Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49764
Title: ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกรุนแรงในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อไวรัสเดงก
Other Titles: The risk factors influencing severity in pediatric dengue infection
Authors: ฉันท์สุดา พงศ์พันธุ์ผู้ภักดี
Advisors: อุษา ทิสยากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก -- ปัจจัยเสี่ยง
ไวรัสเดงกี
เด็ก -- โรค
Hemorrhagic fever
Hemorrhagic fever -- Risk factors
Dengue viruses
Children -- Diseases
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์-เพื่อศึกษาปัจจัยที่เสี่ยงที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หลังจากที่ติดเชื้อไวรัสเดงกี อันได้แก่ ปัจจัยด้านผู้ป่วย (เพศ, กลุ่มอายุ, ภาวะทางโภชนาการ) ปัจจัยด้านไวรัส (ซีโรทัยป์ของไวรัสเดงกี, การติดเชื้อแบบปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ และการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยา (ปริมาณ D-Dimer) ซึ่งอาจนำไปสู่การพยากรณ์ความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสแดงกีได้ รูปแบบการวิจัย-การวิจัยเชิงวิเคราะห์ไปข้างหน้า สถานที่ศึกษา-หอผู้ป่วนแผนกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประชากร- ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ที่รับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับการวินิจฉัยทางคลินิกและผลทางห้องปฏิบัติการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสเดงกี ตั้งแต่ตุลาคม 2547 ถึง กันยายน 2549 วิธีการศึกษา-ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาจะได้รับการซักประวัติข้อมูลพื้นฐาน ชั่งน้ำหนักและเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจหาระดับแอนติบอดี แยกซีโรทัยป์ ตรวจระดับโปรตีน D-Dimer และบันทึกการวินิจฉัยสุดท้ายโดยแบ่งตามความรุนแรงของโรคตาม HOO Cretiria 1997 ผลการศึกษา – ผู้ป่วน 98ราย ได้รับการวินิจฉัยว่าติเชื้อไวรัสเดงกี แบ่งเป็นเด็กหญิง 45 รายเป็นเด็กชาย 53 ราย อายุโดยเฉลี่ย 10.07 ปี มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เดงกี 46 ราย (ร้อยละ 46.9) ไข้เลือดออก 52 ราย (ร้อยละ 53.1) พบว่าในวันที่รับผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ผู้ป่วย ร้อยละ 78.6 ยังคงอยู่ในระยะไข้ ผลการตรวจเลือดผู้ป่วยแสดงให้เห็นว่า การเพิ่มขึ้นของโปรตีน D-Dimer สัมพันธ์กับการเกิดไข้เลือดออกรุนแรง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) สำหรับเพศและอายุนั้นไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความรุนแรง พบผู้ป่วยที่มีภาวะทางโภชนาการดีจำนวนมากกว่าแต่ไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค ซีโรทัยป์ 2, 3 และการติดเชิ้อแบบทุติยภูมิมีสัดส่วนผู้ป่วยรุนแรงมากกว่า บทสรุป การเพิ่มขึ้นของโปรตีนดีไดเมอร์ในวันที่รับผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไข้เลือดออกรุนแรงในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อไวรัสเดงกี และอาจใช้เป็นตัวชี้วัดเพื่อพยากรณ์ความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสเดงกีได้
Other Abstract: Objectives – To determine the risk factors influencing severity in pediatric dengue infection. Including virus factors (Dengue Serotype, secondary or primary infection), patient factors (se, age. Nutritional status) and hematologic change (D-Dimer). Design – Prospective Analytic Study Setting – Pediatric Department, King Chulalongkorn Memorial Hospital Patient – Patient under 15 years old who admitted at Pediatric Department, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok during October 2004 to September 2006 Method – General data including sex, age, body weight was collected. Blood sample was taken for Dengue antibody titer, Dengue serotype, D-dimer. WHO criteria was used for classifying dengue severity. Results – 98 dengue patients, 45 girls and 53 boys were recruited in the study. The mean age was 10.07 years. There were 46(46.9%) cases of dengue fever (DF) and 54 (53.1%) cases of dengue hemorrhagic fever (DHF). Increasing OF D-dimer on the date of admission (most in febrile stage of disease = 78.6%) was significantly related with the DHF group than in DF group. (P=0.001). Sex and age group are not correlated with severity. Children with normal to good nutritional status had frequently found in this study but was not shown for increasing severity than mainourished group. DEN2 and den3 had more percentage of DHF compared with den1 and DEN4. Correlation between immune response (primary or secondary infection) and severity cannot be concluded.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กุมารเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49764
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1071
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1071
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chansuda_bo_front.pdf499.4 kBAdobe PDFView/Open
chansuda_bo_ch1.pdf549.82 kBAdobe PDFView/Open
chansuda_bo_ch2.pdf652.76 kBAdobe PDFView/Open
chansuda_bo_ch3.pdf377.02 kBAdobe PDFView/Open
chansuda_bo_ch4.pdf502.61 kBAdobe PDFView/Open
chansuda_bo_ch5.pdf335.53 kBAdobe PDFView/Open
chansuda_bo_back.pdf445.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.