Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49839
Title: | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎีเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต |
Other Titles: | Development of an instructional model based on the transtheoreticalmodel to enhance responsibility of undergraduate students |
Authors: | นารท ศรีละโพธิ์ |
Advisors: | วิชัย เสวกงาม อัมพร ม้าคนอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wichai.S@Chula.ac.th,wichai.sw@hotmail.com Aumporn.M@Chula.ac.th |
Subjects: | ระบบการเรียนการสอน การสอน ความรับผิดชอบ นักศึกษาปริญญาตรี Instructional systems Teaching Responsibility Undergraduates |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎีเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎีเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต โดยการศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแยกออกเป็น 2 ประเด็น คือ 2.1) เปรียบเทียบความรับผิดชอบของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ 2.2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่มีพื้นฐานระดับความรับผิดชอบแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในภาคการศึกษาที่ 2/2557 ที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 กลุ่มเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมความรับผิดชอบ แบบรายงานพฤติกรรมความรับผิดชอบ แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบ และแบบสัมภาษณ์ความรับผิดชอบ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎีเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นความคิด 2) ขั้นพิจารณาบทบาทหน้าที่ 3) ขั้นสร้างการมีส่วนร่วม 4) ขั้นแสดงผลรวมความรู้ 5) ขั้นก้าวสู่การพัฒนา และ 6) ขั้นประเมินค่าการเปลี่ยนแปลง 2. ภาพรวมของการแสดงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อตนเองในด้านการเรียน ความรับผิดชอบต่ออาจารย์ และความรับผิดชอบต่อเพื่อนหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ หากแยกตามพฤติกรรมความรับผิดชอบ พบว่า 2.1 ความรับผิดชอบต่อตนเองในด้านการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ความรับผิดชอบต่ออาจารย์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ความรับผิดชอบต่อเพื่อนสูงขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. กลุ่มตัวอย่างที่มีพื้นฐานระดับความรับผิดชอบสูง มีการแสดงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อตนเองในด้านการเรียน ความรับผิดชอบต่ออาจารย์ และความรับผิดชอบต่อเพื่อน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. กลุ่มตัวอย่างที่มีพื้นฐานระดับความรับผิดชอบต่ำ มีการแสดงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อตนเองในด้านการเรียน ความรับผิดชอบต่ออาจารย์ และความรับผิดชอบต่อเพื่อน หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this study were 1) to develop an Instructional Model Based on the Transtheoretical Model to Enhance Responsibility of Undergraduate Students and 2) to study the results obtained from using an Instructional Model Based on the Transtheoretical Model to Enhance Responsibility of Undergraduate Students, which was divided into two areas, namely 2.1) to compare responsibility of all samples before and after using the instructional model, and 2.2) to compare the variance of responsible behaviors of undergraduate students who have diverse responsibilities. The purposive samples used in the experiment included a group of undergraduate students in a private university in semester 2/2557. The research instruments consisted of a questionnaire for collecting data regarding students’ responsibility behaviors, a report of students’ responsibility behaviors, an observation form for responsibility behaviors, and an interview form. The research findings revealed that: 1. The Instructional Model Based on the Transtheoretical Model to Enhance Responsibility of Undergraduate Students consisted of 6 steps: 1) Motivation, 2) Identification of Role and Responsibility, 3) Collaboration, 4) Knowledge Demonstration, 5) Advancement to Development, and 6. Change Evaluation. 2. The overall of the behavioral responsibility post-test scores for their own learning, for the instructor, and for the peers were significantly different from the pre-test scores at the .05 level. When considering the results separately, it was found that 2.1 The post-test scores of the behavioral responsibility for their own learning were significantly different from pre-test scores at the .05 level. 2.2 The post-test scores of the behavioral responsibility for the instructor were significantly different from pre-test scores at the .05 level. 2.3 The post-test scores of the behavioral responsibility for the peers were not statistically significant. 3. For undergraduate students with high level of responsibility, their behavioral responsibility for their own learning, for the instructor, and for the peers were not statistically significant. 4. For undergraduate students with low basic level of responsibility, the post-test scores of their behavioral responsibility for their own learning, for the instructor, and for the peers were significantly different from pre-test scores at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49839 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1223 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1223 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5384457727.pdf | 6.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.