Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49782
Title: ความหลากหลาย ทางพันธุกรรมของกั้งกระดานสกุล Thenus ในประเทศไทยโดยใช้ยีนไซโทโครมซีออกซิเดส หน่วยย่อยที่หนึ่ง ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
Other Titles: Genetic diversity of shovel-nosed lobster of the genus Thenus in Thailand using cytochrome c oxidase subunit I gene
Authors: เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์
Email: jessada.d@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: กั้ง
กั้งกระดาน -- พันธุศาสตร์
กั้งกระดาน -- ไทย
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กั้งกระดาน (วงศ์ Scyllaridae สกุล Thenus) เป็นสัตว์น้ำที่กำลังมีความสำคัญมากขึ้นในประเทศไทย จากการศึกษาอนุกรมวิธานก่อนหน้านี้มีรายงานการพบกั้งกระดานในประเทศไทยเพียงหนึ่งสปีชีส์คือ Thenus orientalis อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทบทวนสถานะทางอนุกรมวิธานของกั้งกระดานสกุลดังกล่าวขึ้นมาใหม่ได้เสนอแนะว่า ควรจะมีกั้งกระดานในประเทศไทยอยู่ถึงสามสปีชีส์ งานวิจัยนี้จึงได้ทำการเก็บตัวอย่างกั้งกระดานที่เป็นตัวเต็มวัยจากสองจังหวัดที่อยู่บริเวณอ่าวไทยตอนบน ได้แก่ จังหวัดชลบุรี (ฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย) ซึ่งเป็นพื้นที่ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และจังหวัดเพชรบุรี (ฝั่งตะวันตก) ทำการสกัดจีโนมิกดีเอ็นเอจากขาเดินของกั้งกระดานและเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอของยีนไซโทโครมซีออกซิเดส หน่วยย่อยที่หนึ่งด้วยวิธีพีซีอาร์ จากนั้นส่งผลผลิตพีซีอาร์ที่ได้ไปอ่านลำดับดีเอ็นเอ นำลำดับดีเอ็นเอที่อ่านได้ซึ่งมีความยาว 399 คู่เบสไปจัดเรียงและสร้างแผนภูมิต้นไม้แสดงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการด้วยวิธีมัธยัสถ์สูงสุด พบว่าสามารถจัดจำแนกกั้งกระดานที่พบออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มของ Thenus indicus 12 ตัวอย่างและกลุ่มของ T. orientalis 6 ตัวอย่าง ซึ่งผลดังกล่าวมีความสอดคล้องกับลักษณะทางสัณฐานวิทยาของขาเดิน กล่าวคือ T. orientalis มีลายและจุดสีน้ำตาลปรากฏบนขาเดิน ขณะที่ T. indicus ไม่มีลวดลายหรือจุดสี บนขาเดิน ดังนั้นจึงเสนอชื่อท้องถิ่นสำหรับกั้งกระดานทั้งสองสปีชีส์ ให้เรียก T. indicus ว่า กั้งกระดานธรรมดา ขณะที่เรียก T. orientalis ว่า กั้งกระดานขาลาย ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้จะเป็นความรู้สำคัญในการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากกั้งกระดานอย่างยั่งยืนต่อไป
Other Abstract: Shovel-nosed lobster (family Scyllaridae, genus Thenus) or Kang Kradan (in Thai) is one of the increasingly important fishery resources in Thailand. Earlier taxonomic studies recognized only one species in Thailand - T. orientalis. However, a recent revision using morphological and nucleotide sequence analyses suggested that there should be three species of Thai shovel-nosed lobster. In this study, adult specimens were sampled from two provinces on both sides of the upper Gulf of Thailand: Chonburi (east) and Phetchaburi (west). Genomic DNA was extracted from periopods and mitochondrial cytochrome c oxidase subunit I (COI) gene was amplified and sequenced. A phylogenetic tree of the 399-basepair nucleotide data matrix was reconstructed using maximum parsimony approach. The phylogenetic tree clearly separated the specimens to two groups: twelve individuals of T. indicus and six of T. orientalis. This molecular result agreed well with the recent morphological description that T. orientalis has spotted periopods but T. indicus does not. Therefore, new local Thai names were proposed: Kang Kradan Thammada (common shovel-nosed lobster) for T. indicus and Kang Kradan Kha-lai (spotted-leg shovel-nosed lobster) for T.orientalis. Additional samples will be collected from the lower Gulf of Thailand and Andaman Sea. These findings will be an important knowledge for establishing a sustainable management of their exploitation.
Discipline Code: 0110
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49782
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jessada_de_2554.pdf929.62 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.