Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49580
Title: | Developing economic model for picture archiving and communication systems installment decision making |
Other Titles: | การพัฒนาแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการตัดสินใจติดตั้งระบบการจัดเก็บและรับส่งข้อมูลภาพทางการแพทย์ |
Authors: | Thirapich Chuachantra |
Advisors: | Puree Anantachoti Phantipa Sakthong |
Other author: | Chulalongkorn University. Pharmaceutical Science |
Advisor's Email: | Puree.A@Chula.ac.th Phantipa.S@chula.ac.th |
Subjects: | Medicine -- Data processing Medical informatics Information storage and retrieval systems -- Medicine Medical technology -- Investments Medical economics Investment analysis การแพทย์ -- การประมวลผลข้อมูล สารสนเทศทางการแพทย์ ระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ -- การแพทย์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ -- การลงทุน เศรษฐศาสตร์การแพทย์ การวิเคราะห์การลงทุน |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | A hospital needs cost-benefit evidence to support decision making to invest in high cost Picture Archiving and Communication System (PACS). However, not many hospitals are capable of conduct economic study. The first objective of the study was to develop economic cost models for installment of PACS, partial PACS and film-based system. The secondary objective was to analyze cost saving of installment of three systems by using data that represented large, medium, and small sized hospitals. The last objective was to measure break even point of PACS of three size hospitals. Cost-benefit analysis was used as a study framework for develop economic cost models. Cost items came from work process study, interviewing head of radiology department and radiology technician and literature review. To test the models, utilization rate and cost were gathered from previous studies, reports, price list, and statistics and other available published data. Present value was used to adjust time value of money. Differential cost analysis was applied to interpret result of model testing. Accumulated present value was used to indicate break even point. Sensitivity analysis was also conducted. From literature review and work process study, economic models, developed from provider’s perspective, were composed of direct cost and indirect cost items. The model assumed nine years PACS lifetime, three percent discount rate, five percent wage rate, five years replacement of PACS related hardware, and ten years replacement of other PACS and film-based items, two percent increase in film cost per year, and eight percent increase in service utilization rate. After testing the models, it was found that partial PACS was strongly not recommended in all hospital sizes. PACS showed no break even point for small size hospital, but worth investing for medium and large size hospitals. Implementing PACS would have saved 24.5 and 60.2 million baht for medium and large size hospitals, respectively. Break even point was recognized in 4th year for both medium and large size hospitals. Sensitivity analysis suggested that lowering initial cash flow in small size hospital by 30% would make PACS worth investment. Moreover, if service utilization rate remained unchanged, medium size hospital should not invest in PACS as there was no gain on investment in 10 year period. The economic cost model developed in this study was posted at http://goo.gl/ljubyO. Any hospitals that need cost-benefit evidence to support PACS investment can access and download freely for further use. |
