Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50100
Title: | การประกอบสร้างความหมายของผู้ใช้จักรยานในรายการโทรทัศน์ "ฮิวเมินไรด์จักรยานบันดาลใจ" |
Other Titles: | THE CYCLISTS' CONSTRUCTION OF MEANING IN "HUMAN RIDE" TV PROGRGAM |
Authors: | จุฑากานต์ ทองทั้งสาย |
Advisors: | เจษฎา ศาลาทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jessada.Sa@Chula.ac.th,jess.salathong@gmail.com |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาเรื่องการประกอบสร้างความหมายของผู้ใช้จักรยานในรายการโทรทัศน์ “ฮิวเมินไรด์จักรยานบันดาลใจ” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การประกอบสร้างความหมายของผู้ใช้จักรยานในรายการโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทในรายการจำนวน 2 ซีซั่น จำนวนรวมทั้งสิ้น 27 ตอน รวมถึงศึกษาการรับรู้และการถอดรหัสความหมายที่ถูกลงรหัสไว้ในตัวบทของผู้รับสารซึ่งจะใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มผู้รับสารที่เป็นผู้ใช้จักรยานและไม่ได้เป็นผู้ใช้จักรยาน ผลจากการวิเคราะห์ตัวบทผ่านโครงเรื่อง ตัวละคร จุดยืนของผู้เล่าเรื่อง การสื่อสารความหมายด้วยภาพ และการสื่อความหมายด้วยเสียง ผู้วิจัยพบว่า ผู้ผลิตรายการมีการประกอบสร้างความหมายของผู้ใช้จักรยานที่ปรากฏรายการมีทั้งหมด 9 ประเด็น ได้แก่ 1) ผู้ใช้จักรยานมีลักษณะที่หลากหลายในสังคมทั้งในมิติด้านเพศ วัย สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ และพื้นที่ของผู้ใช้จักรยาน 2) ผู้ที่แข่งขันกับตัวเอง 3) ผู้ที่ต้องการการยอมรับทางสังคม 4) ผู้ที่มีจิตสำนึกรักท้องถิ่นของตนเอง 5) ผู้ที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้อื่นและส่วนรวม 6) ผู้ที่สร้างมิตรภาพที่ดีต่อกัน 7) ผู้ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม 8) ผู้ที่มีวิถีในการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายและสามารถพึ่งพาตนเองได้ และ9) ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เอื้อต่อการขี่จักรยาน ในส่วนการรับรู้และถอดรหัสความหมายของผู้รับสาร พบว่า ผู้รับสารมีการรับรู้และถอดรหัสความหมายของผู้ใช้จักรยานแบบจุดยืนเดียวกับที่ได้ลงรหัสไว้มากที่สุดเป็นจำนวนทั้งหมด 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ประเด็นเรื่องผู้ใช้จักรยานมีลักษณะที่หลากหลายในสังคม 2) ผู้ใช้จักรยานคือผู้ที่แข่งขันกับตัวเอง 3)ผู้ใช้จักรยานคือคนที่สร้างมิตรภาพที่ดีต่อกัน และ4) ผู้ใช้จักรยานคือคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เอื้อต่อการขี่จักรยาน ซึ่งชี้ให้เห็นอิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ที่สามารถประกอบสร้างภาพของผู้ใช้จักรยานขึ้นมาด้วยการถ่ายทอดเรื่องราวจากความเป็นจริงไปยังผู้รับสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ปฏิกิริยาของผู้รับสารจะแตกต่างกันออกไปโดยส่วนใหญ่กลุ่มผู้รับสารที่ใช้จักรยานจะถอดรหัสความหมายด้วยประสบการณ์ตรงของตนเองในขณะที่ผู้รับสารที่ไม่ได้ใช้จักรยานจะใช้ประสบการณ์ผ่านสื่อในการถอดรหัสความหมาย |
Other Abstract: | The research about The Cyclists’ Construction of Meaning in “Human Ride” TV Program is qualitative research. This research aims to analyze the cyclists’s construction of meaning in tv program by using textual analysis to analyze both seasons of “Human Ride” which had 27 episodes in total. This study also focuses on the perception and decoding of audiences in tv program by using in-depth interview audiences who are cyclists and non-cyclists. The findings, which composed of plot, characters, narrator standpoint, communication through visual and communication through sound, show that the producers construct 9 aspects including the types of people who: 1) have variety in 4 dimensions in consist of different genders, ages, social status, and cycling areas 2) challenge themselves 3) need social acceptance 4) aware of homeland 5) consider others’ benefit 6) build good relationship 7) concern with environment 8) live sufficiency lives and depend on themselves and 9) live in area that have facilitate cycling As in perception and decoding of audiences, the research finds that most of audiences are able to decode message as prefer coding for 4 aspects as follow: 1) have variety in 4 dimensions in consist of different genders, ages, social status, and cycling areas 2) challenge themselves 3) build good relationship and 4) live in area that have facilitate cycling which indicates influence of broadcasting that can construct image of cyclists by conveying fact to audiences efficiently. In addition, reaction of audiences are different. Cyclists group mostly uses directed-experience to decode meaning while most of non-cyclists group decodes meaning by mass-media experience. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50100 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5684658828.pdf | 9.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.