Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50372
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีพร ธนศิลป์en_US
dc.contributor.advisorนพมาศ พัดทองen_US
dc.contributor.authorนงนุช จิตรารัชต์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:05:56Z
dc.date.available2016-12-01T08:05:56Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50372
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับเคมีบำบัด ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งปอด ที่เข้ารับการรักษาหน่วยเคมีบำบัด ในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า และโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จำนวน 44 คน มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 22 คน และกลุ่มทดลอง 22 คน โดยจับคู่กลุ่มตัวอย่างให้มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ และความสามารถในการทำกิจกรรม โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิและการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินอาการหายใจลำบาก ซึ่งได้ค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.83 และค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. อาการหายใจลำบากของผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับเคมีบำบัดในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ น้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Xก่อนทดลอง = 16.23, Xหลังทดลอง = 9.91; t = 6.68; p< .05) 2. อาการหายใจลำบากของผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับเคมีบำบัดในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ น้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Xกลุ่มทดลอง = 9.91, Xกลุ่มควบคุม = 13.41; t = 2.41; p< .05) ดังนั้น สรุปได้ว่า โปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิสามารถลดอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับเคมีบำบัดได้en_US
dc.description.abstractalternativeThis quasi- experimental research aimed to compare dyspnea of lung cancer patients undergoing chemotherapy before and after using the Symptom Management combined with Meditation Practice program. The participants were 44 patients lung cancer at the chemotherapy unit of Queen Sirikit Hospital and Somdech Phra Pinklao Hospital, using a purposive sampling technique. They were divided into 2 groups: 22 each in the control group and experimental group. They were matched into pair according to gender, age, and performance status. Research instruments consisted of demographic information and The Cancer Dyspnea Scale (CDS). The CDS tested for Content Validity Index (CVI) of 0.83 and Cronbach’s alpha coefficient reliability of 0.74. Data were analyzed by using descriptive statistics and dependent t-test. The major findings were as follows: 1. Dyspnea at the post test phase of lung cancer patients in the experimental group was significantly lower than that of the pretest phase. (Xpre = 16.23, Xpost= 9.91; t = 6.88; p< .05) 2. Dyspnea of the experimental group was significantly lower than that of the control group (Xexperimental = 9.91, Xcontrol = 13.41; t = 2.41; p< .05) The result suggests that the Symptom Management combined with Meditation Practice can reduce dyspnea in persons with lung cancer.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.750-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปอด -- มะเร็ง -- ผู้ป่วย
dc.subjectการหายใจลำบาก
dc.subjectสมาธิ
dc.subjectLungs -- Cancer -- Patients
dc.subjectDyspnea
dc.subjectSamadhi
dc.titleผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิต่ออาการหายใจลำบากในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativeThe effect of symptom management combined with meditation practice on dyspnea in advanced lung cancer patients undergoing chemotherapyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSureeporn.T@Chula.ac.th,s_thanasilp@hotmail.com,s_thanasilp@hotmail.comen_US
dc.email.advisorNoppamat.P@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.750-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677182236.pdf6.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.