Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49816
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์en_US
dc.contributor.advisorสุชาติ โสมประยูรen_US
dc.contributor.authorสิงหา จันทน์ขาวen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-11-30T05:37:13Z-
dc.date.available2016-11-30T05:37:13Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49816-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาพิเศษกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับสามเณรระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียน พระปริยัติธรรมพระราหุล แผนกสามัญศึกษา วัดปัญญานันทาราม 2.ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติของสามเณรระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมพระราหุล แผนกสามัญศึกษา วัดปัญญานันทาราม 3.ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษาพิเศษกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับสามเณรระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมพระราหุล แผนกสามัญศึกษา วัดปัญญานันทาราม และ 4.ศึกษาความพึงพอใจของสามเณรต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาพิเศษกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับสามเณรระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมพระราหุล แผนกสามัญศึกษา วัดปัญญานันทาราม การวิจัยครั้งนี้มีรูปแบบเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยนำหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับสามเณรที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนพระปริยัติธรรมพระราหุล แผนกสามัญศึกษา วัดปัญญานันทาราม โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนาหลักสูตร 2.การพัฒนาหลักสูตร 3.การหาคุณภาพของหลักสูตร 4.การทดลองใช้หลักสูตร และ5.การประเมินผลการทดลองใช้หลักสูตร ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองใช้หลักสูตร โดยการนำแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 21 แผน ไปใช้สอนกับกลุ่มตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ละ 1 ชั่วโมง มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ ของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลอง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างด้วยการทดสอบ Wilcoxon Singed Ranks Test ผลการวิจัย 1.ผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาพิเศษกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับสามเณรระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมพระราหุล แผนกสามัญศึกษา วัดปัญญานันทาราม พบว่าหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตและข้อบัญญัติของสามเณรระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระปริยัติธรรมพระราหุล แผนกสามัญศึกษา วัดปัญญานันทาราม ซึ่งพบว่ามีองค์ประกอบของหลักสูตรจำนวน 13 องค์ประกอบ ดังนี้ 1.วิสัยทัศน์ 2.หลักการ 3.เป้าหมาย 4.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5.สาระของหลักสูตร 6.คำอธิบายหลักสูตร 7.มาตรฐานการเรียนรู้ 8.ตัวชี้วัด 9.สาระการเรียนรู้เรื่องวิถีชีวิตของสามเณร 10.โครงสร้างเวลาเรียน 11.แนวทางการจัดการเรียนรู้ 12. แนวทางการวัดและประเมินผล และ13.สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ และด้านการปฏิบัติ ของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง และเมื่อนำมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทดลอง ก็พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ และด้านการปฏิบัติหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ประสิทธิภาพของหลักสูตร มีค่าเท่ากับ 78.50/74.73 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 70/70 4. กลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษาพิเศษกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับสามเณรระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมพระราหุล แผนกสามัญศึกษา วัดปัญญานันทาราม โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to develop a health and physical education curriculum for buddist novices at the seventh grade students of Pharapariyattidhamma schools, to study academic achievement in knowledge, attitude and practices, to study the effectiveness and the student opinions of this curriculum.This research was Quasi-Experimental Research One-Group Pretest-Posttest Design. The population consisted of buddist novices at the seventh grade students of Pharapariyattidhammaphrarahul schools.The sample group was buddist novices at the seventh grade students of Watpanyanantaram Pharapariyattidhamma school, Khongluang District, Pathumtani Province, during the first semester of academic year 2015.The sample goup was recruited by purposive selective sampling method. The sample group of students were assigned to study under 21 learning activities which was taught by the researcher. The research process was composed of needs assessment, curriculum development, experiment, effectiveness and academic achievement evaluation by Wilcoxon Singed Ranks Test and analyzing the means and standard deviations of the scores to determine the statistical significance. The statistical significance level was set at .05. The study findings were as follows: The curriculum was developed with the components of school vision, concepts, goals, , desired characteristics, strands, curriculum content, learning standard, indicators, additional areas of learning, extra curriculum content, learning time structure, learning management guidelines, evaluation method and media and resources including learning-teacher 21 activities. 2.The experiment revealed that 2.1) Mean scores of knowledge, attitude and practices of the experimental group before and after the experiment evaluation showed significant differences at the .05 level. 2.2) The effectiveness of the curriculum was scored 78.50/74.73 showed higher than determined standard scores (70/70). 2.3) The students opinions concerning the curriculum instruction were found at the highest level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1140-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการวางแผนหลักสูตร-
dc.subjectพลศึกษา -- หลักสูตร-
dc.subjectสุขศึกษา -- หลักสูตร-
dc.subjectสงฆ์ -- การศึกษา-
dc.subjectCurriculum planning-
dc.subjectPhysical education and training -- Curricula-
dc.subjectHealth education -- Curricula-
dc.subjectPriests, Buddhist -- Education-
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรสุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับสามเณรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนพระปริยัติธรรมen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a health and physical education curriculum for buddhist novices at the lower secondary education level in Phrapariyattidhamma schoolsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineสุขศึกษาและพลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAimutcha.W@Chula.ac.th,aimutchaw@gmail.comen_US
dc.email.advisorsu_ssom@yahoo.co.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1140-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284292327.pdf6.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.