Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49932
Title: ผลของกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้สุวคนธบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
Other Titles: THE EFFECT OF NURSING CARE USING AROMATHERAPY ON SLEEP QUALITY IN OLDER PERSONS WITH DEMENTIA
Authors: สายฝน อินศรีชื่น
Advisors: ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: การนอนหลับ -- ปัจจัยเกี่ยวกับอายุ
การบำบัดด้วยกลิ่น
ภาวะสมองเสื่อม
Sleep -- Age factors
Aromatherapy
Dementia
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ก่อนและหลังได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้สุวคนธบำบัด และเปรียบเทียบคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระหว่างกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้สุวคนธบำบัด กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ระยะที่ 1 และ 2 เพศชายและหญิง อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 85 ปี ในสถานพยาบาลเดอะซีเนียร์ จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม 22 คน จับคู่กลุ่มตัวอย่าง (Matched pair) เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วย เพศ อายุ ระยะของภาวะสมองเสื่อม ระดับคุณภาพการนอนหลับ การรับยาที่มีผลต่อการนอนหลับ โดยให้กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการใช้กิจกรรมการพยาบาลร่วมกับการใช้สุวคนธบำบัด เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ โปรแกรมการใช้กิจกรรมการพยาบาลร่วมกับการใช้สุวคนธบำบัด ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีความตรงเชิงเนื้อหา .92 การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test Independent) ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพการนอนหลับ ของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมหลังได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้สุวคนธบำบัดดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) 2. คุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม กลุ่มที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยใช้สุวคนธบำบัดดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05)
Other Abstract: This quasi-experimental research aimed to compare sleep quality in older persons with dementia before and after receiving nursing care using aromatherapy, and to compare sleep quality in older persons with dementia between the experimental group and control group. The subjects were 44 men and women aged 60 – 85 years in the Senior Hospital. They were divided into 2 groups: 22 persons in each group, and were matched pair by sex, age, stage of dementia, medication affecting to sleep. The control group received conventional nursing care while the experimental group received the nursing care using aromatherapy for four weeks. The instruments of this study were the nursing care with aromatherapy program which was approved by 5 experts, obtaining a CVI of .92. The Pittsburgh Sleep Quality Index, acceptable reliability at .83. The data were analyzed using descriptive and t- test statistics. The results are summarized as follows: 1. The quality of sleep in older persons with dementia after received the nursing care using aromatherapy was significantly better than before received program. (p < .05). 2. The quality of sleep in older persons with dementia after received the nursing care using aromatherapy was significantly better than the subject receiving conventional care. (p < .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49932
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577227836.pdf9.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.