Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50342
Title: | การควบคุมการเจริญและการผลิตสารพิษของราในข้าวโพดหมักด้วยแล็กติกแอซิดแบคทีเรีย |
Other Titles: | CONTROL OF MOLD GROWTH AND MYCOTOXIN PRODUCTION IN CORN SILAGE USING LACTIC ACID BACTERIA |
Authors: | ชาลิสา แสงบัว |
Advisors: | สุพัฒน์ เจริญพรวัฒนา ชีวานันท์ เดชอุปการ ศิริสมบูรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Supat.C@Chula.ac.th,Supat.C@Chula.ac.th Cheewanun.D@chula.ac.th |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การทดสอบความสามารถของแล็กติกแอซิดแบคทีเรียในการยับยั้งการเจริญและการผลิตสารพิษจากราบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ พบว่าแล็กติกแอซิดแบคทีเรีย Lactobacillus paracasei AN3 มีความสามารถสูงสุดในการยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินบี 1 ของ Aspergillus flavus และโอคราทอกซินเอ ของ A. carbonarius เมื่อเทียบกับ L. casei AN2 และ L. casei AN2 ร่วมกับ L. paracasei AN3 โดยพบว่าเมื่อเลี้ยงราร่วมกับ L. paracasei AN3 รามีการเจริญได้เพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับชุดควบคุม และสามารถสร้างอะฟลาทอกซินบี 1 และโอคราทอกซินเอได้ลดลง 100% และ 97.56% ตามลำดับ จึงเลือกใช้ L. paracasei AN3 ในการทดลองเพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด-เบสต่อความสามารถของ L. paracasei AN3 โดยปรับค่าความเป็นกรด-เบสของอาหารเลี้ยงเชื้อให้เท่ากับ 3, 4 และ 5 และแต่ละค่าความเป็นกรด-เบส บ่มที่อุณหภูมิ 25, 30 และ 35 องศาเซลเซียสตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าที่ค่าความเป็น กรด-เบส เท่ากับ 3 และ 4 ในทุกอุณหภูมิที่แปรผัน ทั้ง A. flavus และ A. carbonarius ไม่สามารถเจริญได้รวมถึงในชุดควบคุม ขณะที่ค่าความเป็นกรด-เบส เท่ากับ 5 ที่อุณหภูมิ 25, 30 และ 35 องศาเซลเซียส ราทั้งสองสายพันธุ์ที่ใช้ทดสอบสามารถเจริญได้ดีในชุดควบคุม อย่างไรก็ตามเมื่อเลี้ยงร่วมกับแล็กติกแอซิดแบคทีเรีย ไม่พบการเจริญของ A. flavus ในขณะที่ A. carbonarius สามารถเจริญได้เพียงเล็กน้อยและสร้างโอคราทอกซินเอได้ลดลง 88.44% เมื่อเทียบกับชุดควบคุม เมื่อทดสอบความสามารถของ L. paracasei AN3 ในการยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินบี 1 ในข้าวโพดที่ผ่านการฆ่าเชื้อ พบว่าเมื่อครบ 21 วันของการหมักสามารถยับยั้งการเจริญของ A. flavus ได้ 100% และสามารถลดปริมาณอะฟลาทอกซินบี 1 ได้ 66.95% และเมื่อทดสอบความสามารถของ L. paracasei AN3 ร่วมกับจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในข้าวโพด พบว่าเมื่อครบ 21 วันของการหมักสามารถยับยั้งการเจริญของราได้ 100% และลดปริมาณอะฟลาทอกซินบี 1 ได้ 72.52% เช่นเดียวกับเมื่อทดสอบความสามารถของ L. paracasei AN3 ในการยับยั้งการเจริญและการผลิตโอคราทอกซินเอ ในข้าวโพดที่ผ่านการฆ่าเชื้อ พบว่าเมื่อครบ 21 วันของการหมักสามารถยับยั้งการเจริญของ A. carbonarius ได้ 3.06% และสามารถลดปริมาณโอคราทอกซินเอได้ 17.20% และเมื่อทดสอบความสามารถของ L. paracasei AN3 ร่วมกับจุลินทรีย์ชนิดอื่นในข้าวโพดหมัก พบว่าเมื่อครบ 21 วันของการหมักสามารถยับยั้งการเจริญของราได้ 52.44% และลดปริมาณโอคราทอกซินเอ ได้ 72.52% นอกจากนี้ข้าวโพดหมักในชุดทดสอบที่เติมหัวเชื้อแล็กติกแอซิดแบคทีเรียยังมีโภชนะใกล้เคียงกับข้าวโพดสด จากผลการทดลองจึงสามารถสรุปได้ว่า L. paracasei AN3 เป็นแล็กติกแอซิดแบคทีเรียที่มีศักยภาพที่จะนำมาใช้เป็นตัวควบคุมชีวภาพเพื่อยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินบี 1 ของ A. flavus และโอคราทอกซินเอ ของ A. carbonarius สามารถนำไปพัฒนาเป็นหัวเชื้อตั้งต้นในการผลิตพืชหมักให้มีคุณภาพต่อไป |
Other Abstract: | In this study, Lactobacillus casei AN2 and L. paracasei AN3 were tested for their ability to inhibit fungal growth, and aflatoxin B1 production of Aspergillus flavus and ochratoxin A production of A. carbonarius. The results showed that L. paracasei AN3 showed the greatest inhibitory activity by decreasing the growth rate compared to L. casei AN2 and mixed culture, consisting of L. casei AN2, and L. paracasei AN3 and the reduction of mycotoxin production by 100% and 97.56% for aflatoxin B1 and ochratoxin A, respectively. L. paracasei AN3 was selected for further determination of the biocontrol activity under different temperatures (25, 30 and 35 oC) and pHs (3, 4 and 5). Both fungi could not grow at pH 3 and 4 at all temperatures tested even in the absence of lactic acid bacteria. However, at pH 5 and 25 oC, both fungi could grow well in the control but when cultured with lactic acid bacteria, no A. flavus growth was observed whereas A. carbonarius growth was retarded and ochratoxin A production was decreased compared to the control by 88.44%. When testing the ability of L. paracasei AN3 to inhibit the growth of A. flavus and aflatoxin B1 production in steriled corn silage, L. paracsei AN3 inoculant could suppress the growth and aflatoxin B1 production by 100% and 66.95%, respectively after 21 days of ensiling compared with control silage. In addition, the abilty of L. paracasei AN3 with presence of indigenous microorganisms could inhibit the growth and aflatoxin B1 production with 52.44% and 72.52%, respectively. Furthermore, the inhibition of growth and ochratoxin A production of A. carbonarius in steriled corn silage was also studied. L. paracasei AN3 could reduce the growth and ochratoxin A production by 3.06% and 17.20%, respectively after 21 days of ensiling compared to the control. In non-sterile conditions, L. paracasei AN3 could inhibit the growth of A. carbonarius and ochratoxin A production by 52.44% and 72.52%, respectively. Moreover, the silages inoculated with L. paracasei AN3 had overall nutrient compositions comparable to those of fresh feed corn. These results revealed that the inhibition of both fungal growth and mycotoxin production by lactic acid bacteria used in this study were effective and showed their potential as biocontrol agent in silage. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีจุลินทรีย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50342 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5671944023.pdf | 3.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.