Other Abstract: | การลงทุนสำหรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีต้นทุนสูง เช่น ระบบการจัดเก็บและรับส่งข้อมูลภาพ ทางการแพทย์แบบดิจิตอลนั้นโรงพยาบาลที่มีวางแผนจะติดตั้งระบบดังกล่าวควรจะต้องมีข้อมูลต้นทุนผลได้และความคุ้มค่าของโรงพยาบาลนั้นๆ สนับสนุนการตัดสินใจด้วย อย่างไรก็ตามพบว่าหลายๆ โรงพยาบาลยังไม่มีการศึกษาแบบจำลองทางด้านเศรษฐศาสตร์ของการลงทุนระบบนี้อย่างจริงจัง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อพัฒนาแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและต้นทุนที่สามารถประหยัดได้ของการได้มาของภาพถ่ายทางรังสี 3 ระบบ คือ ระบบการจัดเก็บและรับส่งข้อมูลภาพ ทางการแพทย์แบบดิจิตอล (PACS), ระบบการจัดเก็บและรับส่งข้อมูลภาพทางการแพทย์แบบไม่สมบูรณ์ร่วมกับระบบการใช้ฟิล์ม และระบบการใช้ฟิล์ม วัตถุประสงต่อมาเพื่อวิเคราะห์ต้นทุน และต้นทุนที่ประหยัดได้ของการติดตั้งระบบของการได้มาของภาพถ่ายทางรังสีทั้ง 3 ระบบโดยใช้ข้อมูลตัวแทนของโรงพยาบาลขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ และวัตถุประสงค์สุดท้ายเพื่อหาจุดคุ้มทุนของการติดตั้งระบบ PACS ในโรงพยาบาลทั้ง 3 ขนาด โดยมีการวิเคราะห์ต้นทุนผลได้เป็นกรอบการศึกษาในการพัฒนาแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์นี้ รายการต้นทุนต่างๆ ถูกรวบรวมและนำมาสร้างแบบจำลองโดยการศึกษาการทำงานในสถานที่จริงการสัมภาษณ์ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองนี้ โดยข้อมูลอัตราการใช้ทรัพยากร และต้นทุนของอุปกรณ์ของแต่ละระบบโดยรวบรวมจากงานวิจัยก่อนหน้า รายงานบัญชีต้นทุนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถิติต่างๆที่ได้เผยแพร่ไว้แล้วของหน่วยงานของรัฐ มูลค่าปัจจุบันถูกนำมาใช้ในการปรับค่าเงินตามเวลาที่เปลี่ยนไป หลังจากนั้นทำการแปลผลที่ได้จากแบบจำลองนี้โดยใช้การวิเคราะห์ต้นทุนส่วนต่าง และหาจุดเวลาคุ้มทุนของการลงทุนโดยใช้ค่าปัจจุบันสะสม การวิเคราะห์ความอ่อนไหวในการศึกษานี้ประกอบด้วยตัวแปร คือ เงินจัดซื้อระบบ PACS เริ่มต้น และ อัตราการใช้ทรัพยากร จากการทบทวนวรรณกรรมและศึกษาการทำงานในสถานที่จริงทำให้ได้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ ภายใต้มุมมองของผู้ให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนทางตรง และต้นทุนทางอ้อม แบบจำลองนี้ตั้งสมมติฐานช่วงระยะเวลาการประเมินระบบ PACS ไว้ที่ 9 ปี, อัตราคิดลด 3 %, อัตราค่าจ้างเพิ่มขึ้น 5 % ต่อปี, ราคาแผ่นฟิล์มเพิ่มขึ้น 2 % ต่อปี, อัตราการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้น 8 % ต่อปี และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะถูกเปลี่ยนเมื่อใช้งานครบ 5 ปี ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้ากำหนดให้มีอายุการใช้งาน 10 ปี หลังจากทดสอบแบบจำลองแล้ว พบว่าระบบ partial PACS นั้นไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนในโรงพยาบาลทุกขนาด นอกจากนี้ยังพบว่าไม่มีจุดคุ้มทุนในการลงทุนระบบ PACS ของโรงพยาบาลขนาดเล็ก ในทางตรงกันข้ามมีความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงพยาบาลขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งการติดตั้งระบบ PACS จะช่วยประหยัดต้นทุนได้ 24.5 และ 60.2 ล้านบาท สำหรับโรงพยาบาลขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ตามลำดับและมีจุดคุ้มทุนที่ปีลำดับที่ 4 ของการลงทุนของโรงพยาบาลทั้ง 2 ขนาด การวิเคราะห์ความอ่อนไหวแสดงให้เห็นว่า โรงพยาบาลขนาดเล็กจะคุ้มค่าต่อการลงทุนระบบ PACS ก็ต่อเมื่อลดเงินลงทุนเริ่มต้นลง 30% นอกจากนี้ถ้าโรงพยาบาลขนาดกลางมีอัตราการใช้ทรัพยากรไม่เปลี่ยนแปลงตลอดช่วงระยะเวลาการศึกษานี้ ก็จะไม่พบจุดคุ้มทุนในการลงทุนในระบบ PACS แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ที่ถูกพัฒนาแล้วของการศึกษานี้อยู่ที่เวปไซต์ http://goo.gl/ljubyO โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใดที่ต้องการข้อมูลต้นทุนผลได้ ความคุ้มค่า สนับสนุนการลงทุนในระบบ PACS สามารถเข้าไปดาวน์โหลดประยุกต์ใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2013 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Social and Administrative Pharmacy |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49580 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1514 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1514 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thirapich_ch.pdf | 2.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.