinal and Orthosiphon Aristatus (Glume) MIQ. Extract on Hematological Values and Urine Chemical Compositions in Indian Star Tortoises (Geochelone Elegans)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์สัตวแพทย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornantarika.c@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1510-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kwanta_ch.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.