Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50120
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชนัตต์ รัตนสุมาวงศ์ | en_US |
dc.contributor.author | ธีรเดช ฤทธิ์ไกรเกรียง | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-11-30T05:43:10Z | |
dc.date.available | 2016-11-30T05:43:10Z | |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50120 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | ในการศึกษาเกี่ยวกับภาระและความเค้นบนหน้าฟันเฟืองที่ผ่านมามีการใช้ผลเฉลยการสัมผัสของเฮิรตซ์ และระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ในปัญหานี้กันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามมีจำนวนน้อยที่ใช้ทั้งสองวิธีควบคู่เพื่อสอบทวนกัน นอกจากนี้การแบ่งภาระระหว่างฟันขณะที่ฟันขบกันสองคู่ ก็ยังเป็นปัญหาที่ยังไม่มีผลสรุปในการวิจัยที่ชัดเจน ในวิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งที่จะหาการกระจายความเค้นบนหน้าฟันเฟืองตรงตลอดช่วงการขบรวมถึงการแบ่งภาระระหว่างคู่ฟัน โดยสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ซึ่งประยุกต์ใช้ผลเฉลยการสัมผัสของเฮิรตซ์ และใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ในการแก้ปัญหา โดยคำนวณกับชุดเฟืองจำนวน 9 ชุด ซึ่งมีพารามิเตอร์ต่างๆ กันโดยเปลี่ยนค่าโมดูลตั้งแต่ 2 ถึง 5 มม. มุมกดเท่ากับ 14.5° 20° และ 25° และจำนวนฟันในช่วง 30 ถึง 60 ซี่ โดยคำนวณที่ภาระ 250 Nm การคำนวณโดยแบบจำลองจะพิจารณาการขบกันของฟันเฟือง เสมือนกับการกดอัดกันของผิวทรงกระบอกคู่หนึ่ง ซึ่งมีรัศมีเท่ากับรัศมีส่วนโค้งอินโวลูตของฟันเฟืองที่ขบในขณะนั้น สำหรับการคำนวณโดยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์จะใช้สมมุติฐานความเครียดในระนาบ ทำให้สามารถลดรูปปัญหาเป็นปัญหาสองมิติได้ ในการศึกษานี้ยังได้คำนวณด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสามมิติด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้กับเฟืองชนิดอื่นๆ ที่ไม่สามารถลดรูปเป็นปัญหาสองมิติได้ ผลการคำนวณพบว่าความเค้นที่ได้จากทั้งสองวิธีสอดคล้องกัน โดยมีค่าความแตกต่างไม่เกิน 15% และทำให้ทราบอัตราส่วนการแบ่งภาระขณะขบสองคู่ฟันที่เหมาะสมสำหรับชุดเฟืองคู่นั้นๆ ผลที่ได้ยังทำให้ทราบความสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ของเฟืองกับอัตราส่วนการแบ่งแรง โดยเมื่อชุดเฟืองมีโมดูล มุมกด และจำนวนฟันเพิ่มมากขึ้น สัดส่วนการแบ่งภาระระหว่างสองคู่ฟันจะใกล้เคียง 50:50 มากขึ้น เมื่อนำวิธีการที่ใช้ในการศึกษานี้ไปคำนวณเพื่อเปรียบเทียบกับผลของนักวิจัยอื่น ก็พบว่าผลที่ได้สอดคล้องกัน สำหรับผลการคำนวณด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสามมิติพบว่า ผลที่ได้สอดคล้องกับผลจากแบบจำลอง และยืนยันได้ว่าการกระจายความเค้นตลอดหน้าฟันสม่ำเสมอ ซึ่งแสดงว่ากระบวนการคำนวณมีความถูกต้อง และสามารถนำไปประยุกต์กับปัญหาทำนองเดียวกันของคู่เฟืองชนิดอื่นได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | In many previous studies, the Hertzian contact solution and the finite element method were widely used to study load and stress on gear tooth. However, there are few pieces that use both methods to verify against each other. Moreover, the load sharing ratio during double teeth meshing is still unclear. The stress distribution on the tooth surface of a spur gear pair and the load sharing ratio are focused in this research. Calculations here are done by inventing a mathematical model based on the Hertzian contact solution and applying the finite element method in the 9 spur gear sets with various parameters by changing module from 2 to 5 mm., pressure angles at 14.5° 20° and 25° and the number of teeth from 30 to 60. Calculations were done at torque 250 Nm. In the mathematical model, the gear tooth meshing is modeled as a compression of two cylinders having the same radii as the radii of involute curves of tooth profile meshing at that time. For the calculating by the finite element method, the plain strain assumption is used to simplify the problem to a 2D problem. The 3D finite element calculation is also conducted as a guideline for application in other types of gear which cannot be simplified to a 2D problem. The results show that the stresses calculated from both methods are conformable. The differences between two methods are less than 15%. From the results, the load sharing during double teeth meshing is known. Furthermore, relationships between load sharing ratio and gear parameters are also found. The load sharing ratio between two meshing pairs is approached 50:50 when the module, pressure angle or the number of teeth is increased. In addition, the method presented here is used, and the result is compared to the result reported by another researcher. It is found that the results are agreeable. In the end, the result calculated from the 3D finite element method is well comparable with the result from the mathematical model. The stress along the face width direction is uniformly distributed. These results verify that the calculation is correct and can be applied to other gear types. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1283 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การกระจายความเค้น | |
dc.subject | เฟือง | |
dc.subject | ไฟไนต์เอลิเมนต์ | |
dc.subject | Stress concentration | |
dc.subject | Gearing | |
dc.subject | Finite element method | |
dc.title | การกระจายความเค้นบนหน้าฟันเฟืองตรงโดยการใช้ผลเฉลยการสัมผัสของเฮิรตซ์และระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ | en_US |
dc.title.alternative | Stress distribution on spur gear tooth surface by using Hertzian contact solution and finite element method | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมเครื่องกล | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Chanat.R@Chula.ac.th,Chanat.R@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.1283 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770427921.pdf | 16.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.