Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50180
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorSudson Sirivaidyapongen_US
dc.contributor.authorNicole Sirisopit Mehlen_US
dc.contributor.otherChulalongkorn University. Faculty of Veterinary Scienceen_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:01:41Z-
dc.date.available2016-12-01T08:01:41Z-
dc.date.issued2015en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50180-
dc.descriptionThesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2015en_US
dc.description.abstractThe main objective of this study was to investigate the effect of GnRH-agonist (Deslorelin) implantation on the sexual behavior, reproductive function and gonadal Luteinizing hormone receptor (LHR) and Follicular stimulating hormone receptor (FSHR) expression in pre-pubertal male and female cats. The study had two main parts. In the first part of the study two experiments were performed. The 1st experiment was conducted to investigate the effect of GnRH-agonist implantation on sexual behavior, reproductive performance and expression of testicular LHR and FSHR in pre-pubertal tomcats, and in the 2nd experiment testicular characteristics, and LuteinLHR and FSHR expression were compared between pre-pubertal and adult tomcats (n = 6 / group). In Expt.1, 3 months-old tomcats (n=6/group) were either implanted with or left without 4.7 mg deslorelin implants for a period of 48 weeks. Semen collection and evaluation were performed just before castration after 48 weeks of treatment; removed testes were analyzed for mRNA and protein expression of LHR and FSHR. Body weight and testicular volume were compared between groups using Independent t-test. General linear model (GLM) was performed to compare the protein and mRNA expression of LHR and FSHR and the epididymal weight. Wilcoxon rank sum test was performed to compare the testicular weight, the mean diameter of seminiferous tubules and the grade of seminiferous tubules between groups. It was possible to collect semen from all the control cats, whereas semen could not be collected in implanted cats. Sexual behavior was absent in the deslorelin-implanted cats throughout the study period whereas it was present in the control cats from 28th week of the experiment onwards. Testicular volume started to decrease from 30th week of the implantation onwards compared to the controls (P < 0.05). Testicular tissue score, seminiferous tubule diameter and LHR protein expression were found to be significantly lower in the implanted cats (P < 0.05) but no differences were observed in mRNA expression of LHR and protein expression of FSHR between groups. The mRNA expression of FSHR was higher in the implanted (P < 0.05) compared to control cats. In Expt. 2, testes from pre-pubertal (n=6) and adult (n=6) male cats were collected after castration and analyzed for mRNA and protein expression of LHR and FSHR. No difference were observed in the protein expression of LHR and FSHR between the two groups, while mRNA expression of FSHR was higher in pre-pubertal cats (P < 0.05) compared to adult ones. Testicular and epididymal weight, diameter of seminiferous tubules and the testicular grade were higher in the adult compared to pre-pubertal cats (P < 0.05). The second part of the study was performed in prepubertal female cats; they were either implanted with 4.7 mg deslorelin (Group 1: n=6) or left without implants (Group 2: n =18; Group 3: n =6). Body weights, fecal estradiol and sexual behavior of cats in Groups 1 and 2 were monitored for 48 weeks followed by collection of their ovaries and uteri. Ovaries and uteri