Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49924
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณชลัท สุริโยธินen_US
dc.contributor.authorรัชดา สุวรรณางกูรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-11-30T05:39:29Z-
dc.date.available2016-11-30T05:39:29Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49924-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractมัสยิดเปรียบเสมือนบ้านของพระเจ้า นับเป็นสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและแสดงออกถึงวัฒนธรรมของชนชาติมุสลิมมาตั้งแต่อดีต ซึ่งพบว่าในหลายประเทศมีการประดับตกแต่งแสงไฟในเวลากลางคืน บางแห่งถือว่าเป็นจุดหมายตา แต่ในประเทศไทยยังไม่พบเห็นการส่องสว่างมากนักและยังไม่มีรูปแบบการส่องสว่างที่ชัดเจน งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคารมัสยิด เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะรูปแบบการให้ส่องสว่างประดับตกแต่งแก่มัสยิดในเขตธนบุรี ซึ่งหลายแห่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและเป็นจุดหมายตาของชุมชน ผู้วิจัยจึงได้เลือกมัสยิดกรณีศึกษาซึ่งมีองค์ประกอบที่แสดงออกถึงความเป็นสถาปัตยกรรมอิสลามจำนวน 24 แห่ง จากการศึกษาประวัติศาสตร์ รูปแบบและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ทำการแจกแจงข้อมูลและจัดกลุ่ม จากนั้นจึงเลือกตัวแทนแต่ละกลุ่มมา 5 แห่ง เพื่อทำการศึกษาต่อ การศึกษาใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักของมัสยิดที่ควรให้แสงสว่าง คือ โดม ซุ้มโค้ง (ซุ้มทางเข้าและซุ้มโค้งเรียง) และหออะซาน โดยพิจารณาองค์ประกอบเหล่านั้นตามหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมเบื้องต้น คำนึงถึงสภาพพื้นที่โดยรอบและมุมมอง จากนั้นจึงเสนอรูปแบบทางเลือกของการให้แสงประดับตกแต่งองค์ประกอบเหล่านั้น โดยนำมาจำลองการส่องสว่างผ่านโปรแกรมจำลองสภาพแสงสว่าง เพื่อทำแบบสอบถามความรู้สึกกับทั้งชาวพุทธและมุสลิม คำที่นำมาสอบถาม ได้แก่ สว่าง สวย สบายตา และส่งเสริมความเป็นมัสยิด แล้วจึงนำไปประเมินผลทางสถิติ เพื่อหารูปแบบการส่องสว่างประดับตกแต่งที่เหมาะสมต่อไป ผลการศึกษา ผู้วิจัยได้เสนอแนะรูปแบบการให้แสงสว่างประดับตกแต่งแต่ละกรณีศึกษา โดยพิจารณาจากสภาพพื้นที่ตั้งและมุมมอง เน้นองค์ประกอบหลักของมัสยิด ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การให้แสงแบบสาด การให้แสงแบบเงาดำ การให้แสงส่องเน้น เป็นต้น สำหรับองค์ประกอบย่อยอาจมีการส่องเน้นเพื่อเสริมรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม ผลจากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการออกแบบส่องสว่างเพื่อประดับตกแต่งมัสยิดอื่นหรือสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้en_US
dc.description.abstractalternativeMosque or Masjid is a Muslim place of worship. Its architecture is unique and expresses the culture of Muslim peoples in the past. Significant Mosques in several countries were decoratively illuminated at night. However, decorative lighting for Mosques in Thailand is rarely seen and lighting design patterns on these Mosques are unlikely to be identified. This research was to study and categorized the architectural elements of the Mosques leading to decorative lighting design recommendation for the Mosques in Thonburi. Some of the Mosques in this area are historic buildings. They are also architectural heritage and serve as landmarks of their communities. 24 Mosques were selected to study their history and architectural elements. These data were sorted, analyzed and categorized. Then, 5 Mosques representing each category were selected to find the alternative lighting design patterns. The major architectural elements of the Mosques; dome, arch (main entrance and Islamic arcade) and minaret, were analyzed using architectural design fundamental. Sites and surroundings of the Mosques were also in consideration. Next, alternative lighting design patterns of each element were applied to these Mosques via computer simulation program. Moreover, Likert scale method was used in the form of questionnaires to determine both Buddhist and Muslim people’ perception. Five adjectives of senses were asked: light, beautiful, visually comfortable and enhancing the Mosque to find appropriate decorative lighting patterns for each case. It was found that to illuminate the Mosque, site and its surroundings must be considered. Then, the decorative lighting patterns should enhance on its major architectural elements by means of various lighting design techniques such as floodlighting, silhouetting and spotlighting, etc. The minor elements may also be lit to enhance more details. The lighting design recommendation in this study can be applied to other Mosques or similar types of architecture.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1508-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมัสยิด -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.subjectมัสยิด -- แสงสว่าง-
dc.subjectการให้แสงทางสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง-
dc.subjectMosques -- Thailand -- Bangkok-
dc.subjectMosques -- Lighting-
dc.subjectLighting, Architectural and decorative-
dc.titleรูปแบบการให้แสงสว่างประดับตกแต่งสำหรับมัสยิดเขตธนบุรีในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeLighting design pattern for mosques in Thonburi area, Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPhanchalath.S@Chula.ac.th,sphancha@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1508-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573570225.pdf10.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.