Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50212
Title: พฤติกรรมโครงสร้างหลังคาท่อเหล็กในการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในดินกรุงเทพ
Other Titles: Performance of steel pipe roof for subwaystation construction in Bangkok subsoils
Authors: ชุมพล เจริญขวัญ
Advisors: วันชัย เทพรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wanchai.Te@chula.ac.th,wanchai_secc@yahoo.com
Subjects: รถไฟใต้ดิน
การก่อสร้างใต้ดิน
Subways
Underground construction
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในเขตพื้นที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ที่มีโบราณสถานสำคัญมากมาย มีข้อกำหนดสำคัญที่เกี่ยวกับงานก่อสร้างโดยไม่อนุญาตให้มีการขุดเปิดหน้าดินบริเวณถนน การก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่อนุรักษ์ดังกล่าวจึงไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบนผิวถนนด้วยวิธีแบบขุดเปิดหน้าดินธรรมดาได้จึงต้องทำการขุดเปิดพื้นที่ทำงานด้านข้างบริเวณทางเท้าโดยใช้วิธีขุดเปิดหน้าดิน จากนั้นจึงใช้วิธีก่อสร้างแบบหลังคาท่อเหล็กดันจากพื้นที่ที่เปิดด้านข้างไปยังอีกด้านของถนน โดยมีกำแพงไดอะแฟรมวอลล์รองรับบริเวณสถานีจากด้านพื้นที่เปิดด้านข้างไปยังกำแพงอีกด้านของสถานี งานวิจัยนี้ทำการศึกษาขั้นตอนการก่อสร้างหลังคาท่อเหล็กและประเมินพฤติกรรมของกำแพงไดอะแฟรมวอลล์ด้วยการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์เพื่อเปรียบเทียบกับผลการตรวจวัดในสนาม โดยใช้ทฤษฎีจำลองการพังทลายของดินแบบ Mohr-Coulomb เพื่อประเมินหาค่าพารามิเตอร์ความแข็งแรงของดินที่เหมาะสมในรูปอัตราส่วนของยังโมดูลัสแบบไม่ระบายน้ำต่อค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำสำหรับชั้นดินเหนียว ส่วนชั้นดินทรายจะอยู่ในรูปของอัตราส่วนค่ายังโมดูลัสแบบระบายน้ำต่อค่าจำนวนครั้งของการทดสอบการตอกแบบมาตรฐาน ซึ่งค่าพารามิเตอร์โมดูลัสยืดหยุ่นของดินที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 300, 450 และ 1,000 สำหรับชั้นดินเหนียวอ่อน, ดินเหนียวแข็งปานกลางและดินเหนียวแข็งถึงแข็งมากตามลำดับ ค่าพารามิเตอร์นี้มีค่าต่ำกว่างานขุดดินลึกของกำแพงไดอะแฟรมวอลล์ในดินกรุงเทพ ทั้งนี้เนื่องจากการขุดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินด้วยวิธีหลังคาท่อเหล็กจะใช้เวลาในการขุดดินมากกว่าวิธีขุดดินปกติ สำหรับชั้นดินทรายค่าพารามิเตอร์โมดูลัสชนิดระบายน้ำที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 4000 เท่าของค่า SPT N-Value ที่มีหน่วยเป็น kN/m2 ผลการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินด้วยวิธีหลังคาท่อเหล็กเป็นที่น่าพอใจมาก เกิดการเคลื่อนตัวของดินรอบๆพื้นที่น้อย ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งปลูกสร้างข้างเคียงในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง
Other Abstract: Typical open cut technique for Bangkok Mass Rapid Transit (MRT) subway station construction is not allowed in the Inner Ratanakosin Island due to the fact that there are many historical places on the road. The construction of MRT subway station, therefore, was modified by constructed the working shaft on the footpath next to the subway station on the road. After completion of the workshaft, the pipe roof system is installed by pushing across the road and supported by diaphragm wall both side of the station. The excavation is, therefore, was carried out on side of the station from working shaft. The Finite Element Method (FEM) analysis is carried out to evaluate the pipe roof performance and the deflection of the diaphragm wall (MRT station wall) and compare with instrumented monitoring data. The soil modeling of Mohr-Coulomb theory was used for FEM analysis. The result of FEM analysis with reduced the soil stiffness form normal case of diaphragm wall excavation in Bangkok subsoils agree with measurement. The soil stiffness in terms of Young Modulus for MRT subway diaphragm excavation by pipe roof system is in the order of Eu/Su = 300, 450 and 1000 for soft clay, medium stiff clay and stiff clay, respectively. These young modulus values are lower than case of normal deep excavation of diaphragm wall in Bangkok Subsoils. This is because the construction time of MRT station by pipe roof system is much more than normal typical diaphragm wall deep excavation. For sand, the appropriate drain Modulus for sand layer is in the order of E'/N = 4000 (kN/m2) where N = SPT N-value. The result of MRT subway station by Pipe roof system is well protected the nearby historical buildings by induce only very low soil and diaphragm wall movement.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50212
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1292
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1292
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570167521.pdf12.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.