Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49742
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริลักษณ์ พุ่มประดับ-
dc.contributor.advisorประพันธ์ คูชลธารา-
dc.contributor.authorอัญรัตน์ กันดอก-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-11-10T03:14:12Z-
dc.date.available2016-11-10T03:14:12Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49742-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาคาร์บอไนเซชันกะลาปาล์มน้ำมันในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งภายใต้ความดันบรรยากาศ โดยทำการศึกษาผลของปัจจัยดำเนินการ ได้แก่ อัตราการให้ความร้อน อุณหภูมิ อัตราส่วนโดยน้ำหนักของแกมมาอะลูมินาต่อกะลาปาล์ม และการนำแกมมาอะลูมินากลับมาใช้ใหม่ พบว่า คาร์บอไนเซชันกะลาปาล์มที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส อัตราการให้ความร้อน 10 องศาเซลเซียสต่อนาที อัตราส่วนโดยน้ำหนักของแกมมาอะลูมินาต่อกะลาปาล์มเท่ากับ 1 ให้ร้อยละผลได้ของถ่านชาร์และร้อยละผลได้ของคาร์บอนสูงสุดเท่ากับร้อยละ 41.40 และ 81.97 ตามลำดับ คิดเป็นค่าการนำกลับคาร์บอนที่สูญเสียไปกับการปลดปล่อยสารระเหยระหว่างคาร์บอไนเซชันกะลาปาล์มร้อยละ 21.93 เนื่องจากการใช้แกมมาอะลูมินาเป็นวัสดุเบดร่วมในคาร์บอไนเซชันสนับสนุนการเกิดปฏิกิริยาการรีพอลิเมอไรเซชัน และการเกิดโค้กของสารระเหยระหว่างการการสลายตัวทางความร้อนของกะลาปาล์ม นอกจากนี้ศึกษาการนำวัสดุเบดกลับมาใช้ใหม่ พบว่าแกมมาอะลูมินาสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เมื่อผ่านการเผา ภายใต้บรรยากาศของอากาศที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ให้ร้อยละผลได้ของถ่านชาร์และร้อยละผลได้ของคาร์บอน เท่ากับ 41.04 และ 80.69 ตามลำดับ ซึ่งให้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการใช้แกมมาอะลูมินาก่อนใช้งาน จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าถ่านชาร์และโค้กบนพื้นผิวของแกมมาอะลูมินาสามารถนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานร่วมกับเชื้อเพลิงอื่นได้ โดยมีพลังงานความร้อน เท่ากับ 7,089.47 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมถ่านชาร์ และ 435.51 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมอะลูมินาตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeIn this work, the carbonization of oil palm shell (OPS) in fixed-bed reactor under atmosphere pressure was studied. The process parameters such as heating rate, temperature, weight ratio of γ -alumina (Al₂O₃) to OPS and regeneration of γ -Al₂O₃ were investigated. The char yield and carbon yield of the carbonization of OPS at 400oC, heating rate of 10oC/min and the weight of ratio of γ -Al₂O₃ to OPS of 1:1 were 41.40 wt.% and 81.97 wt.%, respectively. This result was referred that the carbonization of OPS with γ -Al₂O₃ could recover 21.93 %wt of carbon element because the use of γ -Al₂O₃ as a bed material in a carbonization could promote the re-polymerization and coke formation during the thermal degradation of OPS. The regeneration of bed material was also studied. It was found that the use of regenerated γ -Al₂O₃ at 800oC for 1 hour under air resulted the char yield and carbon yield of 41.04 wt.% and 80.69 wt.%, respectively. Accordingly, the efficiency of γ -Al₂O₃ before and after regeneration was comparable. From this result, it can be concluded that char and coke on the surface of γ -Al₂O₃ can be used as an energy source with other fuels. The heating value of char and coke were about 7,089.47 kcal/kg char and 435.51 kcal/kg Al₂O₃, respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1599-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคาร์บอไนเซชันen_US
dc.subjectปาล์มน้ำมันen_US
dc.subjectCarbonizationen_US
dc.subjectOil palmen_US
dc.titleผลของแกมมาอะลูมินาต่อคาร์บอไนเซชันกะลาปาล์มน้ำมันen_US
dc.title.alternativeEffects of γ-Al₂O₃ on carbonization of oil palm shellen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเคมีเทคนิคen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpsirilux@sc.chula.ac.th-
dc.email.advisorprapank@sc.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1599-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
unyarat_ka.pdf6.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.