were collected from the control cats (Group 2) at their follicular, luteal and inter-estrus stage (n = 6/group) of the estrous cycle. Ovaries and uteri were collected from cats in Group 3 while they were still pre-pubertal. Both ovaries and uteri were analyzed for anatomical and histological characteristics. Ovaries were also analyzed for LHR and FSHR protein and mRNA expression. Data were statistically analyzed; body weights were compared between Groups 1 and 2 by Independent T-test and GLM was used to compare the ovarian weight, endometrial gland diameter, thickness of endometrium and myometrium, number of primordial, primary, secondary and antral follicles, and the mRNA and protein expression of LHR and FSHR among the experimental groups. The control cats had significantly higher (P < 0.05) body weight compared to implanted cats only during the 22nd to 26th week of the experimental period. Unlike the control cats, neither fecal estradiol peak nor estrus behavior was observed in the implanted cats. Deslorelin significantly (P < 0.05) reduced the ovarian weight and the number of antral follicles. Endometrial thickness and gland diameter were not affected by deslorelin. However, myometrial thickness of the implanted cats was significantly (P < 0.05) lower than the control cats at the follicular and luteal stage. Ovarian LHR mRNA expression was significantly (P < 0.05) lower in the implanted compared to the control cats at follicular stage of estrous cycle. FSHR mRNA and LHR protein expression did not differ among the 3 groups. FSHR protein expression was, however, significantly (P < 0.05) lower in pre-pubertal cats but was not affected by deslorelin-implantation. In summary GnRH-agonist implantation of pre-pubertal male and female cats suppressed their sexual behavior and reproductive function without any adverse effects for at least 48 weeks. In male cats, the GnRH-agonist implants suppressed the protein expression of LHR and enhanced mRNA expression of FSHR along with suppression of reproductive function. In conclusion, GnRH-agonist implantation can be effectively used in pre-pubertal male and female cats to suppress their reproductive function and delay puberty without any adverse effects for at least 48 weeks. In female cats the ovarian weight, follicle development, estradiol production and myometrial thickness were suppressed by GnRH-agonist implantation possibly through a change in the ovarian mRNA expression of LHR.en_US
dc.description.abstractalternativeการทดลองดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ จีเอนอาร์เอช อะโกนิสต์ (เดสโรลีลิน) ต่อพฤติกรรมทางเพศ สมรรถนะของระบบสืบพันธุ์ และการแสดงออกของโปรตีนและmRNA ของตัวรับฮอร์โมน LH และ FSH ในแมวเพศผู้และเพศเมียก่อนวัยเจริญพันธุ์ การศึกษาในส่วนแรก เป็นการทดลองเพื่อศึกษาถึงผลของการฝังฮอร์โมน จีเอนอาร์เอช อะโกนิสต์ ในแมวเพศผู้ก่อนถึงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อศึกษาถึงผลของการฝังฮอร์โมนต่อพฤติกรรมทางเพศ สมรรถนะทางระบบสืบพันธุ์ การแสดงออกของตัวรับของลูทิไนซิงฮอร์โมน (LH) และฟอลิคูลาร์สติมูเลติงฮอร์โมน (FSH) และเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพของอัณฑะ และเนื้อเยื่ออัณฑะ ระหว่างแมวเพศผู้ก่อนถึงวัยเจริญพันธุ์ และแมวเพศผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์แล้ว ในส่วนแรกของการทดลองดังกล่าว ใช้แมวเพศผู้อายุ 3 เดือน 2 กลุ่ม โดยมีแมวจำนวนกลุ่มละ 6 ตัว แมวกลุ่มแรกจะได้รับการฝังฮอร์โมน เดสโลรีลิน ขนาด 4.7 มิลลิกรัม และกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝังฮอร์โมน หลังจากการฝังฮอร์โมน 48 สัปดาห์แมวทั้งสองกลุ่มถูกทำการรีดน้ำเชื้อ และตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ ก่อนที่จะทำหมันเพศผู้โดยการผ่าตัดต่อมา