Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50160
Title: การรับอนุภาคลงท้าย “นะ” และ “สิ” ของผู้เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง
Other Titles: The acquisition of the Thai final particles Na and Si by learners of Thai as a second language
Authors: สุมินตรา มาคล้าย
Advisors: ธีราภรณ์ รติธรรมกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Theeraporn.R@Chula.ac.th,Theeraporn.R@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- คำช่วย
ภาษาไทย -- การใช้ภาษา
Thai language -- Particles
Thai language -- Usage
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หน้าที่การสื่อสารและวัจนกรรมของถ้อยคำที่มีการปรากฏของอนุภาคลงท้าย “นะ” และ “สิ” ในภาษาไทย ศึกษาการรับอนุภาคลงท้าย “นะ” และ “สิ” ของผู้พูดภาษาญี่ปุ่นที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองและผู้พูดภาษาอังกฤษที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง และเปรียบเทียบการรับอนุภาคลงท้าย “นะ” และ “สิ” ของผู้เรียนภาษาที่สองทั้งสองกลุ่มกับการใช้อนุภาคลงท้ายดังกล่าวของเจ้าของภาษา ผู้วิจัยได้วิเคราะห์หน้าที่การสื่อสารและวัจนกรรมของถ้อยคำที่มีการปรากฏของอนุภาคลงท้าย “นะ” และ “สิ” จากข้อมูลในคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ พบว่าอนุภาคลงท้าย “นะ” มีหน้าที่การสื่อสาร 3 หน้าที่ คือ ทำให้ถ้อยคำมีความอ่อนโยน เน้นย้ำถ้อยคำให้เด่นชัด และเกริ่นนำหัวเรื่องให้เด่นชัด ส่วนวัจนกรรมของถ้อยคำที่มีการปรากฏของอนุภาคลงท้าย “นะ” มีทั้งหมด 4 วัจนกรรม คือ วัจนกรรมบรรยาย วัจนกรรมกำหนดให้ทำ วัจนกรรมผูกมัด และ วัจนกรรมแสดงความรู้สึก ในขณะที่อนุภาคลงท้าย “สิ” มีหน้าที่การสื่อสาร 4 หน้าที่ คือ ทำให้ถ้อยคำมีอำนาจ ทำให้ถ้อยคำมีความหนักแน่น แสดงให้เห็นว่าผู้พูดไม่มีความสนใจร่วม และเกริ่นนำหัวเรื่องแบบแย้ง ส่วนวัจนกรรมของถ้อยคำที่มีการปรากฏของอนุภาคลงท้าย “สิ” มีทั้งหมด 3 วัจนกรรม คือ วัจนกรรมบรรยาย วัจนกรรมกำหนดให้ทำ และวัจนกรรมแสดงความรู้สึก ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลการใช้อนุภาคลงท้าย “นะ” และ “สิ” จากผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าของภาษา ผู้พูดภาษาญี่ปุ่นที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง และผู้พูดภาษาอังกฤษที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง จำนวนกลุ่มละ 20 คน ผลการวิจัยของการใช้อนุภาคลงท้ายทั้งสองในละครจำลองสถานการณ์ (role play) และการจับคู่สนทนาในสถานการณ์ที่กำหนด (pair discussion) พบว่ากลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งสามกลุ่มใช้อนุภาคลงท้าย “นะ”และ “สิ” ในแง่ความถี่ ความหลากหลายของหน้าที่การสื่อสาร และวัจนกรรมโดยรวมไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยจากแบบทดสอบวัดความเข้าใจแบบปรนัย (multiple choice test) พบว่าเจ้าของภาษาสามารถเข้าใจหน้าที่การสื่อสารและวัจนกรรมของถ้อยคำที่มี “นะ” และ “สิ” มากกว่ากลุ่มผู้เรียนภาษาที่สองทั้งสองกลุ่ม ซึ่งความแตกต่างนี้สามารถอธิบายได้ด้วยวัตถุประสงค์และลักษณะของเครื่องมือที่แตกต่างกัน กล่าวคือ เครื่องมือละครจำลองสถานการณ์และการจับคู่สนทนาในสถานการณ์ที่กำหนดมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภาษาจริงของผู้ให้ข้อมูลที่เป็นธรรมชาติ ผู้ให้ข้อมูลสามารถเลือกใช้ภาษาและอนุภาคลงท้ายที่ตนเองรู้และใช้เป็น ในขณะที่แบบทดสอบวัดความเข้าใจแบบปรนัยต้องการทดสอบความเข้าใจในหน้าที่การสื่อสารของอนุภาคลงท้าย “นะ” และ “สิ” และวัจนกรรมของถ้อยคำที่มีการปรากฏของอนุภาคลงท้าย “นะ” และ “สิ” ทั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลยังต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างอนุภาคลงท้าย “นะ” และ “สิ” กับอนุภาคลงท้ายอื่นๆ ด้วย นอกจากนี้ ผู้ให้ข้อมูลต้องเลือกคำตอบในบริบทต่างๆ ที่ไม่สามารถกำหนดได้เอง ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้เรียนภาษาที่สอง โดยสรุปงานวิจัยนี้พบว่าผู้เรียนภาษาที่สองที่ภาษาแม่มีอนุภาคลงท้ายและไม่มีอนุภาคลงท้ายสามารถรับอนุภาคลงท้ายในภาษาที่สองได้ไม่แตกต่างกัน แต่อาจจะยังไม่ได้ในระดับที่ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา
Other Abstract: This dissertation aims to analyze communicative functions of the Thai final particles na and si and speech acts of utterances in which they occur, and to explore the use of na by Japanese learners of Thai and English learners of Thai, comparing to that of native speakers. The study consists of two parts. The first part involves an analysis of na and si using data from the Thai National Corpus (TNC). The findings show that na has three main communicative functions. It is used to soften the tone of an utterance, to emphasize an utterance, and to mark a topic of an utterance in order to call for attention. Four speech acts are found with utterances containing na, namely, representative, directive, commissive and expressive. As for si, the analysis shows that it has four communicative functions. It is used to increase authority, to make a firm utterance, to show no interest, and to mark a topic of an utterance in order to contradict a previous utterance. Three speech acts of si are representative, directive and expressive. The second part of this research concerns the use of na and si by native Thai speakers, Japanese learners of Thai, and English learners of Thai. The results show that in role play and pair discussion tasks, the overall uses of na and si by the three groups of participants are not significantly different in terms of frequency, variety of communicative functions, and speech acts. On the other hand, in the multiple choice test, it is found that the native speakers perform better than the two groups of learners with regard to both communicative functions and speech acts of na and si. The disparity can be accounted for by the objective and nature of the different tasks. The role play and pair discussion tasks aim to examine the use of final particles in natural conversations, and participants can freely choose which final particles to use. The multiple choice test, on the other hand, tests participants’ comprehension of na and si, in contrast with other final particles. Contexts of utterances are also predetermined. This may pose difficulty for second language learners. It can be concluded that the Thai final particles na and si can be acquired by the second language learners of Thai whose first language has or does not have final particles. However, the learners’ comprehension of the Thai final particles may not have yet reached the level of the native speakers.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50160
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.953
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.953
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5380181722.pdf6.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.