Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50149
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชัย สิทธิศรัณย์กุลen_US
dc.contributor.advisorณัทธร พิทยรัตน์เสถียรen_US
dc.contributor.authorรัตนศักดิ์ สันติธาดากุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:01:00Z
dc.date.available2016-12-01T08:01:00Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50149
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการประเมินผลการบำบัดเด็กสมาธิสั้น โดยการวิจัยแบบผสมผสานจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง การสำรวจความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญด้วยกระบวนการเดลฟาย และทดลองใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้น การวิจัยระยะที่ 1 เพื่อพัฒนาเครื่องมือ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ1.ผู้ปกครองจำนวน 11 ราย และ2.สหวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นจำนวน 29 ราย ส่วนระยะที่ 2 เพื่อทดสอบคุณภาพเครื่องมือในเด็กสมาธิสั้นจำนวน 180 ราย และศึกษาปัจจัยทำนายผลลัพธ์การบำบัดเพื่อสรุปเป็นรูปแบบในการประเมินผลลัพธ์การบำบัดเด็กสมาธิสั้นในผู้ป่วยจำนวน 348 ราย ผลการวิจัย พบว่ามีแบบสอบถามทางจิตวิทยา/พฤติกรรมจำนวน 7 ฉบับที่ผ่านฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญ โดยแบบสำรวจตัวชี้วัดผลลัพธ์การบำบัดเด็กสมาธิสั้นมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.60 จัดอยู่ในระดับ ปานกลาง และมีค่าความไวเท่ากับ ร้อยละ 80.6 และ ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 76.6 มีค่าพื้นที่ใต้โค้งเท่ากับ 0.83 ถือว่าอยู่ในระดับเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับการประเมินจากคณะจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นจำนวน 3 ท่าน โดยมีตัวแปรที่ทำนายผลลัพธ์การบำบัดเด็กสมาธิสั้นได้อย่างมีนัยสำคัญ(p<.05) ได้แก่ ผลการเรียน และ ความร่วมมือในการรักษา ส่วนปัจจัยด้านจิตวิทยา/พฤติกรรมเรียงตามลำดับความสามารถในการทำนาย ได้แก่ 1. คุณภาพชีวิต 2.อาการสมาธิสั้น. 3.สถานการณ์ปัญหาในบ้าน 4.ภาระการดูแลเด็ก ปัจจัยเหล่านี้สามารถเลือกใช้ตามลำดับเพื่อประเมินผลการบำบัดเด็กสมาธิสั้นในระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน ดังนั้นควรออกแบบการบำบัดรักษาจากปัจจัยเหล่านี้และนำชุดเครื่องมือดังกล่าวนี้ติดตามคุณภาพการบำบัดรักษาเด็กสมาธิสั้นในหน่วยบริการต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe study aimed to develop ADHD treatment outcome evaluation, and parent’s perspectives. Mixed methods were used which divided into 2 phases. The first phase, 11 parents of ADHD children and 29 mental health professionals were interviewed and used Delphi conference to develop the instrument. Then the second phase had the objective to test the quality of the tool. One hundred and eighty ADHD cases were evaluated for the outcome predictors. Results showed that 7 of the evaluation tools are consensually agreed by the experts. While the ADHD clinical outcome checklist showed fair reliability of 0.60, with good sensitivity and specificity at 0.80 and 0.76, respectively. The area under ROC curve is of good level (0.83) compared with gold standard. Academic achievement, compliance, quality of life, ADHD symptoms, family situation and burden of parents are good outcome predictors (p<.05). The study suggests that these factors be evaluated for clinical outcomes at 3 and 6 months. Furthermore, these should be considered in treatment services design and follow up clinical outcome by this tool to maintain the quality of services.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.684-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเด็กสมาธิสั้น -- การปรับพฤติกรรม
dc.subjectเด็กสมาธิสั้น -- การปรับพฤติกรรม -- การประเมิน
dc.subjectAttention-deficit-disordered children -- Behavior modification
dc.subjectAttention-deficit-disordered children -- Behavior modification -- Evaluation
dc.titleการพัฒนารูปแบบในการประเมินผลลัพธ์การบำบัดเด็กสมาธิสั้น ณ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์en_US
dc.title.alternativeThe development of treatment outcomes assessment modality for children with attention-deficit/hyperactivity disorder at child and adolescent mental health Rajanagarindra Instituteen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPornchai.Si@Chula.ac.th,psithisarankul@gmail.comen_US
dc.email.advisorNuttorn.P@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.684-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5375358830.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.