เนื้อเยื่ออัณฑะของแมวทั้งสองกลุ่มได้ถูกนำมาตรวจหาการแสดงออกของเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) และโปรตีนของตัวรับฮอร์โมน LH และFSH ในเนื้อเยื่ออัณฑะ น้ำหนักตัว และปริมาตรของอัณฑะของแมวทั้งสองกลุ่ม ถูกนำมาคำนวณเปรียบเทียบทางสถิติด้วยทีเทสต์ (T-Test) การแสดงออกของโปรตีน และ mRNA ของตัวรับฮอร์โมน LH และ FSH และ น้ำหนักของอีพิดิไดมิส ถูกนำมาคำนวณเปรียบเทียบทางสถิติด้วยเจนเนอรัล ลีเนียร์ โมเดล (GLM) ส่วนน้ำหนักของอัณฑะ เส้นผ่านศูนย์กลางของเซมินิฟเฟอรัสทิวบูล และคะแนนความสมบูรณ์ของเนื่อเยื่ออัณฑะ ถูกนำมาคำนวณปรียบเทียบทางสถิติด้วย วิลคอกซัน แรงค์ซัมเทสต์ (Wilcoxon rank sum test) จากการทดลองดังกล่าวสามารถเก็บน้ำเชื้อได้จากแมวกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝังฮอร์โมนเท่านั้น ส่วนแมวที่ได้รับการฝังฮอร์โมนนั้น ไม่สามารถทำการรีดเก็บน้ำเชื้อได้ และยังไม่พบการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศในแมวกลุ่มดังกล่าวตลอดระยะเวลาการทดลอง แต่แมวกลุ่มควบคุมนั้น มีการแสดงออกของพฤติกกรมทางเพศตั้งแต่ อาทิตย์ที่ 28 ของการทดลอง นอกจากนี้ยังพบว่าตั้งแต่สัปดาห์ที่ 30 หลังการทดลองนั้นปริมาตรของลูกอัณฑะของแมวกลุ่มที่ได้รับการฝังฮอร์โมนนั้น มีขนาดเล็กกว่ากลุ่มควบคุบอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า คะแนนการความสมบูรณ์พันธุ์ของเนื้อเยื่ออัณฑะ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเซมินิเฟอรัสทิวบูล และการแสดงออกของโปรตีนของตัวรับฮอร์โมน LH นั้นต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามจากการทดลองดังกล่าวนั้น ไม่พบความแตกต่างของการแสดงออกของ mRNA ของตัวรับฮอร์โมน LH และการแสดงออกของโปรตีนของตัวรับฮอร์โมน FSH ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม แต่พบว่าการแสดงออกของ mRNA ของตัวรับฮอร์โมน FSH ในกลุ่มควบคุมนั้นสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการฝังฮอร์โมนอย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนที่สองของการทดลอง ได้ทำการเก็บตัวอย่างอัณฑะ จากแมวเพศผู้ก่อนวัยเจริญพันธุ์จำนวน 6 ตัว และในวัยเจริญพันธุ์จำนวน 6 ตัว หลังจากได้รับการผ่าตัดทำหมันเพศผู้ เพื่อนำมาเนื้อเยื่ออัณฑะของแมวทั้งสองกลุ่มได้ถูกนำมาตรวจหา การแสดงออก mRNA และโปรตีน ของตัวรับฮอร์โมน LH และFSH ในเนื้อเยื่ออัณฑะ โดยไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างของการแสดงออกของ โปรตีนของตัวรับฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิด แต่พบว่า การแสดงออกของ mRNA ของตัวรับฮอร์โมน FSH ในเนื้อเยื่ออัณฑะของแมวก่อนวัยเจริญพันธุ์นั้นสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำหนักของอัณฑะ และอิพิดิไดมิส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเซมินิฟเฟอรัสทิวบูล และคะแนนความสมบูรณ์พันธุ์ของเนื้อเยื่ออัณฑะในแมววัยเจริญพันธุ์นั้น สูงกว่าแมวก่อนวัยเจริญพันธุ์อย่างมีนัยยะสำคัญ การศึกษาในส่วนที่สองนั้น ได้แบ่งแมวเพศเมียเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกนั้น เป็นแมวเพศเมียก่อนวัยเจริญพันธุ์จำนวน 6 ตัว ที่ได้รับการฝังฮอร์โมนเดสโลรีลิน ขนาด 4.7 มิลลิกรัม เมื่ออายุ 3 เดือน กลุ่มที่สอง (จำนวน 18 ตัว) และกลุ่มที่สาม (จำนวน 6 ตัว) เป็นแมวที่ไม่ได้รับการฝังฮอร์โมน แมวกลุ่มที่ 1 และ2 ถูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมเดียวกัน และถูกบันทึก น้ำหนัก ความเข้มข้นของฮอร์โมรเอสตราไดออล ในอุจจาระ และการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศ และการเป็นสัด ตลอดระยะเวลาการทดลอง (48 สัปดาห์) หลังจาก 48 สัปดาห์ของการทดลอง แมวกลุ่มแรก และกลุ่มที่สอง จะได้รับการผ่าตัดทำหมันเพศเมีย เพื่อเก็บรังไข่และมดลูกไปศึกษา โดยแมวในกลุ่มที่สองนั้น ได้รับการผ่าตัดเมื่ออยู่ในระยะฟอลลิคูลาร์ (6 ตัว) ระยะลูเตียล (6 ตัว) และระยะที่รังไข่ไม่มีการทำงาน (6 ตัว) ส่วนแมวในกลุ่มที่สามนั้น ได้รับการผ่าตัดทำหมันเพศเมีย เพื่อเก็บตัวอย่างรังไข่และมดลูกตั้งแต่ก่อนถึงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 3 เดือน) รังไข่ และมดลูกของแมวทั้งหมดถูกทำไปวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพโดยละเอียด นอกจากนี้ยังทำการตรวจหาการแสดงออกของ mRNA และโปรตีนของตัวรับฮอร์โมน LH และ FSH ในเนื้อเยื่อรังไข่ ในแต่ละกลุ่มการทดลอง ความแตกต่างของน้ำหนักตัวของแมวกลุ่มที่ 1 และ2 ถูกนำมาคำนวนเปรียบเทียบทางสถิติด้วย t-Test น้ำหนักของรังไข่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต่อมของผนังมดลูก ความหนาของผนังมดลูกในแต่ละชั้น จำนวนของฟอลิเคิล ชนิด ไพรโมเดียล ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และฟอลิเคิลขนาดใหญ่ และการแสดงออกของ mRNA และโปรตีนของตัวรับฮอร์โมน LH และ FSH ในเนื้อเยื่อรังไข่ ของแมวทั้ง 3 กลุ่มการทดลอง ถูกนำมาคำนวนเพื่อเปรียบเทียบทางสถิติด้วย GLM จากการทดลองดังกล่าวพบว่า แมวกลุ่มควบคุม (กลุ่มที่2) มีน้ำหนักตัวสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการฝังฮอร์โมนอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงสัปดาห์ที่ 22 ถึง 26 ของการทดลอง นอกจากนี้ยังพบว่าแมวในกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝังฮอร์โมนนั้น มีการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศ และพบการเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นของเอสตราไดอัลตามวงรอบการเป็นสัด ในขณะที่แมวในกลุ่มที่ถูกฝังฮอร์โมนนั้นไม่พบพฤติกรรม และการเปลี่ยนแปลงของเอสตราไดอัลดังกล่าว และจากการทดลองดังกล่าวยังพบว่า การฝังฮอร์โมนเดสโรรีลินนั้น ทำให้ น้ำหนักของรังไข่ และจำนวนของฟอลิเคิลขนาดใหญ่ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่มีผลต่อความหนาของมดลูกในชั้นเอนโดมีเทรียม และเส้นผ่านศูนย์กลางของต่อมของผนังมดลูก ความหนาของชั้นกล้ามเนื่อของมดลูกในแมวที่ได้รับการฝังฮอร์โมนนั้นลดลง เมื่อเทียบกับแมวกลุ่มควบคุมในระยะ ฟอลลิคูลาร์ และลูเตียล การทดลองดังกล่าวไม่พบการแตกต่างของการแสดงออกของ mRNA ของตัวรับฮอร์โมน FSH และโปรตีนของตัวรับฮอร์โมน LH ระหว่างกลุ่มการทดลอง แต่พบว่าการแสดงออก โดยสรุปแล้ว การฝังฮอร์โมนจีเอนอาร์เอช-อะโกนิสต์ ในแมวก่อนวัยเจริญพันธุ์เพศผู้ และเพศเมียนั้น ส่งผลต่อการระงับการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศ และสมรรถนะของระบบสืบพันธุ์ โดยไม่ส่งผลกระทบข้างเคียงต่อตัวสัตว์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 48 สัปดาห์ ในแมวเพศเมียนั้น น้ำหนักของรังไข่ การเจริญของฟอลลิเคิล การผลิตฮอร์โมนเอสตราไดออล และความหนาของชั้นกล้ามเนื้อของผนังมดลูก จะลดลงในแมวที่ได้รับการฝังฮอร์โมนจีเอนอาร์เอช-อะโกนิสต์ ซึ่งอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของการแสดงออกของ mRNA ของตัวรับฮอร์โมน LH ในเนื้อเยื่อรังไข่ ส่วนในแมวเพศผู้ที่ได้รับการฝังฮอร์โมน จีเอนอาร์เอช-อะโกนิสต์ นั้นพบว่ามีผลต่อการยับยั้งสมรรถนะการทำงานของระบบสืบพันธุ์ กดการแสดงออกของโปรตีนของตัวรับฮอร์โมน LH และส่งผลกระตุ้นการแสดงออกของ mRNA ของตัวรับฮอร์โมน FSHen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChulalongkorn Universityen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1034-
dc.rightsChulalongkorn Universityen_US
dc.subjectCats
dc.subjectCats -- Reproduction
dc.subjectReproductive technology
dc.subjectGnRH-Agonist (Deslorelin)
dc.subjectLuteinizing hormone releasing hormon -- Agonists
dc.subjectแมว
dc.subjectแมว -- การสืบพันธุ์
dc.subjectเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์
dc.subjectลูทิไนซิงฮอร์โมนรีลิสซิงฮอร์โมน
dc.titleEFFECT OF GnRH-AGONIST (DESLORELIN) IMPLANTATION ON REPRODUCTIVE PERFORMANCES IN EARLY PREPUBERTAL MALE AND FEMALE CATSen_US
dc.title.alternativeผลต่อสมรรถนะทางระบบสืบพันธุ์ภายหลังการฝังฮอร์โมน GnRH-agonist (Deslorelin) ในแมวเพศผู้ และเพศเมียก่อนวัยเจริญพันธุ์en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameDoctor of Philosophyen_US
dc.degree.levelDoctoral Degreeen_US
dc.degree.disciplineTheriogenologyen_US
dc.degree.grantorChulalongkorn Universityen_US
dc.email.advisorSudson.S@Chula.ac.th,sudson.s@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1034-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5475401131.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.