Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49643
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยพร ภู่ประเสริฐ-
dc.contributor.advisorพิสุทธิ์ เพียรมนกุล-
dc.contributor.authorลักษิกา กองวิเชียร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-10-17T14:30:20Z-
dc.date.available2016-10-17T14:30:20Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49643-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบไฮบริด ไฮโดรไซโคลนและการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดมาใช้ในการกำจัดกรดฮิวมิก ซึ่งเป็นตัวแทนของสีในน้ำดิบตามธรรมชาติ รวมทั้งศึกษาพารามิเตอร์ที่ส่งผลต่อความสามารถใน การดูดซับกรดฮิวมิกของถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดและการแยกถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดโดยใช้ ไฮโดรไซโคลน ผลการศึกษาพบว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อการดำเนินงานของระบบไฮบริดในงานวิจัยนี้ คือ ใช้ถ่านกัมมันต์ชนิด Filtrasorb200 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของถ่านกัมมันต์ 30x35 เมช ในการดูดซับกรดฮิวมิก ที่ค่าพีเอชของสารละลาย 5-8 และใช้ไฮโดรไซโคลนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทางออกด้านล่าง 9 มิลลิเมตร ในการแยกถ่าน กัมมันต์ชนิดเกล็ดออกจากระบบที่ความดันจ่ายเข้าไฮโดรไซโคลน 1 บาร์ เมื่อนำสภาวะที่เลือกดังกล่าวไปเดินระบบไฮบริดไฮโดรไซโคลนและการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดแบบไหลต่อเนื่อง (Continuous operating) พบว่า เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพของระบบในแง่ของการดูดซับกรดฮิวมิก ระบบสามารถกำจัดความเข้มข้นของกรดฮิวมิกในน้ำเสียสังเคราะห์ให้ลดลงได้ โดยที่อัตราการไหลของน้ำเสียสังเคราะห์ 1 ลิตรต่อนาที ต้องการอัตราการไหลตัวกลางดูดซับมากกว่า 1.5 กรัมต่อนาที ถึงจะบำบัดน้ำเสียให้ความเข้มข้นของกรดฮิวมิกเหลือน้อยกว่า 5 มิลลิกรัมต่อลิตรได้ และเมื่อพิจารณาประสิทธิภาพในแง่ของการแยกถ่านกัมมันต์ออกจากน้ำที่ผ่านการดูดซับแล้ว พบว่าไฮโดรไซโคลนมีประสิทธิภาพในการแยกถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดไม่สูงนัก เนื่องจากการแตกของถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดตลอดระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการ 6 ชั่วโมง ทำให้ขนาดของถ่าน กัมมันต์เล็กลง โดยประสิทธิภาพในการแยกถ่านกัมมันต์มีค่าประมาณร้อยละ 40-70 ดังนั้นจึงสรุปในขั้นต้นได้ว่า ระบบไฮบริดไฮโดรไซโคลนและการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดสามารถใช้ในการกำจัดกรดฮิวมิกออกจากน้ำดิบได้จริง แต่ควรจะทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแยกอนุภาคถ่านกัมมันต์ของไฮโดรไซโคลนen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this work was to study a hybrid process consisted of adsorption and hydrocyclone for treating humic acid which represented color of natural raw water. This work also studied various parameters which affected the adsorption capacity and the separation performance of hydrocyclone. The results showed that the optimum operating condition for this hybrid process was a using of Filtrasorb 200 GACs with a particle size of 30x35 mesh at pH of 5-8 for humic acid removal. Moreover, in order to separate the applied GACs completely, a 50 mm diameter hydrocyclone with a 9 mm diameter apex was required for GACs separation at inlet pressure of 1 bar. Subsequently, the selected condition was further applied in the continuous operation. In term of adsorption, the result showed that the concentration of humic acid could be decreased by this system. At wastewater flow rate of 1 L/min, the system required adsorbent flow rate of more than 1.5 g/min to eliminate HA concentration of less than 5 mg/l. In term of separation, the results indicated that the separation efficiency using the hydrocyclone to separate GACs from treated water was approximately 40-70 %. The low efficiency was related to the reduction of adsorbent size along the operating time 6 hr. Hence, it could be concluded that the hybrid system could be possibly operated for removing humic acid from raw water in water supply. However, the further study on hydrocyclone separation should be considered in order to increase the the separation efficiency.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1540-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคาร์บอนกัมมันต์en_US
dc.subjectกรดฮิวมิคen_US
dc.subjectน้ำประปาen_US
dc.subjectCarbon, Activateden_US
dc.subjectHumic Aciden_US
dc.titleการพัฒนากระบวนการไฮบริดไฮโดรไซโคลนและการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดเพื่อใช้ในการบำบัดสีในกระบวนการผลิตน้ำประปาen_US
dc.title.alternativeDevelopment of hybrid process: hydrocyclone and gac adsorption, for color removal in tap water treatment processen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorfencpp@eng.chula.ac.th-
dc.email.advisorpisut114@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1540-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
lucksiga_ko.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.