Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/501
Title: การพัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมงานเพื่อสงเสริมผลการเรียนรู้การอ่านสำหรับนิสิตนักศึกษา
Other Titles: The development of an English reading strategy instruction model based on collaborative learning principles for enhancing reading learning outcomes of university students
Authors: อารีรักษ์ มีแจ้ง, 2506-
Advisors: อาภัสรา ชินวรรโณ
สุภาณี ชินวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Apasara.C@Chula.ac.th
Supanee.C@Chula.ac.th, Supanee.C@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาอังกฤษ--การอ่าน
ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
การเรียนรู้ร่วมกัน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมงานเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้การอ่านสำหรับนิสิตนักศึกษา 2) ศึกษาผลการเรียนรู้การอ่านของกลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยใชัรูปแบบที่พัฒนาขึ้นใน 3 ด้าน คือ ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ พฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่าน และพฤติกรรมการทำงานร่วมกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมงานเป็นรูปแบบที่เน้นการสอนกลวิธีการอ่าน 5 กลวิธี ได้แก่ การเชื่อมโยงความรู้ การทำนายความ การทำความเข้าใจให้กระจ่าง การตั้งคำถาม และการสรุปย่อ กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นกระตุ้น เป็นการสร้างความสนใจเกี่ยวกับกลวิธี ขั้นสร้างความเข้าใจ เป็นการให้ผู้เรียนทำความคุ้นเคยกับกลวิธี ขั้นประยุกต์ใช้ เป็นการให้ผู้เรียนฝึกใช้กลวิธีการอ่านด้วยตนเอง และขั้นสรุป เป็นการสรุปความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านและเกี่ยวกับกลวิธีการอ่าน ตลอดการเรียนการสอน ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มย่อย มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเกี่ยวกับบทอ่าน และกลวิธีที่ใช้ในการอ่าน ผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก และคอยให้ความช่วยเหลือ 2. เมื่อนำรูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมงานที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มพบว่า 2.1 นิสิตคณะมนุษยศาสตร์และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2 นิสิตคณะเภสัชศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองสูงกว่านิสิตคณะมนุษยศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.3 นิสิตคณะมนุษยศาสตร์และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์มีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่านหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.4 นิสิตคณะมนุษยศาสตร์มีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่านหลังการทดลองไม่แตกต่างจากนิสิตคณะเภสัชศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.5 นิสิตคณะมนุษยศาสตร์และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์มีพฤติกรรมการทำงานร่วมกันแตกต่างกันในประเด็นเกี่ยวกับการจัดการภายในกลุ่ม และบรรยากาศในการทำงาน แต่นิสิตทั้งสองกลุ่มใช้โครงสร้างของพฤติกรรมทางวาจาที่คล้ายคลึงกัน
Other Abstract: The purposes of this research were; 1) to develop an English reading strategy instruction model based on collaborative learning principles for enhancing reading learning outcomes of university students 2) to study reading learning outcomes of the students after learning through the developed model in 3 main aspects: English reading ability, reading behaviors, and collaborative work processes. The results of the research were as follows: 1. The instruction model focused on teaching 5 reading strategies namely, making connection, predicting, clarifying, questioning, and summarizing . The instructional processes involved 4 steps: introducing the strategy - to activate students' interest about the strategy; building an understanding - to familiarize students with the strategy; applying the strategy - to practice the strategy in a new context; and wrapping up - to assess students' comprehension of the text and their understanding about the strategy. Throughout the processes students worked collaboratively in group discussions in which they expressed their ideas about the text and the strategies while the teacher acted as a facilitator who provided guidance and support. 2. When the developed model was implemented, it was found that: 2.1 The average scores of the English reading ability after learning through the developed model of the humanities students and the pharmaceutical sciences students were higher than before learning through the developed model at .01 level of significance. 2.2 The average scores of the English reading ability after learning through the developed model of the pharmaceutical sciences students were higher than those of the humanities students at .01 level of significance. 2.3 The average scores of reading behaviors concerning the strategies used after learning through the developed model of the humanities students and the pharmaceutical sciences students were higher than before learning through the developed model at .01 level of significance. 2.4 The average scores of reading behaviors concerning the strategies used after learning through the developed model of the humanities students and the pharmaceutical sciences students were not statistically different at .01 level of significance. 2.5 The humanities students and the pharmaceutical sciences students had different collaborative work processes in terms of group management, and working atmosphere, but they employed the same types of verbal patterns.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/501
URI: http://doi.org/ 10.14457/CU.the.2004.332
ISBN: 9741764952
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.332
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Areerug.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.