Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49913
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตรา รู้กิจการพานิชen_US
dc.contributor.authorชรินทร์พร นนท์ศิลาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-11-30T05:39:17Z-
dc.date.available2016-11-30T05:39:17Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49913-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการบริหารคลังพัสดุสำหรับหน่วยบริการซ่อมรถฟอร์คลิฟท์ เนื่องจากหน่วยบริการได้ประสบกับปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ มีปริมาณพัสดุสะสมอยู่ในคลังพัสดุเป็นจำนวนมาก เกิดการขาดแคลนอะไหล่ มีความล่าช้าในการให้บริการเบิกจ่ายพัสดุ และข้อมูลจำนวนพัสดุคงคลังในระบบกับในสภาพจริงไม่ตรงกัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาข้างต้นนั้นมาจากกระบวนการจัดซื้อพัสดุไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีการจัดการปริมาณอะไหล่คงคลังที่มีปริมาณมากเกินไป และการบริหารจัดการคลังสินค้าไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงได้ดำเนินการปรับปรุงการบริหารพัสดุคงคลัง โดยเริ่มจาก (1) จัดกลุ่มความสำคัญของพัสดุโดยใช้วิธี ABC analysis เพื่อกำหนดเกณฑ์ในการควบคุมปริมาณคลังพัสดุ (2) การปรับปรุงผังการจัดเก็บและระบุตำแหน่งการจัดเก็บที่ชัดเจน โดยแบ่งพื้นที่การจัดเก็บให้เป็นสัดส่วน มีการกำหนดรหัสพัสดุและรหัสตำแหน่งการจัดเก็บ เพื่อให้ง่ายและประหยัดเวลาในการค้นหา (3) การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการปฏิบัติงานทั้งการรับและจัดเก็บ การเบิกจ่าย และการตรวจนับพัสดุ และ (4) จัดทำคู่มือในการปฏิบัติงานทั้ง 3 กระบวนการ และให้ผู้บริหารกำหนดให้ปฏิบัติงานตามคู่มือดังกล่าว ผลการปรับปรุง พบว่า มูลค่าพัสดุคงคลังลดลงจาก 10,891,656 บาท เหลือ 5,427,565 บาท ความล่าช้าจากการรออะไหล่ลดลงจาก 12.19 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 7.04 เปอร์เซ็นต์ ความไม่แม่นยำของข้อมูลพัสดุคงคลัง ลดลงจาก 28.44 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 1.92 เปอร์เซ็นต์ และเวลาเฉลี่ยในการให้บริการเบิกจ่ายพัสดุ ลดลงจาก 34.50 นาที/การเบิกหนึ่งครั้ง เหลือ 24.50 นาที/การเบิกหนึ่งครั้งen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of the research was improve the inventory management of the maintenance service unit for forklift. There were problems in this unit; such as a large stock, lack of spare parts, delay of inventory service time, mismatch information on inventory system. The causes of these problems came from lacking of performance system for purchasing, inventory management of spare parts that are too much and proper inventory managements . Therefore the research procedures started from (1) grouping inventory by ABC analysis, demand pattern analysis and forecast inventory need, (2) improving the storage layout to reduce time, focus on the storage area, storage code, (3) using computer system for inspection and storing method, request-supplied out method, and inventory counting and (4) building procedure manuals for the operators and the administrators assigned to work accord to the manuals. The performance improvement showed that inventory cost decreased from 10,891,656 baht to 5,427,565 baht, the delay of inventory service time decreased from 12.19% to 7.04%, Inaccuracy of inventory data from 28.44% to 1.92% and the inventory service time decreased from 34.50 minute per time to 24.50 minute per timeen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการปรับปรุงการบริหารคลังพัสดุสำหรับหน่วยบริการซ่อมรถฟอร์คลิฟท์en_US
dc.title.alternativeIMPROVEMENT OF INVENTORY MANAGEMENT FOR FORKLIFT MAINTENANCE SERVICE UNITen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorJittra.R@Chula.ac.th,mr_chukiat@yahoo.comen_US
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570908221.pdf8.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.