Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50369
Title: ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้า
Other Titles: SELECTED FACTORS RELATED TO INSOMNIA AMONG ELDERLY PATIENTS WITH MAJOR DEPRESSIVE DISORDER
Authors: จุฑารัตน์ จิราพงษ์
Advisors: รังสิมันต์ สุนทรไชยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: การนอนไม่หลับ
ความซึมเศร้าในวัยสูงอายุ
Insomnia
Depression in old age
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้าและความสัมพันธ์ระหว่างเพศ สิ่งเร้าด้านร่างกาย สิ่งเร้าด้านการรู้คิด ความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ จำนวนของโรคทางกายและเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตกับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลทั่วไป คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 138 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดระดับความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า 3) แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ 4) แบบประเมินประสบการณ์ความเครียดในผู้สูงอายุ 5) แบบประเมินความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ 6) แบบประเมินสิ่งเร้าก่อนเข้านอนเครื่องมือทุกชุดมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง .86-1 ค่าความเที่ยงระหว่าง .70-.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้าพบร้อยละ 81.2 และอยู่ในระดับรุนแรงร้อยละ 40.6 (x = 17.54, ± S.D = 8.49) 2. สิ่งเร้าทางการรู้คิด ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับอาการนอนไม่หลับ (r=.636, .607) สิ่งเร้าด้านร่างกายความรุนแรงของภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับอาการนอนไม่หลับ (r=.558, .572) จำนวนของโรคทางกายมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับอาการนอนไม่หลับ (r=.243) ส่วน เพศและเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตไม่มีความสัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับ
Other Abstract: The purposes of this descriptive research was to 1) examine insomnia among elderly patients with Major Depressive Disorder (MDD) and 2) the relationships between gender, physiological arousal, cognitive arousal, depression, dysfunctional beliefs and attitudes about sleep, number of physical disorders and stressful life events. A sample was 138 patients with Major Depressive Disorder, aged ≥60 years, who were randomly selected from the outpatient department at general Hospital. The research instruments were : 1) Personal Questionnaire, 2) Hamilton Rating Scale for Depression (HRS-D), 3) Insomnia Severity Index (ISI), 4) The Geriatric Social Readjustment Rating Scale (GSRRS), 5) Dysfunction belief and attitude scale (DBAS-16) and 6) Pre-Sleep Arousal Scale (PSAS).All instruments were verified for Content Validity Index .86-1 and reliability were.70-.89.Data were analyzed by using descriptive statistics,Chi square , Spearman’s Rank and Pearson’s Correlation Coefficient. Results : 1) Insomnia among elderly patients with MDD were 81.2% and found 40.6 % at the severity ievel (x = 17.54, ± S.D = 8.49). 2) Cognitive arousal and dysfunctional beliefs and attitudes about sleep were significant high positive correlation with insomnia among elderly patients with MDD (r=.636,.607), physiological arousal and depression were significant moderate positive correlation (r=.558, .572), a number of physical disorders were significant low positive correlation with insomnia among elderly patients with MDD (r=.243) but gender and stressful life events were not significant.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50369
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677166236.pdf5.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.