Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49858
Title: | โครงสร้างประชากรปลาลัง Rastrelliger kanagurta (Cuvier, 1816) จากฝั่งทะเลอันดามันโดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์จากยีน Cytochrome b เป็นเครื่องหมายพันธุกรรม |
Other Titles: | The population structure of Indian mackerel (Rastrelliger kanagurta) from the Andaman sea coast of Thailand on the Cytochrome b sequences |
Authors: | ปวันรัตน์ บัวโรย |
Advisors: | เจษฏ์ เกษตระทัต ศานิต ปิยพัฒนากร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jes.K@Chula.ac.th,Jes.k@chula.ac.th Sanit.Pi@Chula.ac.th |
Subjects: | ปลาลัง ปลาลัง -- การนับ ประชากรปลา Rastrelliger kanagurta Rastrelliger kanagurta -- Counting Fish populations |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปลาลังเป็นปลาที่มนุษย์ใช้บริโภคมาตั้งแต่โบราณ พบได้ทั่วไปในบริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือทำการประมงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นทำให้สามารถจับปลาลังได้มากขึ้นส่งผลกระทบต่อปริมาณปลาลังหากไม่มีการจัดการทรัพยากรอย่างถูกต้อง การจัดการทรัพยากรปลาที่ดีต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างประชากรของปลาชนิดนั้นๆ การศึกษานี้เป็นการสำรวจกลุ่มประชากรย่อยของปลาลังในประเทศไทยเขตชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยใช้เครื่องหมายพันธุกรรมบริเวณที่ครอบคลุมลำดับนิวคลีโอไทด์ส่วนไซโตโครมบี (Cytochrome b) ภายในสารพันธุกรรมไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial DNA) เก็บตัวอย่างปลาจากชายฝั่งทะเลอันดามันโดยแบ่งสถานีในการเก็บตัวอย่างออกเป็นจำนวน 18 สถานี กระจายอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และ สตูล เป็นจำนวนทั้งหมด 104 ตัวอย่าง การวิเคราะห์โครงสร้างประชากรไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มประชากรปลาลัง (P>0.001) แผนผังแสดงความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการพบการแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ภายในสองกลุ่มประกอบไปด้วยปลาลังจากทุกสถานี ไม่พบการแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยตามระยะห่างของสถานี สอดคล้องกับลักษณะทางชีววิทยาของปลาลังและลักษณะกระแสน้ำชายฝั่งทะเลอันดามัน ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้จัดการทรัพยากรปลาให้มีความยั่งยืนต่อไปได้ในอนาคต |
Other Abstract: | Indian Mackerel has been used for human consumption since ancient times and generally found in every coastal regions of Thailand. At present day fishing gear have been developed to make fishing more efficient and certainly impacts its abundance, if it is not managed effectively. Genetic structure is a vital information in managing a fishery resource. This study surveyed genetic structure of Indian Mackerel from Andaman Sea by using the Cytochrome b genetic marker. One hundred and four samples were collected from 18 sites within Andaman coastal province (Ranong, Phanga, Phuket, Krabi, Trang and Satull). The hierarchical analysis of molecular variance did not show genetic differences among populations (P>0.001). Neighbor – jointing cladogram based on Tamura Nei’s genetic distances showed two clades of population consist of samples from mixed sampling stations within each clade and did not show sub – population structure. This result can be used to improve fishery management of Indian mackerel fishery in Thailand. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์ทางทะเล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49858 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1394 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1394 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5472239323.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.