Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/497
Title: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษา
Other Titles: Development of a causal model of instructional abilities of elementary school teachers in integrated environmental education
Authors: พินดา วราสุนันท์, 2522-
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: สิ่งแวดล้อมศึกษา
การสอน
ครูประถมศึกษา
ลิสเรลโมเดล
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและระดับความสามารถในการจัดการเรียนการสอน เมื่อจำแนกตามภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษา และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูประถมศึกษาโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสร้างความเข้มแข็งสิ่งแวดล้อมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 299 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปรคือ ปัจจัยด้านหลักสูตรปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยด้านกลุ่มที่ปฏิบัติงานร่วมกัน ปัจจัยด้านผู้สอน และความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษา โดยมีตัวแปรสังเกตได้ 18 ตัวแปร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนการสอน เมื่อจำแนกตามภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ค่าเฉลี่ยของปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยด้านผู้สอนไม่แตกต่างกัน ค่าเฉลี่ยของปัจจัยด้านกลุ่มที่ปฏิบัติงานร่วมกันและระดับความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษา เมื่อจำแนกตามภูมิภาคของโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษาได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยด้านผู้สอน ประกอบด้วย ความสามารถในการสอนของผู้สอน คุณลักษณะของผู้สอน ทัศนคติต่อรูปแบบการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของผู้สอน และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยด้านกลุ่มที่ปฏิบัติงานร่วมกัน ประกอบด้วย บทบาทของชุมชน บทบาทผู้บริหารและปทัสถานของโรงเรียน โดยส่งผ่านปัจจัยด้านผู้สอน นอกจากนี้ปัจจัยด้านกลุ่มที่ปฏิบัติงานร่วมกันมีอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ นโยบายของโรงเรียน การบริหารงานด้านทรัพยากรวัตถุของโรงเรียน และปทัสถานของโรงเรียน ทั้งนี้ปัจจัยด้านองค์การและปัจจัยด้านผู้สอนมีอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยด้านหลักสูตร 3. โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษาโดยภาพรวมมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 20.82 ที่องศาอิสระเท่ากับ 58 และมีค่าความน่าจะเป็น 1.00 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนมีค่าเท่ากับ .99 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูประถมศึกษาได้ร้อยละ 80
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study and compare the level of teacher’s opinion about the factors were having effect to instructional abilities 2) development of a causal model of instructional abilities of elementary school teachers in integrated environmental education and 3) to examine the goodness of fit of the model with empirical data. The research samples consisted of 299 elementary teachers from the school under Strengthening Environmental Education in Thailand (SEET) Project. Variables consisted of five latent variables: curriculum factor, organization factor, group working factor, teacher factor and ability of elementary school teachers in integrated environmental education; eighteen observed variables. The reaearch data were collected by questionnaires and analysed by employing descriptive statistics, t-test, oneway ANOVA, Pearson correlation and LISREL analysis .The research findings were as follows: 1. The level of teacher’s opinion consisted of curriculum factor, organization factor and teacher factor were not different at .05 level of statistical significant. Group working factor and the instructional abilities of elementary school teachers in integrated environmental education were different among the region of schools at .05 level of statistical significant. 2. Teacher factor has direct effect to instructional abilities of elementary school teachers in integrated environmental education consisted of the ability in instruction, characteristic of teacher and attitude toward the form of integrated environmental education. Group working factor has indirect effect to instructional abilities of elementary school teachers in integrated environmental education by teacher factor. Group working factor consisted of action of community, action of executive and rule of school, has direct effect to organization factor consisted of policy of school, management of resource and strategy of school. Organization factor and teacher factor has direct effect to curriculum factor. 3. The causal model was fitted with the empirical data. Indicated by the Chi-square = 20.82, df = 58 and GFI = .99 .The model accounted for 80% of variance in the structional abilities of elementary school teachers in integrated environmental education.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/497
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.669
ISBN: 9745322598
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.669
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinda.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.