Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50205
Title: บูรณาการแนวคิดการจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) กับกระบวนการออกแบบอาคาร
Other Titles: Integrating Building Information Modeling (BIM) Concepts with Building Design Processes
Authors: กนกวรรณ เรืองปิ่น
Advisors: วีระศักดิ์ ลิขิตเรืองศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Veerasak.L@chula.ac.th,veerasakl@gmail.com,veerasakl@gmail.com
Subjects: อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- การจัดการ
การจำลองสารสนเทศอาคาร
อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
การจำลองสารสนเทศ
Construction industry -- Management
Building information modeling
Construction industry -- Information resources management
Information modeling
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) เป็นแนวคิดสำคัญที่มีการนำมาใช้เพื่อช่วยในการบริหารโครงการก่อสร้างสมัยใหม่อย่างแพร่หลาย BIM เป็นการประมวลสารสนเทศผ่านทางแบบก่อสร้างเสมือนจริง ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยการดำเนินงานร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในโครงการ เรายังสามารถนำสารสนเทศจากแบบจำลอง BIM ไปใช้ในการดูแลบริหารจัดการสิ่งก่อสร้างต่อไป ในต่างประเทศได้มีการจัดทำแนวทางและคู่มือเพื่อช่วยในการนำ BIM มาใช้ในโครงการ สำหรับประเทศไทย BIM ยังเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างใหม่ จึงมีแต่เพียงแนวทางที่จัดทำขึ้นโดยสมาคมสถาปนิกสยามเท่านั้น ซึ่งเนื้อหาพัฒนาจากมุมมองของสถาปนิกที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบจำลองเท่านั้น จึงไม่ครอบคลุมถึงการนำ BIM มาใช้ในโครงการก่อสร้าง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการนำ BIM มาใช้ในกระบวนการออกแบบอย่างเหมาะสม โดยนำเสนอผ่านกรอบในการนำ BIM ไปใช้ (BIM implementation framework) ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ องค์ประกอบที่จำเป็นและขั้นตอนการพัฒนาแนวทางในการนำ BIM ไปใช้ งานวิจัยนี้อาศัยองค์ความรู้และข้อมูลที่ได้จากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้างซึ่งมีการนำ BIM มาใช้ จำนวน 25 ท่าน ใน 13 องค์กร ผลลัพธ์เบื้องต้นได้ถูกตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการวางแผนการใช้ BIM ในโครงการก่อสร้าง หลังจากปรับแก้ตามความเห็นผู้เชี่ยวชาญแล้วจึงนำไปประยุกต์ใช้ในกรณีศึกษาโครงการก่อสร้างเพื่อตรวจสอบว่าแนวทางที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง ผลลัพธ์หลักที่ได้จากงานวิจัยนี้ คือ 4 องค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการนำ BIM ไปใช้ในโครงการก่อสร้าง ซึ่งประกอบด้วย (1) ปัจจัยที่ช่วยในการตัดสินใจ (2) ระดับการนำ BIM มาใช้ (Level of Implementation, LOI) (3) ลักษณะเฉพาะของโครงการก่อสร้าง (4) เนื้อหาที่สำคัญต่อการนำ BIM มาใช้ในกระบวนการออกแบบอาคาร นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ยังนำเสนอขั้นตอนการพัฒนาแนวทางในการนำ BIM ไปใช้เพื่อให้องค์กรที่สนใจสามารถสร้างแนวทางที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการออกแบบแต่ละโครงการก่อสร้าง
Other Abstract: Building Information Modeling (BIM) is an important and widely used concept for modern construction management. BIM encompasses the compilation of information through virtual design of facilities, which are collaboratively developed by all parties in the project. In addition, BIM models can also provide necessary information for managing facilities. Many countries have developed guidelines and manuals for BIM implementation in construction projects. In Thailand, however, BIM is still a new concept. The sole guideline has been developed by the Association of Siamese Architects (ASA), which primarily focuses on BIM modeling, rather than BIM implementation in construction projects. This research develops a guideline for appropriately implementing BIM in building design processes. The proposed BIM implementation framework consists of two main parts: essential components and steps for developing a BIM implementation guideline. This research relies on bodies of knowledge and data obtained from relevant literature and in-depth interviews with 25 research participants from 13 entities, which represent all parties in construction projects implementing BIM. The preliminary framework is verified by a group of experienced BIM implementation planners. The modified framework is applied to a construction project case study to confirm its practicality. The main results of this research are four essential components for BIM implementation: (1) decision-making factors, (2) level of implementation (LOI), (3) project characteristics, and (4) contents of BIM implementation. Finally, the research provides steps for developing a BIM implementation guideline from different building design processes.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50205
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1331
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1331
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570102721.pdf7.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.