Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50197
Title: การสร้างอัตลักษณ์การออกแบบแฟชั่นโดยใช้แนวคิดภาพต้นแบบตราสินค้า
Other Titles: FASHION DESIGN IDENTITY BY USING THE BRAND ARCHETYPE CONCEPT
Authors: วรฐ ทรัพย์ศรีสัญจัย
Advisors: พัดชา อุทิศวรรณกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: upatcha@chula.ac.th,patcha.paris@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเรียนการสอนในสายวิชาการออกแบบแฟชั่นได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง แต่เนื่องจากองค์ความรู้ในด้านการออกแบบเกือบทั้งหมดเป็นองค์ความรู้ในส่วนของศิลปกรรมที่เน้นหนักทางรสนิยมความงาม หากแต่สินค้าแฟชั่นนั้นเป็นผลงานประยุกต์ศิลป์ที่มีการแข่งขันในตลาดสูง สมรภูมิทางจิตวิทยาที่จะสามารถเชื่อมความรู้สึกของผู้บริโภคให้รับรู้ถึงความงามนั้นๆจึงถือเป็นพื้นที่ใหม่ ที่จะสามารถสร้างคุณค่าให้กับตราสินค้า ดังนั้นทฤษฏีทางจิตวิทยาที่เชื่อมความคิดและการตัดสินใจของผู้บริโภคจึงถูกโยงเข้ามาเป็นองค์ประกอบหลักในการออกแบบแฟชั่น การนำทฤษฏีภาพต้นแบบ (Archetype) ที่ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการหลายแขนงว่าเหมาะ สำหรับใช้เป็นแนวคิดหลักในการสร้างตราสินค้าที่สามารถเข้าถึงจิตใจของผู้บริโภคอย่างแยบยลนั้น ผู้วิจัยได้นำมาใช้สร้างกรอบแนวคิดในการออกแบบแฟชั่นร่วมกับแนวโน้มแฟชั่น (Trend) โดยเทคนิคนี้จะช่วยให้นักออกแบบสามารถสรุปบุคลิกของตราสินค้า กลุ่มเป้าหมาย และการเลือกใช้แนวโน้มแฟชั่นที่สัมพันธ์กัน ในการออกแบบสินค้าแฟชั่น งานวิจัยฉบับนี้ผู้วิจัยสามารถสร้างกลุ่มภาพต้นแบบ ด้วยเทคนิค Socio-style mappingโดยสามารถแบ่งกลุ่มภาพต้นแบบจากทั้งหมด 15 บุคลิกออกเป็น 4 กลุ่มตามความสัมพันธ์กับแนวโน้มแฟชั่นสากล และนำเสนอกรอบแนวคิดสำหรับนักออกแบบให้เข้าใจง่าย ด้วยแผนภาพ โดยนักออกแบบรุ่นใหม่สามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ได้จริง ผลการวิจัย ผู้วิจัยสรุปคำตอบที่เป็นรูปแบบรสนิยมทางแฟชั่นของกลุ่มเป้าหมายชายและหญิงในประเทศไทย อีกทั้งผู้วิจัยได้ทดลองทำงานสร้างสรรค์ที่อ้างอิงจากรสนิยมของกลุ่มประชากรกลุ่มใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กับภาพต้นแบบตามที่ได้ผลวิจัยออกมา โดยนำเสนอในรูปแบบแฟชั่นคอลเลคชั่นต้นแบบตราสินค้า โดยวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยฉบับนี้ เพื่อเป็นแนวทางเลือกสำหรับการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นเป็นประโยชน์ในวงกว้างสำหรับนิสิตนักศึกษาสายการออกแบบแฟชั่น ผู้ประกอบการในธุรกิจแฟชั่น และบุคคลทั่วไปที่สนใจในธุรกิจนี้ จะส่งผลให้พัฒนาวงการแฟชั่นโดยมีเครื่องมือใหม่สำหรับใช้ในการออกแบบต่อไป อีกทั้งยังเป็นแนวทางที่สามารถนำไปวิจัยเพิ่มเติมกับกลุ่มแฟชั่นในระดับมหภาค หรือสินค้าประเภทอื่นที่มีความต้องการด้านการออกแบบสนับสนุน
Other Abstract: Fashion design is an area of study with high demand. Most of the knowledge is based on fine arts which focus on aesthetics. However, fashion is an applied art that is highly competitive in the market. Therefore, combining consumer’s psychology with aesthetics is a new area that can add value to the brand. Consumer’s behaviors are considered the main component of fashion design. Archetype Theory is widely accepted to be an appropriate theory for brand building. It is used as a framework in this study together with fashion trends. This technique helps designers grasp the character of the brand, target group and the related trend in designing fashion products. We created archetypes with the ‘socio-style mapping’ technique and divided the 15 archetypes into 4 groups according to relationship with international trends. We also propose a framework in graphic so that new generation designers can easily understand and apply the concepts to their work. The results show the pattern of fashion tastes in male and female groups in Thailand. We also present a fashion collection of brand archetypes as a result of this research. This research is an alternative way for brand building for fashion products in Thailand. It will be useful for fashion design students, fashion entrepreneurs and anyone interested in this business. It can also improve fashion and offers a tool for design in the future. It can also be used in macro fashion or in other types of products that need designs.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50197
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5486810035.pdf14.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.