Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49807
Title: ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่มีศิลปะเป็นสื่อต่อปัญญา การยอมรับและภาวะซึมเศร้าในบุคคลภายหลังการรักษาโรคมะเร็ง
Other Titles: Effects of Buddhist personal growth and counseling group with art on PAÑÑA, acceptance, and depression in post cancer treatment persons
Authors: พิมพนิต คอนดี
Advisors: ณัฐสุดา เต้พันธ์
กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Nattasuda.T@Chula.ac.th,tnattasuda@gmail.com
Kullaya.D@Chula.ac.th
Subjects: พุทธศาสนา -- จิตวิทยา
ศิลปกรรมบำบัด
การยอมรับตนเอง
ความซึมเศร้า
มะเร็ง -- ผู้ป่วย
Buddhism -- Psychology
Art therapy
Self-acceptance
Depression
Cancer -- Patients
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่มีศิลปะเป็นสื่อ ต่อ ปัญญา การยอมรับ และ ภาวะซึมเศร้า ของบุคคลภายหลังการรักษาโรคมะเร็งงาน วิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research Design) เป็นการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลภายหลังการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว 113 คน แบ่งออกเป็น กลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่มีศิลปะเป็นสื่อ 38 คน กลุ่มศิลปะบำบัด 34 คน และกลุ่มควบคุม 41 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ในระยะดำเนินการวิจัย กลุ่มทดลองเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่มีศิลปะเป็นสื่อและกลุ่มศิลปะบำบัด รวมทั้งหมด 8 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง ผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมดตอบแบบวัดปัญญา แบบวัดการยอมรับและแบบวัดภาวะซึมเศร้า ในช่วงก่อนและหลังการวิจัย มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบมีการวัดซ้ำ (Repeated Measures Multivariate Analysis of Variance: Repeated Measures MANOVA) ในการเปรียบเทียบคะแนนปัญญา การยอมรับและภาวะซึมเศร้า ก่อนและหลังการเข้ากลุ่ม และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบระหว่างกลุ่ม (Between-group MANOVA) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลพบว่า ในช่วงหลังการทดลองกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่มีศิลปะเป็นสื่อมีความแตกต่างของคะแนนปัญญา การยอมรับ และภาวะซึมเศร้ากว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนตัวแปรที่ศึกษาหลังการทดลองระหว่างกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่มีศิลปะ กลุ่มศิลปะบำบัด กลุ่มควบคุมพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .001 และ .05
Other Abstract: The aim of this research was to study the effects of Buddhist personal growth and counseling group with art on PAÑÑÂ, Acceptance, and depression in post cancer treatment persons. Quasi-experimental design with pre-posttest treatment-control group was employed in this study. One hundred thirteen post cancer treatment persons who met all inclusion criteria were recruited and randomly assigned either Buddhist personal growth and counseling group or art therapy group or control group, thirty-eight, thirty-four, forty-one, consequently. Participants in Buddhist personal growth and counseling group and group art therapy participated group therapy session for eight-week long, three hours a week. Assessment conducted by PAÑÑÂ questionnaire, Acceptance and action questionnaire, and BDI-II. The score of all variables were analyzed using Between-group and Repeated MANOVA. Finding indicated that Buddhist personal growth and counseling group can increase PAÑÑÂ and Acceptance significantly at .001, decrease Depression significantly. When compare to Art therapy group, Buddhist personal growth and counseling group has more efficiency in increasing PAÑÑÂ (.001) and Acceptance (.001), and decreasing Depression (at .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49807
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.811
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.811
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5278454838.pdf4.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.