Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49843
Title: รูปแบบการจัดการความรู้ โดยผสมผสานองค์ความรู้จากผู้สูงวัยที่มีศักยภาพ ตามกระบวนการ SECI เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
Other Titles: KNOWLEDGE MANAGEMENT MODEL BLENDED WITH KNOWLEDGE OF ACTIVE AGING PROFESSIONAL THROUGH SECI PROCESS FOR NEW PRODUCT DEVELOPMENT
Authors: ศุภฤกษ์ ชูธงชัย
Advisors: เนาวนิตย์ สงคราม
พงศ์พันธ์ อนันต์วรณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Noawanit.S@Chula.ac.th,noawanit_s@hotmail.com,noawanit_s@hotmail.com
Pongpun.A@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการความรู้ โดยผสมผสานองค์ความรู้จากผู้สูงวัยที่มีศักยภาพ ตามกระบวนการ SECI เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ (1) เพื่อศึกษาขั้นตอน และองค์ประกอบการจัดการความรู้ โดยผสมผสานองค์ความรู้จากผู้สูงวัยที่มีศักยภาพ ตามกระบวนการ SECI เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ โดยผสมผสานองค์ความรู้จากผู้สูงวัยที่มีศักยภาพ ตามกระบวนการ SECI เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่(3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการความรู้ โดยผสมผสานองค์ความรู้จากผู้สูงวัยที่มีศักยภาพ ตามกระบวนการ SECI เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการความรู้ โดยผสมผสานองค์ความรู้จากผู้สูงวัยที่มีศักยภาพ ตามกระบวนการ SECI เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) โปรแกรมคอมพิวเตอร์สนับสนุนรูปแบบการจัดการความรู้ (2) แบบประเมินความพึงพอใจการใช้กิจกรรมตามรูปแบบการจัดการความรู้ (3) แบบประเมินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และ (4) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาประกอบด้วย ผู้สูงวัย และบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ จากองค์กรเดียวกัน ในอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 6 บริษัท สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า 1.ขั้นตอนของกระบวนการที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 7 ขั้น คือ (1) การวางแผน และกำหนดเป้าหมายของโครงการ (2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (3) การตรวจสอบความชัดเจนของแนวคิด (4)การตรวจสอบความเป็นไปได้ของแนวคิด (5) การออกแบบกระบวนการ (6) การรับรองกระบวนการ (7) การประเมินผลตอบกลับ 2.องค์ประกอบของกระบวนการที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ (1) วัตถุประสงค์ทางธุรกิจและกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (2) การระบุโอกาสทางธุรกิจ (3) การสร้างแนวความคิดผลิตภัณฑ์ (4) การคัดเลือกแนวความคิดผลิตภัณฑ์ (5) การพัฒนาและทดสอบแนวความคิดผลิตภัณฑ์ (6) การวิเคราะห์ธุรกิจ (7) การออกแบบ และการพัฒนากระบวนการผลิต (8) การติดตามและประเมินผล 3.กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจการใช้กิจกรรมตามรูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า คะแนนเฉลี่ยรวมของความพึงพอใจการใช้กิจกรรมตามรูปแบบการจัดการความรู้ อยู่ในระดับมาก
Other Abstract: This thesis aims at developing Knowledge Management Model blended with Knowledge of Active Aging Professional through SECI Process for New Product Development. The objectives of study are: (1) to discover the procedure and components of knowledge management for new product development (2) to develop a respective model (3) to assess the test results of a proposed model (4) to present the proper model in this finding. The methodology of this study was Research and Development (R&D). Research instruments consisted of (1) a computer-supported knowledge management (2) satisfaction assessment form (3) new product evaluation form and (4) interview record sheet. Samples of this study were consisted of active aging professionals and staffs participating in new product development project from 6 automotive companies. Quantitative statistics used in this study were frequency distributions, percentage, mean, standard deviation and dependent t-test. The thesis pinpoints that: 1.The proper procedure consisted of seven phases. There were (1) Plan and Define (2) Product Design (3) Clear Concept (4) Proof of Concept (5) Process Design (6) Process Validation (7) Feedback. 2.The proper components consisted of eight items. There were (1) Business Objective and Product Strategy (2) Opportunity Identification (3) Idea Generation (4) Idea Screening (5) Concept Development and Test (6) Business Analysis (7) Process Design and Development (8) Monitoring and Evaluation 3. There was a significant difference between pre-test and post-test mean score at the .05 critical alpha level. Samples had their post-test mean score on new product development that was higher than their pre-test mean score. And the assessment had a mean score on a high level of satisfaction.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49843
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5387814620.pdf9.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.