Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49931
Title: ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก
Other Titles: The effect of motivation program to quit smoking in orthopedic patients
Authors: พรรณนิภา หงษ์อินทร์
Advisors: สุนิดา ปรีชาวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sunida.P@Chula.ac.th,psunida.cu@gmail.com
Subjects: การเลิกบุหรี่
การจูงใจ (จิตวิทยา)
Smoking cessation
Motivation (Psychology)
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจเพื่อเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกเพศชายที่สูบบุหรี่ซึ่งรักษาในโรงพยาบาลเลิดสิน จำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน จับคู่กลุ่มตัวอย่างตามจำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน กลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำแบบกระชับเพื่อเลิกบุหรี่ 3 ครั้งๆ ละประมาณ 15 – 20 นาที ส่วนกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมสร้างแรงจูงใจเพื่อเลิกสูบบุหรี่โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการจูงใจเพื่อการป้องกันโรค ซึ่งประกอบด้วย การกระตุ้นให้รับรู้ความรุนแรงจากการสูบบุหรี่, สร้างความคาดหวังของประสิทธิผลจากการปฏิบัติตนเพื่อเลิกบุหรี่, และส่งเสริมการรับรู้ในความสามารถของตนเองที่จะเลิกบุหรี่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการสูบบุหรี่ ติดตามผลการเลิกบุหรี่ในช่วง 7 วันก่อนประเมินที่ 2 เดือนหลังจากเข้าร่วมโปรแกรม และยืนยันผลการเลิกสูบบุหรี่โดยประเมินระดับคาร์บอนมอนนอกไซด์ในลมหายใจออก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) ผลการทดลองพบว่า ผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกในกลุ่มทดลองเลิกบุหรี่ในระยะสั้นได้ 10 คน ส่วนกลุ่มควบคุมเลิกสูบได้เพียง 1 คน อัตราการเลิกบุหรี่ในช่วง 7 วันก่อนประเมินในผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโปรแกรมสร้างแรงจูงใจเพื่อเลิกบุหรี่สูงกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำแบบกระชับเพื่อเลิกบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p<.05)
Other Abstract: This quasi experimental research is aimed to examine the effect of the motivation to quit smoking program in male orthopedic patients. The study samples were 60 smoking patients undergoing orthopedic surgery at Lerdsin Hospital. The patients were equally divided into the control group and the experimental group, 30 patients each. They were matched by the number of cigarettes smoked per day. The control group received a brief advice on smoking cessation 3 times, 15-20 minutes each while the experimental group participated in the 2-week motivation program on quit smoking based on the protection motivation theory. The program is aimed to increase perceived severity on smoking and promote response efficacy and self-efficacy on smoking cessation. The instruments used to collect data were self-reported demographic questionnaire and smoking questionnaire. Smoking cessation was determined by a combination of self-report using 7-day point prevalence and biochemical verification (breath carbon monoxide). The results showed that 10 patients in the experimental group could quit smoking while only 1 in the control group could. The 7-day point prevalence quit rate at 2 month follow up was significantly greater in the intervention group ( 33.3 % , 3.3% ) than the control group (P<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49931
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.741
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.741
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577220336.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.