Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49812
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยและกระบวนการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสำหรับประชากลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต
Other Titles: Development of a learning model to promote health using Thai wisdom and transformative learning process for at-risk people of lifestyle diseases
Authors: เปรมวดี สาริชีวิน
Advisors: มนัสวาสน์ โกวิทยา
อาชัญญา รัตนอุบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Manaswas.K@Chula.ac.th,Manaswas@yahoo.com
Archanya.R@Chula.ac.th
Subjects: การเรียนรู้
การส่งเสริมสุขภาพ
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
Learning
Health promotion
Local wisdom
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยและกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยและกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต 3) เพื่อตรวจสอบรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยและกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยเงื่อนไข และปัญหาของการนำรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยและกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิตที่นำไปใช้ ประชากร คือ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิตที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่สมัครใจเข้าร่วมค่ายกิจกรรมการเรียนรู้ 5 วัน และฝึกปฏิบัติด้วยตนเองเป็นเวลา 21 วัน การประเมินผลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ร้อยละ ด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทย 3 อ. ได้แก่ 1) การบริโภคอาหาร 2) การออกกำลังกาย 3) การจัดการอารมณ์ ก่อน และ หลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยและกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต ประกอบด้วย 12 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) การเสวนากลุ่ม (4) เนื้อหาสาระการส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทย (5) ผู้เรียน (6) ผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย (7) บุคคลต้นแบบ (8) กิจกรรมการเรียนรู้ (9) แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย (10) บรรยากาศแบบเครือญาติ (11) การทดลองปฏิบัติ (12) การประเมินผล 2) รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยและกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิตที่พัฒนาขึ้น ชื่อ IMAGE Model ได้แก่ 1) I =Image of Mind หมายถึง การทบทวนความคิดและ สะท้อนวิพากษ์ตนเองจากภาพในใจ 2) M =Meaning Structure หมายถึง การให้คุณค่า ความหมายต่อบทบาทใหม่ที่ปรารถนา 3) A = Acting on Revision หมายถึง การลงมือปฏิบัติบทบาทใหม่อย่างจริงจัง 4) G = Getting a new way หมายถึง บทบาทใหม่เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทย 5) E = Engaging with Thai Local หมายถึง บูรณาการบทบาทใหม่เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) ผลการตรวจสอบรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยและกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต พบว่า ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทย ด้านอาหาร ด้านออกกำลังกาย และด้านอารมณ์ สูงขึ้นภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เฉลี่ยร้อยละ 80,85,85 ตามลำดับ และมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.66 ,SD =0.45) 4) ผลการศึกษาปัจจัย เงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้ พบว่า ปัจจัยของการนำรูปแบบไปใช้ คือ (1) ความพร้อมทางด้านกายภาพ (2) ความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้เรียน (3) ความพร้อมของเพื่อคู่หูสุขภาพ (4) การมีอิสระทางความคิด (5) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (6) แรงจูงใจ (7) การลงมือปฏิบัติ เงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้ คือ (1) การมีส่วนร่วมในการสะท้อนวิพากษ์ตนเอง (2) การส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทย (3)การฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง 21 วัน (4) การเขียนไดอารี่ ปัญหาอุปสรรค คือ (1) การสูญหายของภูมิปัญญาท้องถิ่น (2) ความไม่ถนัดในการเขียนบันทึกประจำวัน (3) วิถีชีวิตเร่งรีบ
Other Abstract: This research is mixed method research. The objective were to analyze and synthesize the learning model factors to promote health base on Thai Wisdom and transformative learning processes for those at-risk people of lifestyle diseases; 2) to develop the learning model to promote health base on Thai Wisdom and transformative learning processes for those at-risk people of lifestyle diseases; 3) to investigate the learning model to promote health base on Thai Wisdom and transformative learning processes for those at risk people of lifestyle diseases; and 4) to study factors, conditions and problems of using the learning model to promote health base on Thai Wisdom and transformative learning processes for those at risk people of lifestyle diseases. The sample were those at-risk of lifestyle diseases with the age over 15 years old who volunteered to join 5 consecutive days in the learning programs and another 21 days for self-practicing, The result were analyzed using content analysis and comparison of means and percentage parameters covering knowledge, attitude, and behavior to promote health base on Thai Wisdom in three aspects: 1) food consumption, 2) physical exercise, and 3) emotional control management, both prior and after trial. The results shown that 1) component of the development of a learning model to promote using health thai wisdom and transformative learning process for at-risk people of life style diseases to promote health base on Thai Wisdom and transformative learning processes for those at-risk people of lifestyle diseases composed of (1) principle, (2) objectives, (3) group discussion, (4) contents to promote health base on Thai Wisdom (5) leaners, (6) Instructors, (7) role models, (8) learning activities, (9) Thai Wisdom resources, (10) family relations, (11) practical implementation, (12) evaluation. 2) IMAGE model was the developed model that found from the study. Ease aspects of IMAGE consisted of I = Image of Mind which is the process to review own paradigm through self-reflection, M=Meaning Structure which is the process to review own values through new desired role, A=Acting on Revision which is the commitment to practice according to new role, G=Getting a new way which is the new role to promote health base on Thai Wisdom, and E=Engaging with Thai Local which is to integrate with the local wisdoms. 3) The results from investigation of the developed learning model revealed that the samples had the incremental in knowledge, attitude, and behavioral changes after the participation of the program at the average of 80, 85 and 85 percentage. The level of participative satisfaction in the program is high (X=4.66, SD=0.45) 4) The factors and conditions influencing the implementation of the developed model included 1) physical readiness, 2) learner commitment, 3) readiness of co-learners, 4) degree of own thinking, 5) local wisdoms, 6) inspiration, 7) practical implementation. The conditions to apply this model are 1) self-reflection participation, 2) health promotion base on Thai Wisdom, 3) self-practicing, 4) day recording. The limitations to implement this model are 1) loss of local wisdoms, 2) unfamiliar of diary recording, 3) rushing social life style.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49812
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1031
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1031
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284282027.pdf9.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.