Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50305
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปารเมศ ชุติมาen_US
dc.contributor.authorกฤษณ์ ประเสริฐen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:04:37Z-
dc.date.available2016-12-01T08:04:37Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50305-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractสายการประกอบแบบหลายคนใช้กันมากในสายการประกอบผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ เช่น รถบรรทุก ซึ่งในสายการประกอบนี้จะมีการทำงานทั้งสี่ด้านของชิ้นงาน ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบแบบหลายคน เป็นปัญหา NP-Hard ซึ่งยากต่อการค้นหาคำตอบที่เหมาะสมเมื่อขนาดปัญหาใหญ่ขึ้น การหาค่าที่เหมาะสมที่สุดแบบวิธีการบรรจวบแบบขยาย (Combinatorial Optimization with Coincidence Expand: COIN-E) เป็นฮิวริสติกที่ได้รับแนวคิดมาจากการหาค่าที่เหมาะสมแบบวิธีการบรรจวบเดิม โดยใช้ตารางความน่าจะเป็นร่วมเพียงตารางเดียวในการคัดเลือกคำตอบ แต่วิธีการบรรจวบแบบขยายจะเพิ่มตารางความน่าจะเป็นร่วมขึ้นอีก 2 ตาราง ซึ่งได้จากการหาผลเฉลยของวัตถุประสงค์แต่ละวัตถุประสงค์มาสร้างตารางความน่าจะเป็นร่วม โดยทำการนำผลเฉลยของวัตถุประสงค์ที่ดีและไม่ดีแต่ละวัตถุประสงค์มาปรับปรุงตารางความน่าจะเป็นร่วมในการคัดเลือกคำตอบที่ดีและได้เพิ่มการค้นหาเฉพาะที่เพื่อให้ได้คำตอบที่ดีและมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดสมดุลจำนวนทั้งสิ้น 4 วัตถุประสงค์ที่จะถูกทำให้เหมาะสมที่สุดไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่ จำนวนพนักงานน้อยที่สุด จำนวนสถานีงานน้อยที่สุด ความสมดุลของภาระงานระหว่างสถานีงานสูงที่สุด และความสัมพันธ์ของงานสูงที่สุด พร้อมกันนี้ได้ทำการเปรียบเทียบสมรรถนะของ COIN-E กับอัลกอริทึมอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมจำนวน 3 อัลกอริทึม ได้แก่ การหาค่าที่เหมาะสมที่สุดแบบการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตตามภูมิศาสตร์ (BBO) อัลกอริทึมเชิงพันธุกรรมแบบการจัดลำดับที่ไม่ถูกครอบงำ II (NSGA-II) และวิธีการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดแบบฝูงอนุภาคไม่ต่อเนื่อง (DPSO) ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า COIN-E มีสรรถนะในการแก้ปัญหาการจัดสมดุลประเภทนี้สูงกว่าอัลกอริทึมอื่นๆ ทั้งในด้านการลู่เข้าสู่กลุ่มคำตอบที่เหมาะสมที่สุดแบบพาเรโต การกระจายตัวของคำตอบ อัตราส่วนของคำตอบที่ไม่ถูกครอบงำ และจำนวนคำตอบที่ไม่ถูกครอบงำ แต่เวลาที่ใช้ในการคำนวณคำตอบ พบว่า BBO ใช้เวลาในการค้นหาคำตอบเร็วกว่า NSGA-II COIN-E และ DPSO ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeMulti-manned assembly lines are typically founf in the production of large-sized products. Multi-manned assembly lines use four sides of workstation. Multi-manned assembly line Balancing Problems is classified in NP-Hard class; therefore it is difficult to obtain an optimal solution when the problem size increases. Combinatorial Optimization with Coincidence Expand (COIN-E) is heuristic inspired by Combinatorial optimization. Combinatorial optimization heuristic use only single matrix join probability but Combinatorial Optimization with Coincidence Expand will consists of two matrix join probability. Solution of matrix join probability established by select good and not good answer to update the matrix join probability in next generation. And using Local Search to improve answer. Four objectives are optimized simultaneously in balancing; i.e. minimize number of worker, minimize number of stations, maximize balance of workload between workstations, and maximize work relatedness. The performance of COIN-E is compared with other three well-known algorithms, namely Biogeography-based Optimization (BBO), Non-dominated Sorting Genetic Algorithm II (NSGA-II), and Discrete Particle Swarm Optimization (DPSO) The results from experiments clearly show that COIN-E has better performances than all other algorithms in terms of convergence to the Pareto optimal set, spread of solutions, ratio of non-dominated solutions and number of non-dominated solution but in term of computation time to solution, BBO has better performmance than NSGA-II COIN-E and DPSO respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.569-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสายการผลิต-
dc.subjectการจัดสมดุลสายการผลิต-
dc.subjectAssembly-line methods-
dc.subjectAssembly-line balancing-
dc.titleการจัดสมดุลแบบหลายวัตถุประสงค์บนสายการประกอบแบบหลายคนผลิตภัณฑ์ผสมen_US
dc.title.alternativeMULTI-OBJECTIVE BALANCING PROBLEM ON MIXED-MODEL MULTI-MANNED ASSEMBLY LINESen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorParames.C@Chula.ac.th,cparames@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.569-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670116621.pdf8.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.