Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49852
Title: การจำลองผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อสภาพน้ำฝน-น้ำท่าโดยแบบจำลอง SiBUC : กรณีศึกษาลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน
Other Titles: CLIMATE AND LAND USE CHANGE IMPACT ASSESSMENT ON RAINFALL-RUNOFF SIMULATIONS USING SiBUC MODEL : A CASE STUDY IN THE UPPER CHAO PHRAYA RIVER BASIN
Authors: เอกวิชิต เวชพาณิชย์
Advisors: อักษรา พฤทธิวิทยา
ปิยธิดา ห้อยสังวาลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Aksara.P@Chula.ac.th,dr.aksara.putthividhya@gmail.com
Piyatida.H@chula.ac.th,hpiyatida@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้วยการประยุกต์ใช้แบบจำลอง SiBUC โดยใช้ข้อมูลแรงขับดันทางอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลธรณีฟิสิกส์ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในการคำนวณสมดุลพลังงานและสมดุลน้ำ โดยมีขอบเขตในการศึกษา คือ พื้นที่ศึกษาลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน ช่วงเวลาในอดีต (ค.ศ.1981-2004) ที่ใช้ข้อมูลฝน IMPAC-T จากกรมชลประทานและกรมอุตุนิยมวิทยา ฝน APHRODITE จาก APHRODITE's Water Resources ข้อมูลแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินจากกรมพัฒนาที่ดิน และ GLCC v2.0 จาก USGS ช่วงเวลาในอนาคตอันใกล้ (ค.ศ.2015-2039) และอนาคตอันไกล (ค.ศ.2075-2099) ที่ใช้ข้อมูลฝนในอนาคตจากแบบจำลองภูมิอากาศโลก MRI-AGCM3.2S ที่ผ่านการปรับแก้ความเอนเอียงเชิงสถิติด้วยวิธี Hybrid Method และข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตต่อสภาพน้ำท่าที่สถานี C.2 จะสูงขึ้นทั้งค่าสูงสุดรายเดือนและปริมาณน้ำท่ารายปี โดยปริมาณน้ำรายปีเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 8,900 ล้าน ลบ.ม. ในอนาคตอันใกล้ และ 6,800 ล้าน ลบ.ม. ในอนาคตอันไกล ขณะที่ค่าสูงสุดในเดือนกันยายนนั้นจะเพิ่มขึ้นจากในอดีตถึง 2,400 และ 3,160 ล้านลบ.ม. ในอนาคตอันใกล้ และอนาคตอันไกลตามลำดับ ในส่วนของผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตต่อสภาพน้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพล โดยปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนรายปีสูงขึ้นเฉลี่ย 93% หรือเท่ากับ 4,270 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนสูงสุดในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้น 70% (899 ล้าน ลบ.ม.)
Other Abstract: This research aimed to study the impact of climate and land use changes through SiBUC model integrating diverse sources of information including meteorological forcing, geophysical data and land use to figure out the energy and water balances. The limitation of this study was upper chaopraya river basin during 1981-2004 utilized rainfall data sets (IMPAC-T) from the Royal Irrigation Department and Thailand Meteorological Department, (APHRODITE) from Aphrodite's water resource, land use mapping data sets from Land Development Department and GLCC v2.0 from USGS. During 2015-2039 and 2075-2099 utilized MRI AGCM3.2S were adjusted statistical bias correction by Hybrid Method and future land use data. The findings revealed that average monthly peak flow and annual runoff at station C.2 influenced the climate changes will be higher—average annual runoff will be increase up to 8,900 million cu.m. during 2015-2039,and 6,800 million cu.m. during 2075-2099. Compared with previous years, peak flow in Septembers will be increase up to 2,400 million cu.m. during 2015-2039 and 3,160 million cu.m. during 2075-2099. Based on the effect of land use and climate change to inflow into Bhumibol Dam, average annual inflow into the dam will higher at 93% (equivalent to 4,270 million cu.m.) as the peak flow in September will be higher at 70% (899 million cu.m.)
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมแหล่งน้ำ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49852
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470568421.pdf19.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.